ระบบ THAI SME-GP หรือ www.thaismegp.com ของ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ทำหน้าที่เป็นทั้งศูนย์กลางให้ผู้ประกอบการ SME ซึ่งเป็น “ผู้ขายสินค้าหรือให้บริการแก่ภาครัฐ” มาขึ้นทะเบียนรายชื่อและรายการสินค้าและบริการในระบบ และเป็นศูนย์รวมข้อมูลให้หน่วยงานภาครัฐทั่วประเทศ ซึ่งเป็น “ผู้ซื้อสินค้าหรือจัดหาบริการ” เข้ามาค้นหารายการสินค้าและบริการของ SME ทั้งในระดับจังหวัดและระดับประเทศ เพื่อนำเข้าสู่กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างตามที่กำหนด เรียกได้ว่า THAI SME-GP เป็นเสมือน SME Catalog ให้กับหน่วยงานภาครัฐทั่วประเทศ ที่ผ่านมาผู้ประกอบการ SME ให้ความสนใจมาขึ้นทะเบียนในระบบ THAI SME-GP อย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะในช่วงฤดูกาลจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ปีงบประมาณ 2564 นี้ มีการขึ้นทะเบียนเฉลี่ยวันละประมาณ 1,000 ราย โดยข้อมูลในรอบ 7 เดือน นับตั้งแต่เปิดดำเนินการ (ธันวาคม 2563- 15 กันยายน 2564) มี SME ขึ้นทะเบียนรวมกว่า 90,282 ราย ส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการขนาดย่อย (micro) และขนาดย่อม (Small) โดยเป็นกลุ่มภาคบริการมากที่สุด มีรายการสินค้าและบริการที่ขึ้นทะเบียนในระบบมากกว่า 625,548 รายการ รายการที่มีการขึ้นทะเบียนมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ เครื่องใช้และอุปกรณ์สำนักงาน ส่วนประกอบและวัสดุสิ้นเปลืองของโครงสร้างอาคารสิ่งก่อสร้างและการผลิต เทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสารและโทรคมนาคม บริการด้านการก่อสร้างและบำรุงรักษาอาคาร ชิ้นส่วนและอุปกรณ์สำหรับระบบไฟฟ้าและแสงสว่าง ฯลฯ ส่วนจังหวัดที่มี SME ขึ้นทะเบียนมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ และเชียงใหม่ นับตั้งแต่มาตรการ THAI SME-GP มีผลในทางปฏิบัติเมื่อปลายปี 2563 เป็นต้นมา จนถึง 30 มิถุนายน 2564 สามารถเพิ่มโอกาสให้ SME เข้าสู่การจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานภาครัฐในปีงบประมาณ 2564 ได้สำเร็จ คิดเป็นมูลค่าไม่น้อยกว่า 301,038 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นงานด้านรับเหมาก่อสร้าง และเครื่องใช้และอุปกรณ์สำนักงานเป็นหลัก จึงนับเป็นจุดเริ่มสำคัญที่ช่วยให้ผู้ประกอบการ สามารถขยายเข้าสู่ตลาดขนาดใหญ่ที่มูลค่าไม่น้อยกว่า 1.3 ล้านล้านบาทต่อปี ได้เป็นผลสำเร็จ ซึ่งมีกรณีตัวอย่างให้เห็นอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ยังมีผู้ประกอบการจำนวนไม่น้อย ที่พลาดโอกาสในรอบการจัดซื้อสำหรับปี 2564 นี้ “สสว. ได้รับแจ้งจากผู้ประกอบการหลายราย ว่าพลาดโอกาสเข้าร่วมประมูลงานกับหน่วยงานรัฐ เพราะไม่มีหนังสือรับรองการขึ้นทะเบียน THAI SME-GP ดังนั้นเพื่อให้ผู้ประกอบการ SME ทุกท่าน คว้าโอกาสได้ทันกับฤดูกาลจัดซื้อจัดจ้างของปีงบประมาณ 2565 ที่กำลังมาถึง นี้ จึงควรรีบมาขึ้นทะเบียนไว้แต่เนิ่นๆ เพราะมีหน่วยงานภาครัฐที่จะรอซื้อสินค้ากว่า 114,000 รายทั่วประเทศ ซึ่งการขึ้นทะเบียนสามารถทำได้ด้วยตัวเองผ่านระบบออนไลน์ที่ www.thaismegp.com” ซึ่งจะเป็นโอกาสให้กับ SME ไทย ที่ใครลงทะเบียนสำเร็จเรียบร้อย ได้สิทธิ์ก่อนก็มีโอกาสก่อน เป็นโอกาสที่ SME ทุกท่านเข้าถึงได้ง่าย ๆ ไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง ทำผ่าน Online ไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น" ทั้งนี้สสว. จึงได้ทำการรวบรวมคำถามที่พบบ่อย เพื่อไขคำตอบให้เป็นความรู้และเป็นแนวทางในการปฏิบัติตามมาตรการ ดังนี้ ผู้ประกอบการ SME คำถาม 1 เคยขึ้นทะเบียนเป็นผู้ค้าภาครัฐ หรือ e-GP แล้ว / เคยขึ้นทะเบียนสมาชิก สสว. แล้ว จะได้รับสิทธิประโยชน์นี้ด้วยหรือไม่ ? คำตอบ : ผู้ที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ในมาตรการ THAI SME-GP จะต้องเป็นผู้ประกอบการ SME ที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนด และต้องขึ้นทะเบียนในระบบ THAI SME-GP ที่เว็บไซต์ www.thaismegp.com เท่านั้น โดยมีหลักฐานเป็น “หนังสือหนังสือรับรองการขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการ SME เพื่อการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ (THAI SME –GP)” เท่านั้น เนื่องจากทะเบียน e-GP ของกรมบัญชีกลาง จะเป็นผู้ค้ากับภาครัฐทั่วไป เมื่อรัฐมีนโยบายที่จะให้สิทธิประโยชน์กับกลุ่มเป้าหมายใดเป็นพิเศษ เช่น สินค้านวัตกรรม / ผู้ประกอบการ SME / สินค้า Made in Thailand / สินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จำเป็นที่จะต้องมีการตรวจสอบคุณสมบัติของกลุ่มเป้าหมายก่อนได้รับสิทธิประโยชน์นั้นๆ กรณีนี้ จึงเป็นที่มาของการที่ผู้ประกอบการ SME จะต้องขึ้นทะเบียน SME-GP เพื่อให้ สสว. ได้ตรวจสอบคุณสมบัติ ก่อนได้รับสิทธิประโยชน์ด้านการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ในส่วนของทะเบียนสมาชิก สสว. เป็นบริการด้านการเข้าร่วมโครงการพัฒนาด้านอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ คำถาม 2 ขึ้นทะเบียน THAI SME-GP แล้วได้อะไร? คำตอบ : ผู้ประกอบการ SME ที่ขึ้นทะเบียนรายชื่อพร้อมทั้งรายการสินค้าและบริการใน THAI SME-GP เรียบร้อยแล้ว จะได้รับสิทธิประโยชน์ ดังนี้ - โอกาสในการซื้อหรือจ้างจากหน่วยงานของรัฐในจังหวัดเดียวกันก่อนผู้ประกอบการจังหวัดอื่น- แข่งขันด้านราคาได้มากขึ้น ด้วยแต้มต่อไม่เกินร้อยละ 10 ในวิธี e-Bidding ที่ใช้เกณฑ์ราคาต่ำสุด- เข้าถึงตลาดภาครัฐที่มีมูลค่าไม่น้อยกว่า 1.3 ล้านล้านบาทต่อปี - ได้รับการพัฒนาจาก สสว. หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่สนับสนุนให้เข้าถึงตลาดภาครัฐ และความรู้ที่เป็นประโชย์ต่อธุรกิจ คำถาม 3 หนังสือรับรองการขึ้นทะเบียน จะไปขอได้ที่ไหนและมีอายุหรือไม่ ? คำตอบ : หนังสือรับรองการขึ้นทะเบียน THAI SME-GP จะได้รับเมื่อผู้ประกอบการขึ้นทะเบียนในระบบ THAI SME-GP หรือเว็บไซต์ www.thaismegp.com สำเร็จ และได้รับการตรวจสอบยืนยันความเป็นผู้ประกอบการ SME จาก สสว. เรียบร้อยแล้ว โดยสามารถ download จากระบบ เพื่อใช้เป็นเอกสารประกอบการได้รับสิทธิประโยชน์ในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ โดยในปีแรกการรับรองจะมีอายุนับตั้งแต่วันที่ได้รับอนุมัติจนถึง 30 มิถุนายน 2565 และจะต้องมีการแสดงเอกสารรายได้ประกอบการยื่นขอหนังสือรับรองทุกปี (ใส่ภาพตัวอย่างหนังสือรับรอง...ซึ่งดูตัวอย่างได้จากระบบ) หน่วยงานของรัฐ คำถาม 1 หน่วยงานของรัฐจะมีวิธีการคิดสัดส่วนการจัดซื้อจัดจ้างจาก SME ไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 อย่างไร ? คำตอบ : ให้หน่วยงาน นำรายการพัสดุที่จะจัดซื้อจัดจ้างในปีงบประมาณนั้น ๆ มาตรวจสอบใน www.thaismegp.com ของ สสว. เมื่อพบรายการพัสดุที่ตรงกับที่มีการขึ้นทะเบียนดังกล่าว เช่น มีจำนวน 5 รายการ ใช้งบประมาณ 10 ล้านบาท หน่วยงานจะต้องจัดซื้อจัดจ้างสินค้าดังกล่าวกับผู้ประกอบการ SME ไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของงบประมาณ 10 ล้านบาท หรือคิดเป็น 3 ล้านบาท โดยสามารถซื้อรายการใดรายการหนึ่ง หรือหลายรายการรวมกันก็ได้ และจะต้องรายงานผลการจัดซื้อจัดจ้างกับ SME ไปยัง สสว. คำถาม 2 การจัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธี e-bidding ที่ใช้เกณฑ์ราคาต่ำสุด คิดแต้มต่อไม่เกินร้อยละ 10 อย่างไร คำตอบ : กรณีจัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) ที่ใช้เกณฑ์ราคาต่ำสุด หากผู้ประกอบการ SME ที่ขึ้นทะเบียนในระบบ THAI SME-GP เสนอราคาสูงกว่าผู้ประกอบการอื่นที่เป็นผู้เสนอราคาต่ำสุด ไม่เกินร้อยละ 10 จะเป็นผู้ชนะการเสนอราคา แต่กรณีที่มีผู้เข้าร่วมเสนอราคาหลายราย ให้จัดเรียงลำดับผู้เสนอราคา SME ที่ได้แต้มต่อฯ ไม่เกิน 3 ราย ตามลำดับ ในกรณีที่ผู้ยื่นข้อเสนอรายที่คัดเลือกไว้ไม่ยอมเข้าทำสัญญาหรือข้อตกลงในเวลาที่กำหนด ให้พิจารณาผู้ที่เสนอราคาต่ำรายถัดไป ตัวอย่างเช่น มีผู้เสนอราคา 5 ราย ได้แก่ บริษัท A B C D และ E โดย A B C เป็นผู้ประกอบการทั่วไป D และ E มีหนังสือรับรองการเป็นผู้ขึ้นทะเบียน THAI SME-GP เสนอราคาดังนี้บริษัท A 5,000,000 บาทบริษัท B 5,200,000 บาทบริษัท C. 5,250,000 บาทบริษัท D 5,300,000 บาทบริษัท E 5,400,000 บาทราคาต่ำสุด คือ บริษัท A จึงจัดเรียงลำดับราคาดังนี้ลำดับ 1 บริษัท D 5,300,000 บาทลำดับที่ 2 บริษัท E 5,400,000 บาทลำดับที่ 3 บริษัท A 5,000,000 บาท ส่วนกรณีที่ SME ไม่แสดงหลักฐานหนังสือรับรองการเป็นผู้ขึ้นทะเบียน THAI SME-GP จะถือว่าไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ภายใต้มาตรการเท่านั้น โดยไม่ถือว่าเป็นผู้ตกคุณสมบัติการเป็นผู้เสนอราคา คำถาม 3 การจัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธีเฉพาะเจาะจง (วงเงินต่ำกว่า 5 แสนบาท) จาก SME หน่วยงานของรัฐนำมาคิดรวมเป็นสัดส่วนที่ต้องซื้อสินค้าจาก SME ไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ได้หรือไม่ คำตอบ : หน่วยงานสามารถนำวงเงินที่จัดซื้อจัดจ้างสินค้าจาก SME ที่ขึ้นทะเบียนในระบบ THAI SME-GP ของ สสว. ด้วยวิธีเฉพาะเจาะจง ไปนับรวมในการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการจาก SME ในสัดส่วนไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ได้ “THAI SME-GP” สร้างโอกาส SME ไทย เข้าถึงตลาดภาครัฐ ผู้ประกอบการที่สนใจ สามารถขึ้นทะเบียนได้ด้วยตัวเองที่ www.thaismegp.com ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สสว. Call Center 1301 หรือศูนย์ให้บริการ SME ครบวงจร (OSS) ทั่วประเทศ.