ดร.อธิชาต ทองอยู่ ประธานคณะทำงานประสารงานด้านการพัฒนาบุคลากรในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC-HDC) เปิดเผยว่า การทำงานร่วมกันในอุตสาหกรรมระหว่างแรงงานคน กับเครื่องจักร ในประประเทศที่พัฒนาแล้วทั่วโลกมีมานาน แต่ประเทศไทยเพิ่มจะเริ่มต้นอย่างจริงจัง ซึ่งในฐานะที่ได้รับผิดชอบเรื่องการพัฒนาบุคลลากร และการศึกษา จึงคิดว่าการทำให้สถาบันการศึกษาเข้ามามีส่วนร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรมจึงมีความจำเป็น เพราะจะช่วยในเรื่องการประหยัดต้นทุน และ ประหยัดเวลามากที่สุด เพราะอุตสาหกรรมเป็นแหล่งความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีตามมาตรฐานต่าง ๆ และเป็นแหล่งงานสำหรับของผู้ที่จบการศึกษา รวมทั้งเป็นแหล่งที่มีผู้เชี่ยวชาญ และเงินทุน ที่สามารถจะร่วมกับสถานศึกษาได้ ทำให้สถานศึกษามีการพัฒนาได้เร็วยิ่งขึ้น ดังนั้นการจัดพิธีลงนามความร่วมมือ 3 ฝ่าย ระหว่างภาคอุตสาหกรรม สถาบันการอุดมศึกษา และสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา จึงเป็นไปตามเป้าหมาย EEC และ HDC ที่ได้กำหนดไว้ให้เกิดความร่วมมือ ทั้ง 3 ฝ่าย โดยจะมีภาคอุตสาหกรรมในพื้นที่ EEC เป็นผู้นำในการที่จะช่วยผลักดันในการพัฒนาการศึกษาให้ก้าวหน้ามากขึ้น พร้อมทั้งในส่วนอาชีวะก็จะร่วมมือกับกระทรวงศึกษาปรับโครงสร้างคุณภาพอาชีวะใหม่ ด้วยการทำให้แต่ละอาชีวะที่เป็นเป้าหมาย มีความพร้อมด้านบุคคลากร ทรัพยากร และความก้าวหน้าทางการศึกษา ซึ่งคาดว่าจะเริ่มได้ในปีนี้ประมาณ 6 – 7 แห่งในพื้นที่ EEC และ ภายนอก EEC