“สุวัจน์” แสดงวิสัยทัศน์ BIG CEO ผู้นำจากทุกอาชีพ ให้รอบรู้อย่างยั่งยืน “Know WHO กับ KNOW HOW “ & CONNECTION พื้นฐานของความสำเร็จ เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2563 เวลา 14.00 น. นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ อดีตรองนายกรัฐมนตรี แสดงวิสัยทัศน์ หลักสูตรสมองและนวัตกรรมเพื่อผู้บริหารระดับสูงนานาชาติ BIG CEO 6 จากทุกสาขาอาชีพกว่า 200 คน ในหลักสูตร BIG CEO รุ่นที่ 8 ที่ ห้องบอลรูม โรงแรม คอราด กรุงเทพ สะท้อนมุมมองได้สนใจนายสุวัจน์ กล่าวว่าในการทำธุรกิจ สำหรับเมืองไทย สิ่งสำคัญ 2 เรื่อง Know-who กับ Know-how นอกเหนือจาก Know How ก็คือ พื้นฐานความรู้ที่เรามีกันแล้ว Know-Who ก็สำคัญสำหรับเมืองไทย เพราะเมืองไทยมีวัฒนธรรมการติดต่อ การสื่อสาร หรือการทำธุรกิจ ถ้าหากเรามีเพื่อนเราสามารถ Connect ได้ หรือรู้จักคนนั้นคนนี้ คนไทยเป็นคนที่มีจิตใจโอบอ้อมอารี “เมืองไทย ผมยังคิดว่า Know-Who ยังสำคัญกว่า Know-How ด้วยซ้ำไป บางคนเป็นนักเรียนนอก มี Know-How เยอะๆ อาจจะประสบความสำเร็จ แต่มหาเศรษฐีในเมืองไทยหลายๆท่านก็ไม่ได้เรียนสูงๆ แต่ในวงการถือว่าคนที่ประสบความสำเร็จจะเป็นคนที่มี Connection พื้นฐาน คือ มีพื้นฐานเป็นคนเก่งอยู่แล้วบวกกับ Connection ก็ทำให้ประสบความสำเร็จเป็นที่นิยม มีหลักสูตรต่างๆ ผมคิดว่าเป็นเรื่องที่ดี ซึ่งผมก็ทำอยู่ คือ หลักสูตร วธอ. ก็มีวัตถุประสงค์เดียวกันคือ ให้ความรู้กับนักธุรกิจ และสร้างทีมเวิร์ก เพราะตอนนี้กำลังทางเศรษฐกิจมาจากภาคธุรกิจ เป็นสิ่งที่สำคัญ สมมุติว่าเราแบ่งเหมือนว่ารัฐบาลเป็นคนกำหนดนโยบาย และนักธุรกิจรู้ และนำมาต่อยอด ถ้ามีแต่คนกำหนดนโยบาย แต่ไม่มีคนมาต่อยอดก็ทำให้เสียเปล่า ดังนั้น ต้องรู้กันระหว่างรัฐบาลและเอกชน เพียงแต่รัฐบาลเป็นตัวนำ แต่จะคุ้มค่าก็ต่อเมื่อมีภาคธุรกิจตาม ทั้งหมดประเทศไทย การสร้างทีมเวิร์กนี้สำคัญที่สุด ซึ่งหลักสูตรต่างๆ ที่จัดคิดว่าเป็นเรื่องที่ดี มีทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อให้เราได้รับความรู้ใหม่ๆ เพราะตอนนี้โลกได้หมุนเวียนเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ใครที่ไม่ได้ติดตามข้อมูลข่าวสาร คือแพ้ เราต้องมีความอ่อนไหว ความคล่องตัว ในการที่จะรับข้อมูลข่าวสารให้เร็วที่สุด ว่าใครเป็นใคร การที่ใครได้รับข้อมูลข่าวสารเร็วที่สุด ก็คือผู้ชนะ” นายสุวัจน์ กล่าวและย้ำว่าวันนี้ มีสถานการณ์อยู่สองเรื่องที่สำคัญ ก็น่าจะเป็นเรื่องเหตุการณ์ทางด้านเศรษฐกิจ และเรื่องเหตุการณ์ทางการเมืองนิดหนึ่ง ก่อนเกิดโควิด ถามว่าพวกเรามีอะไรที่กังวลใจอะไรกัน ก่อนหน้านั้น เวลาเราคุยอะไรกันก็จะพูดเรื่องสงครามทางการค้าจะเป็นยังไง สหรัฐรบกับจีนจะเป็นยังไง เศรษฐกิจโลกถดถอยจะเป็นยังไง แล้วโลกปัจจุบันมันอยู่ในโลกยุคอะไร ถ้าไม่เกิดโควิด โลกปัจจุบันเราจะอยู่ในยุคที่ 4 คือ 1.การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 1 เกิดขึ้นเมื่อ 100 ปี วันที่เราเจอไอน้ำ โลกมันเปลี่ยนตั้งแต่เกิดไอน้ำ พลังในการไปผลักดันเครื่องจักร ไปทำให้เกิดรถไฟ ไปทำให้เกิดอุตสาหกรรมต่อเรือทำให้ไลฟ์สไตล์ของโลกเกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อเกิดไอน้ำ ยุคที่2 คือ ไฟฟ้าเกิดแสงสว่างก็เกิดธุรกิจ เกิดเมือง ยุคที่ 3 เป็นยุคคอมพิวเตอร์ ทำให้เกิด Efficiency Agency เกิดประสิทธิภาพ เกิด Productivity เกิดความดี อะไรที่เหมือนมีประสิทธิภาพมาเปลี่ยนไลฟ์สไตล์เลย และยุคที่เราอยู่ตอนนี้คือ ยุคที่ 4 การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ยุคเทคโนโลยี ที่เรียกกันว่า Distractive Technology มีเทคโนโลยีใหม่ๆเกิดขึ้น แล้วเทคโนโลยีนี้มาเปลี่ยนรูปแบบในการทำธุรกิจ เช่น หุ่นยนต์ Robotics ที่อยู่ตามโรงงานแล้วคนงานจะอยู่ที่ไหน มาพูดถึง Ai / Artificial Intelligence ระบบที่จะมาสร้างความสะดวกสบาย สมาร์ทรถยนต์ สมาร์ทบ้าน พอพูดถึงสกุลเงิน ก็ไม่ต้องมีแบงค์แล้ว เป็นเงินที่อยู่ในจินตนาการ Cryptocurrency ที่ยกตัวอย่าง หรือพูดถึงพลังงานเมื่อก่อนพลังงานมาจากฟอสซิว มาจากแก๊สแล้วมาสร้างไฟฟ้า เอาน้ำมันมาปั่นไฟฟ้า แต่ตอนหลังไม่ใช่แล้ว พลังงานมาจากพวกธรรมชาติ มาจากลม แสงแดด ดังนั้นโลกกำลังเปลี่ยนยุคเป็นการปฎิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 เราจะปรับตัวอย่างไร ถ้าเทคโนโลยีมันมาอย่างนี้ หรือรถยนต์ไฟฟ้าไม่มีคนขับ ชาร์ตแบตเตอรี่ ใช้ไฟฟ้าชาร์ต แล้วตอนนี้ไม่วิ่งด้วยน้ำมัน เป็นยังไง เมื่อก่อนนี้น้ำมันเป็นปัจจัยสำคัญ พอเกิดเทคโนโลยีใหม่เกิดขึ้น น้ำมันไม่มีความหมายเลยบาร์เรล 140 ตอนนี้นิ่งอยู่ 30 – 40 นิ่งมา 7-8 ปีแล้ว เพราะตอนนี้เราไม่ต้องใช้น้ำมัน รถวิ่งก็ใช้ EV ผลิตไฟฟ้าเดียวนี้ก็ไม่ใช่ผลิตจากแก๊สจากน้ำมันแล้ว แต่ผลิตจากพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลมแทน นี้คือ ความเปลี่ยนแปลงคนที่อยู่ในอุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ก็กลัวว่าจะทำยังไง หรือผู้ที่ผลิตชิ้นส่วนที่ใช้น้ำมันถ้ารถยนต์เป็นไฟฟ้าแล้ว สมมุติ รถยนต์น้ำมันใช้ชิ้นส่วน 100 ชิ้น แต่พอใช้พลังงานไฟฟ้า ใช้แค่ 15 ชิ้น แต่อีก 85 ชิ้นไม่ได้ใช้แล้ว ฉะนั้น ผู้ผลิตชิ้นส่วนเพื่อป้อนให้อุตสาหกรรมรถยนต์ก็ต้องปรับตัว ต่อไปเราจะตกงาน เพราะชิ้นส่วนรถยนต์หายไป 85% หรืออุตสาหกรรมที่เคยใช้แรงงานเยอะๆ ตอนนี้ก็ใช้หุ่นยนต์ ทุกคนก็กังวงการตกงานก็จะมากขึ้น ฉะนั้น มันเป็นจังหวะที่เราต้องคิดและต้องกังวลว่าเรากำลังทำอะไรอยู่ และจะประเมินตัวเองกับสถานการณ์ยังไง จะเดินหน้าด้วยการทำธุรกิจอย่างเดิมหรือปรับปรุงหรือไม่ปรับปรุงกิจการ หรือว่าต้องปรับ Organization ใหม่ จัดแผนธุรกิจใหม่ให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีที่มันเปลี่ยน แล้วยิ่งมีเรื่องสงครามการค้าที่เกิดขึ้น จีนกับสหรัฐก็ซัดกันหนัก ก็เริ่มทำให้เศรษฐกิจโลกเริ่มไม่ดี เริ่มถดถอย ก็เริ่มกังวลกัน เสร็จทั้งหมดนี้หายไปหมดเลย เพราะโควิด มาสร้างความกังวลหนักๆที่คิดนั้นคิดนี้ วันนี้ไม่มีใครพูดถึง ทุกคนมาพูดถึงเรื่องโควิด เพราะไม่มีใครคิดว่าโควิดจะมาหยุดโลก ไม่มีใครคิดว่าโควิดจะมาสร้างธรรมเนียมใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นในโลก ลดความเลื่อมล้ำจริงๆ ทุกคนเสมอภาคกันหมด ถ้าพูดในทางที่ดี โควิดมารีเซ็ตระบบ (Reset) ไม่ว่าทางด้านธุรกิจ ไลฟ์สไตล์ รีเซ็ตออแกนไนเซชั่น เพราะโควิด เพราะฉะนั้น ก็อยู่ในโหมดของโควิดไม่ต้องไปพูดถึงการปฏิวัติอุตสาหกรรมยุคที่ 4 มาพูดถึงเรื่องโควิด ว่าเกิดขึ้นแล้ว จะทำให้พวกเราเป็นอะไร หมดโควิดแล้วจะเกิดอะไรขึ้นกับโลกและประเทศไทยนายสุวัจน์ บอกว่าทุกอย่างต้องปรับตัว จะมีอาชีพใหม่ๆเกิดขึ้น อาชีพนี้ไป ก็จะมีอาชีพใหม่มาทดแทนเหมือนเป็นวงจรเศรษฐกิจ ก็อยากให้กำลังใจทุกคน เพราะมันส่งผลกระทบทุกคน มันไม่ได้เกิดกับประเทศไทยประเทศเดียว ทุกประเทศทั่วโลก และประเทศไหนปรับตัวได้ ปรับตัวได้เร็ว ประเทศนั้นก็จะได้เปรียบ เช่น ประเทศไทยเปรียบเหมือนเป็นบริษัทแล้วมีนายกฯ เป็น CEO วันนี้ประเทศไทยได้รับผลกระทบอะไรบ้างจากโควิด บริษัทเราเคยเป็นบริษัทที่มั่นคง มีรายได้หลักๆ มีนักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยว นักลงทุนจากต่างประเทศหิ้วเงินมาลงทุนมาสร้างงานก็เป็นรายได้ของประเทศ และสินค้าต่างๆ ที่เราผลิตในประเทศแล้วส่งไปขาย ข้าว ยาง อ้อย มันสำปะหลัง ดังนั้นประเทศไทยที่มี CEO นายกฯ ก็จะมีรายได้หลากหลาย 1.จากนักท่องเที่ยว ที่เข้ามาเที่ยวในประเทศไทย ปีหนึ่ง 40 ล้าคน นักท่องเที่ยว 1 คนเฉลี่ยแล้วมาเที่ยวเมืองไทย คนละ 10 วัน เฉลี่ย 1 วันใช้เงิน 5,000 บาท เป็นค่าโรงแรม 2,000 ช้อปปิ้ง 1,000 กิน 500 นวด 500 นั่งรถตุ๊กๆ โดยเฉลี่ยนักท่องเที่ยวใช้เงินต่อหัว 5,000 บาท ฉะนั้น นักท่องเที่ยว 1 คนจะใช้เงินประมาณ 50,000 บาท ปีหนึ่งมีนักท่องเที่ยว 40 ล้านคน เอา 40 ล้านคนคูณด้วย 50,000 ก็คือ 2 ล้านล้านบาท จีดีพีประเทศไทย 10 ปีก็คือ ผลผลิตที่คนไทยสร้าง ก็คือผลผลิตมวลรวม คนไทยที่ช่วยกันสร้างรายได้มาร่วมกันปีหนึ่งประมาณ 15 ล้านล้าน เฉพาะที่นักท่องเที่ยวต่างประเทศ 40 ล้านคูณ 50,000 เท่ากับ 2 ล้านล้านหารด้วย 15 ล้านล้าน ก็เท่ากับ 15 % แล้วยังมีคนไทยเที่ยวกันเองอีก ประมาณ 1 ล้านล้าน ฉะนั้น ถ้าจะถามว่ารายได้จากการท่องเที่ยวเป็นสัดส่วนเท่าไหร่ของจีดีพี ก็เอา 2 ล้านล้านของคนต่างประเทศ มาเที่ยวบวก 1 ล้านล้านของคนไทยมาเที่ยวก็ประมาณ 3 ล้านล้าน ก็ประมาณ 20% อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีผลโดยตรงต่อภาครวมเศรษฐกิจของประเทศไทยประมาณ 20% พอเกิดโควิดปั๊บ ทุกคนเดินทางไม่ได้ ทุกคนเที่ยวไม่ได้ 40 ล้านคนแทบจะเป็นศูนย์ ดีที่ได้เดือนมกราคมมานิดหนึ่ง แล้วก็มีการชัดดาวน์ประเทศและตอนนี้ก็ยังไม่ได้เปิดประเทศยังไงตอนนี้ประเทศไทยก็ต้องติดลบที่หลัก 10% เพราะการท่องเที่ยวก็ 10% แล้วที่หายไปเฉยๆ 2.การส่งออก ช่วงเกิดโควิดสต๊อบหมด ระบบการขนส่ง ทุกประเทศหยุดกันหมด การส่งออกประมาณ 7-8% เราก็ติด 10-20% เพราะส่งออกสินค้าไปขายไม่ได้ เงินเข้าประเทศก็ไม่มี คนมาเที่ยวประเทศก็ไม่มีเงินเข้าประเทศก็ไม่มี คนลงทุนก็ไม่มีลงทุนเพราะติดที่ประเทศตัวเอง ตอนนี้ถือว่าหนักมาก ผลกระทบทางเศรษฐกิจโดยภาพรวมปีทั้งปีน่าจะติดลบ 10 กว่าเปอร์เซ็นต์“ถ้าถามว่าอีกกี่ปี เมืองไทยจะกลับมา ก็ต้องตั้งสมมุติฐาน ว่าโควิดจะจบเมื่อไร คิดอย่างเอาใจช่วย เห็นรัสเชียออกข่าว จีนออกข่าว สหรัฐออกข่าว ว่าเจอวัคซีน ว่าเริ่มฉีดกัน สมมุติ ต้นปีว่าได้ฉีดวัคซีนเริ่มมีภูมิคุ้มกัน เริ่มไม่ป่วย เริ่มเดินทาง เริ่มท่องเที่ยวก็กลางปีหน้า กูรูเศรษฐกิจทั้งหลายคิดว่ากลางปีหน้า นับหนึ่งกันใหม่ ออกจากไอซียูกลางปีหน้าก็มาหัดเดินกันใหม่ สมมุติ ปีนี้ติดลบสัก 12% ที่ผ่านมามีเรดคอร์ทประเทศไทยปีหนึ่งเศรษฐกิจเรามีการเติบโต เรียกว่า จีดีพี โกลด์ ประมาณ 3-4% เรารองบ๊วยในอาเซียนนะ อยู่เฉยๆ ก็ต้องใช้เวลาประมาณ 3 ปี เศรษฐกิจไทยถึงจะกลับมาเหมือนเดิม โดยเฉลี่ย 4 ปี เราต้องบริหารทั้งสองอย่าง คือบริหารชีวิต และบริหารปากท้อง ช่วงที่เกิดโควิดเราไม่สนใจปากท้องเลย เราต้องบล็อกก่อนไม่ให้โควิดมันลาม มีเคอร์ฟิว มีการประกาศภาวะฉุกเฉิน หมอก็มีมาตรการปิดประเทศ ตามนโยบายต่างๆ อันนี้เป็นการบริหารสถานการณ์ในการที่จะเลือกที่จะรักษาชีวิตผู้คนก่อน เศรษฐกิจยังไม่พูดถึง เอาชีวิตกันก่อน ฉะนั้น เราต้องเข้มงวดกันมาก สิ่งหนึ่งที่เราโชคดีคือว่า คนไทยมีน้ำใจช่วยกัน ให้ใส่หน้ากาก มี Social Distancing ไม่ไปนั้น ไม่ไปนี้ ในช่วงเดือนกว่าเราก็สามารถจัดการเรื่องโควิดอยู่ หมายความว่าไม่มีการแพร่ระบาดเพิ่ม มีผู้ติดเชื้อทั้งหมด 3,000 ราย เสียชีวิต 50 กว่าราย และเราก็ไม่มีโควิดที่บางวันก็มีหลงมาสักคน ซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับต่างประเทศ วันละ 50,000 วันละ 70,000 วันละแสนเค้าไม่สามารถบริหารจัดการเรื่องโควิดได้ แต่เราโชคดีเพราะเราร่วมมือกันสี่ ห้าเดือนที่ผ่านมา ถือว่าเราประสบความสำเร็จ ในเรื่องของการรักษาชีวิต ผู้คนในประเทศ หยุดชีวิตอยู่ เสร็จแล้วเราก็ต้องมาบริหารเรื่องปากท้อง ใครเป็น CEO ก็ต้องบริหารเรื่องทั้งสองอย่าง ชีวิตและปากท้องจะเห็นว่าเราต้องสร้างความสมดุลอย่างเช่น เรื่องการท่องเที่ยว บางคนก็เรียกร้องว่าเปิดประเทศ อย่างเช่น ภูเก็ต บอกว่าเปิดประเทศเลย ให้คนเข้ามา แต่คนที่ไม่ได้อยู่ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เค้าก็บอกว่าให้เอาเข้ามาทำไม เดียวโควิดมาติดต่อ ติดเชื้อ แล้วก็เลยไม่จบ มันเป็นเรื่องความแตกต่างกัน ระหว่างคนสองกลุ่ม อันนี้คือความยากลำบาก ของคนที่จะมาบริหารประเทศ เราจะได้ยินคำว่า ต้องรักษาสมดุล เราไม่สามารถให้ใครคนใดคนหนึ่ง เป็นภาวะของการกลืนไม่เข้าคายไม่ออกก็ต้องประคับประคองกันไป จะเห็นว่าเราปิดประเทศเรายอมรับ มีผลกระทบทางเศรษฐกิจ แต่เราต้องมีมาตรการทางเศรษฐกิจ เข้ามาควบคู่กับการรักษามาตรฐานในการรักษาชีวิตโควิด ซึ่งรัฐบาลได้มีมาตรการออกมาช่วย มีการเก็บเงินประมาณ 1.9 ล้านล้านบาท เพื่อมากระตุ้นเศรษฐกิจ เตรียมเงินไว้ประมาณ ห้าแสนล้าน มาช่วยผู้ประกอบการขนาดกลาง SME ดอกเบี้ยร้อยละ 2 Soft Loan เตรียมให้คุณ ใครเป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ ไปออกพันธบัตรเอาไว้ พอครบดิวแล้วต้องไปขึ้นเงิน แบงค์ชาติก็ได้ตั้งกองทุน 4 แสนล้านมาช้อนชื้อ พันธบัตรเอาไว้ อีก 1 ล้านล้านก็แบ่งไป ห้าแสนล้าน ไปสร้างโครงการต่างๆ เพื่อไปกระตุ้นการจ้างงาน ในชนบททั้งระบบ” นายสุวัจน์ กล่าว