"สุวัจน์" เร่งแก้ปัญหาลำตะคองตอนล่างวิกฤตแล้ง ผันงบ 150 ล้าน ทำท่อส่งน้ำดิบจากสีคิ้วส่งตรงเมืองโคราช ให้ 8 ตำบล มีน้ำดิบผลิตประปาพอเพียง เมื่อเวลา11.00 น. วันที่ 24 กุมภาพันธ์ ที่บริเวณริมทางหลวง 204 ถนนเลี่ยงเมืองนครราชสีมา ต.ปรุใหญ่ อ.เมือง จ.นครราชสีมา นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ อดีตรองนายกรัฐมนตรี พร้อมนายวัชรพล โตมรศักดิ์ ส.ส เขต 2 จ.นครราชสีมา พรรคชาติพัฒนา (ชพน.) เดินทางมาตรวจการไหลของลำตะคอง เส้นทางคลองน้ำธรรมชาติก่อนไหลผ่านประตูระบายน้ำ(ปตร.) คนชุม โดยมีนายชุยธพงศ์ อำรุงสุข ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำตะคองสำนักงานชลประทานที่ 8 นครราชสีมา (ชป.8 นม.) พร้อมนายกิติกุล เสภาศีราภรณ์ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานนครราชสีมา นายสุรวุฒิ เชิดชัย นายกเทศบาลนคร (ทน.)นครราชสีมา นายศักดิ์ชัย ชาติพุดซากำนันตำบลหนองกระทุ่มและนายกสมาคมกำนัน ผู้ใหญ่บ้านจังหวัดนครราชสีมา ผู้แทนกลุ่มผู้ใช้น้ำสหกรณ์โพธิ์เตี้ย พื้นที่ 8 ตำบล ประกอบด้วย ต.ปรุใหญ่ ต.หนองกระทุ่ม ต.หนองจะบก ต.หมื่นไวย ต.จอหอ ต.โคกสูง ต.พุดซา และ ต.ตลาด อ.เมือง ลงพื้นที่ตรวจสอบน้ำลำน้ำลำตะคอง หลังได้รับการร้องเรียนจากพี่น้องประชาชนชาวบ้าน 8 ตำบลกำลังได้รับความเดือดร้อนเนื่องจากน้ำดิบผลิตประปาไม่เพียงพอ รวมทั้งแหล่งน้ำผลิตประปาไม่เพียงพอ รวมทั้งแหล่งน้ำสำรองก็แห้งขอดหลายจุด นายสุวัจน์ กล่าวว่า สถานการณ์ภัยแล้งรัฐบาลให้เป็นวาระแห่งชาติในการช่วยกันดูแลแก้ไขปัญหาของทุกภาคในการมีส่วนร่วมด้วยช่วยกัน จ.นครราชสีมา ตนได้รับการร้องขอจาก ประชาชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อ.เมืองฯ เรื่องผลกระทบจากปัญหาภัยแล้ง จากการรายงานของทางชลประทานจังหวัดฯ และ ผอ.เขื่อนลำตะคอง น้ำดิบที่มาตามธรรมชาติจากอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ไหลลงเขื่อนลำตะคอง และปล่อยลงสู่ลำน้ำลำตะคองมาถึงอำเภอเมืองฯ และเขตเทศบาลนครนครราชสีมา มีปริมาณน้ำไม่เพียงพอที่จะนำไปผลิตน้ำประปาสำหรับในแต่ละตำบลที่ใช้ ซึ่งน้ำในลำน้ำลำตะคองก็ยังพอมีอยู่บ้าง แต่มีปัญหาในเรื่องของการที่จะต้องใช้น้ำร่วมกันระหว่างน้ำด้านการเกษตรและน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และยังมีปัญหาการกีดขวางทางน้ำทำให้ 8 ตำบลของ อ.เมืองฯ ที่ไม่สามารถมีน้ำดิบจากลำน้ำลำตะคองที่จะไปผลิตน้ำประปา ฉะนั้นต้องขอความร่วมมือจากทางเทศบาลนครนครราชสีมาในการช่วยเอาน้ำประปาในเขตเทศบาลนครนครราชสีมา ส่งไปขายให้กับประชาชนที่อยู่ตามตะเข็บรอยต่อเขตเทศบาลนครฯ ซึ่งทางนายกเทศมนตรีก็ยินดีให้ความร่วมมือและก็สามารถช่วยเหลือได้ในระดับหนึ่งเท่านั้นทั้งนี้เรื่องนี้ทางชลประทาน จ.นครราชสีมา และผอ.เขื่อนลำตะคอง ได้มีข้อเสนอแนะในการที่จะแยกน้ำให้ชัดเจนระหว่างน้ำเพื่อการเกษตรจากเขื่อนลำตะคองเองกับน้ำเพื่อการผลิตประปาเพื่อการอุปโภค บริโภค จึงมีแนวคิดที่จะสร้างท่อแยกน้ำ ระหว่างน้ำระหว่างน้ำการเกษตรกับน้ำอุปโภค บริโภค ถ้ามีโครงการที่สามารถเดินท่อแยกส่งน้ำดิบบริเวณ อ.สีคิ้ว ใช้ระยะทางประมาณ 15 กม.สามารถที่จะส่งบายพาสน้ำจากเขื่อนลำตะคองผ่านทางระบบท่อก็จะสามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ ซึ่งโครงการนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของกรมชลประทาน โดยจะใช้งบประมาณ 150 ล้านบาท ถ้าได้รับงบประมาณมาก็จะเป็นการแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วนให้กับเขต อ.เมืองฯ และ 8 ตำบล มีน้ำไปผลิตน้ำประปาใช้นายสุวัจน์ฯ กล่าวว่า โดยภาพรวมได้รับทราบเป็นปัญหาภาพใหญ่ของประเทศ และภาพใหญ่ของ จ.นคราชสีมาว่าปีนี้จะเป็นปีที่ปัญหาความแห้งแล้งสูงที่สุดในรอบ 40 ปีที่ผ่านมา โดยมีการประเมินปริมาณของน้ำในแหล่งน้ำต่างๆใน จ.นครราชสีมา ว่าอาจจะมีเพียงประมาณ 27% ของปริมาณกักเก็บน้ำ อันนี้เป็นสัญญาณที่เราจะต้องรีบหามาตรการในการป้องกันการแก้ไขไม่ให้เกิดผลกระทบที่จะต้องทำแต่เนิ่นๆว่า ถ้าน้ำมี 27% เราจะทำอย่างไรสำหรับน้ำอุปโภค บริโภค น้ำเพื่อการเกษตร น้ำเพื่อการอุตสาหกรรมหรือน้ำเพื่อรักษาระบบนิเวศน์ต่างๆ เพื่อที่จะไม่ให้เวลาที่เกิดพีคขึ้นมา และเกิดปัญหาโดยที่เราแก้ไขไม่ทัน ซึ่งจากนี้ไปก็คงมีการบูรณาการกันในการวางมาตรการเสียแต่เนิ่นๆ เพื่อป้องกันปัญหาในระยะยาวที่จะเกิดขึ้น