"สุวัจน์" เสนอโรดแมปแก้ปัญหาเรื่องน้ำท่วม น้ำแล้ง อย่างยั่งยืน วันที่ 22 ตุลาคม 2564 นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ประธานที่ปรึกษาพรรคชาติพัฒนา พร้อมด้วย นายเทวัญ ลิปตพัลลภ อดีตรมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี หัวหน้าพรรคชาติพัฒนา นายแพทย์วรรณรัตน์ ชาญนุกูล ผู้อำนวยการศูนย์ตนโคราชรักจริงไม่ทิ้งกัน นายประเสริฐ บุญชัยสุข นายกเทศมนตรีนครนครราชสีมา นายอุทัย มิ่งขวัญ ประธานสภาเทศบาลนคนครวัดหมราชสีมา นายสมบัติ กาญจนวัฒนา อดีตประธานสภา อบจ.นครราชสีมา นายสมศักดิ์ กาญจนวัฒนา อดีตกำนันโคกกรวด พร้อมทีมสจ.สท.พรรคชาติพัฒนา ลงพื้นข่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วมโคราชในเขตอำเภอเมือง เริ่มตั้งแต่บ้านคนชุม ต.ปรุใหญ่ วัดหมื่นไวย์ ต.หมื่นไวน์ หมู่บ้าน VIP หลังโรงพยาบาลเซ็นแมรี่ และวัดศาลาลอย นายสุวัจน์ กล่าวว่า ศูนย์ฅนโคราชรักจริงไม่ทิ้งกัน เหมือนเป็นกองกำลังเฉพาะกิจไปกอบกู้สถานการณ์น้ำท่วมโคราช โดยมีนายกฯ ประเสริฐ บุญชัยสุข มีเทวัญ ลิปตพัลลภ หัวหน้าพรรคชาติพัฒนา "กำนันเบ้า" สมศักดิ์ กาญจนวัฒนา อดีตกำนันโคกกรวด ร่วมกับทหารกองทัพภาคที่ 2 ผู้นำชุมชน ชาวบ้านร่วมแรงร่วมใจกันสู้วิกฤติน้ำท่วมสามารถกู้พระนอนหินทราย อายุ 1,300 ปี ที่สูงเนิน และเจดีย์เก็บอัฐิคุณย่าโม ที่วัดศาลาลอย ที่จมได้นำเสร็จ เพราะสองแห่งเป็นโบราณสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของชาวโคราช "เวลามีวิกฤติถ้าเราร่วมมือร่วมใจกัน เราก็สามารถผ่านพ้นไปได้ เป็นตัวอย่างหนึ่งของความรักความสามัคคี ในการแก้ไขปัญหา" นายสุวัจน์ กล่าว ส่วนแนวทางแก้ไขปัญหาน้ำท่วมโคราชนั้น นายสุวัจน์ มองว่าเป็นปัญหาที่ซ้ำซาก โดยเฉพาะผลกระทบจากลำน้ำลำตะคองเวลามีดีเปรสชั่น ทุกพื้นที่จะได้รับผลกระทบหมดพื้นที่เกษตร พื้นที่เศรษฐกิจในเมืองธุรกิจได้รับความเสียหาย ผมคิดว่ามหาศาล อาจจะนับเป็นหมื่นล้านแสนล้าน ในช่วงหนึ่งเดือนสองเดือนเราจะเห็นว่าผลกระทบจากน้ำท่วม ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะที่ จังหวัดหนึ่งจังหวัดใด แต่เกือบจะทั่วประเทศ ดังนั้น วันนี้เราต้องมาคิดถึงโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวกับน้ำ เกี่ยวข้องกับน้ำท่วม น้ำแล้ง เพราะเราเป็นเมืองเกษตร ซึ่งมีการกระทบต่อเกษตร และกระทบความเดือดร้อนพี่น้องประชาชนโดยทั่วไป ถึงเวลาที่เราควรที่จะมีการจัดทำแผนแม่บท ในการพัฒนาทำโครงสร้างพื้นฐาน ทางด้านน้ำของประเทศ ทำอย่างจริงจัง 5-10 ปี อย่างวันนี้เรามีแผนยุทธศาสตร์แห่งชาติ ที่อยู่ในรัฐธรรมนูญก็คือ การเอาเหตุการณ์ต่างๆ ที่มันเปลี่ยนแปลงขึ้นแล้วมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจและผลกระทบชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน แล้วมาจัดทำโครงสร้างพื้นฐานทางด้านน้ำเพื่อป้องกันน้ำท่วม และแก้ไขปัญหาภัยแล้ง เราก็จะได้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ว่าเราจะพัฒนาอะไรบ้าง เขื่อน อ่างเก็บน้ำ อะไรที่เป็นสภาพเดิม ที่ควรเพิ่มเติม หรืออะไรที่ควรจะทำใหม่ หลังเขื่อน หลังอ่างเก็บน้ำ คูคลองธรรมชาติ แม่น้ำอะไรที่ต้องขุดลอก ทำเขื่อนริมตลิ่ง เราทำแผน เลย 10 ปี จากนี้ไปน้ำไม่ท่วม และ 10 ปีจากนี้ไป น้ำจะไม่แล้ง และอยู่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ อยู่ในแผนยุทธศาสตร์ชาติ "ผมว่าวันนี้ ถึงเวลาแล้วที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ควรจะได้คิด ช่วยกัน หน่วยงานต่างๆ ผมเชื่อว่าทุกท่านมีข้อมูลอยู่แล้ว มาจัดทำแผนร่วมกัน หรือจากรัฐสภา หรือ ผู้แทนราษฏร เพื่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน อีกตัวหนึ่งให้กับประเทศ ที่จะสร้างประโยนช์และแก้ไขปัญหาให้พี่น้องประชาชนแบบยั่งยืน"นายสุวัจน์ กล่าว