ม.นอร์ท-เชียงใหม่ มอบดุษฏี ให้”ครูพยง” ราชินีเห็ดอ่างทอง เพื่อเป็นตัวอย่างแห่งคุณค่าความดี
เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2565 พิธีประสาทปริญญาบัตร มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ ประจำปีการศึกษา 2562 2563 และ 2564 ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ ดร.ณรงค์ ชวสินธุ์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ กล่าวถึง ครูพยง แสนกมล ผู้ได้รับปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ประเภททั่วไป สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ ประจำปีการศึกษา 2562 2563 และ 2564 ว่าจริงๆ แล้ว ผมทำมหาวิทยาลัยนี้ เพื่อต้องการทดแทนคุณแผ่นดินเกิด และได้ฟังพระราชดำรัสในหลวงรัชกาลที่ 9 ไม่มีอะไรดีเท่ากับการให้การศึกษา ซึ่งได้รู้จักครูพยง จากลูกชายพาไปหาครูพยง ที่อ่างทอง แต่ก่อนจะไปก็ได้รับฟังประวัติ ว่ามีความคิดอุดมการณ์เดียวกัน เราก็อยากทดแทนบุญคุณ และเจริญรอยตาม พระองค์ท่านในหลวงรัชกาลที่ 9
“ผมมองว่าเกษตรเป็นเรื่องพื้นฐาน ปัจจุบันผมมอบพื้นที่ 80 กว่าไร่ เพื่อจะทำพืชสวนเกษตรพอเพียง ซึ่งครูพยงได้นำต้นไม้มีรากและเอาเห็ดมาลงให้ อนาคตผมคิดว่าเป็นศูนย์การเรียนรู้ และผมจะดึงนักศึกษามหาวิทยาลัยมาเรียนรู้ ซึ่งเด็กมหาลัยเราไม่มีความฟูฟ่า เหมือนเด็กในเมืองใหญ่ ต้องมีโอกาสได้สัมผัส และนำองค์ความรู้เกี่ยวกับเห็ด ไปใช้ในชีวิตได้ก็ไม่ต้องเข้าเมืองไปเป็นลูกจ้าง ซึ่งครูพยงได้มีความบากบั่น ถ้าใจไม่สู้ ไม่มาถึงตรงนี้ ผมมีแนวทางที่จะสร้างคน และผมคิดวว่าครูพยง มีความสมบูรณ์แบบ ซึ่งต้องบากบั่น ที่จะหาคนที่ใจรักจริงๆ”
อธิการบดี กล่าวและย้ำว่าในอนาคตผมคิดว่า เกษตรเป็นพื้นฐานสำคัญในชีวิต และกลับมาสู่สภาพ อยู่มีความสุข อยู่อย่างไร และเห็ดเป็นได้ทั้งยาและอาหาร ซึ่งผมต้องสนับสนุนครูพยง เพราะผมทำเองไม่ได้ ซึ่งครูพยง จะมีเวทีที่จะเล่นถ้าไปเล่นกับเอกชนก็มองว่าเห็นแต่ประโยชน์ส่วนตัว แต่ถ้าเล่นกับมหาวิทยาลัยพื้นฐานของมหาวิทยาลัยต้องการตอบแทนคุณแผ่นดิน ซึ่งเป็นเป้าหมายที่ผมตั้งใจ ไม่ได้ต้องการความร่ำรวย แต่เราอยากจะเผยแพร่ให้ชุมชนและชาวบ้าน โดยการนำคณะต่างๆ องค์ความรู้เข้ามารวบรวม และส่งเสริมให้เป็น “ห้องวิชาชีวิตจริง”
อาจารย์ณรงค์ ให้คำนิยามคำว่า เกษตรนิวนอร์มอล ว่าทำอย่างไร ลดต้นทุน ไม่ยุ่งกับสารเคมี
หลบหลีนี้ภัยจากเชื้อโรค แต่ตอนนี้เราหาภัยมาเข้าตัวโดยการผลิตสินค้าเกษตรด้วยสารเคมี ถึงเวลาแล้วที่เราต้องปรับเปลี่ยนหันมาทำเกษตรอินทรีย์ ตามศาสตร์พระราชา ไม่ใช่หลอกตัวเอง หลอกผู้บริโภค ไม่ได้ปลูกเองไปรับคนอื่นมาขายเราต้องลงมือทำเอง ในนามของมหาวิทยาลัย
ซึ่งประหลาดใจเพราะฝ่ายขาย การตลาดที่ทำเกี่ยวกับพืชผัก พอบอกว่าเป็นผักจากมหาลัย นอร์ท คนตัดสินใจซื้อทันที
ซึ่งผมมาวิเคราะห์และทบทวนอย่างน้อยคำว่า ชื่อมหาวิทยาลัย เป็นสถาบันเปิดขึ้นมาไม่ใช่การค้า นี่เป็นเครดิต ที่เราทำมาแล้ว 20 กว่าปี ทำให้ปัจจุบันเกิดความไว้วางใจจากองค์ความรู้ด้านการเกษตร ทำให้คนเริ่มปลูกผักกินเอง มีความปลอดภัย กรอบ สด มากขึ้น คุณภาพชีวิตก็ดีขึ้น
ด้าน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ บงกช สุทัศน์ ณ อยุธยา และผู้ช่วยอธิบการบดี มหาวิทยาลัย นอร์ท-เชียงใหม่ กล่าวว่าครูพยง เป็นผู้หญิง ที่มีศักยภาพสูงมาก เห็นประวัติมากมาย สิ่งที่ครูภูมิใจที่สุดคือ ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ของมหาวิทยาลัย เป็นเครื่องยืนยัน
นอกจาก ความรู้ทางวิทยาการแล้วก็เป็นเรื่องของคุณภาพ สิ่งที่ประทับใจ คือ การให้องค์ความรู้ให้คนอื่น สิ่งหนึ่งที่ครูพยง พูดว่า “ความรู้ เรื่องเห็ด ช่วยเหลือชุมชน เจ๋ง จน เจ็บ ให้จบที่ครูพยง” นี่คือสุดยอด
สำหรับมาตรฐานในการคัดเลือกดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์นั้น ต้องบอกว่า ไม่ได้หมายความว่าให้ทุกคน เพราะว่าทางกรรมการสภา เป็นผู้ทรงคุณวุฒิทุกท่าน โดยเฉพาะนายกสภามหาวิทยาลัย ท่านศาสตราจารย์ เกียรติคุณ นพ.โชติ ธีตรานนท์ ซึ่งเป็นอดีตอธิการบดี ถึง 2 สมัย มีส่วนในการคัดเลือกในครั้งนี้ โดยเฉพาะมาตรฐานคนในแผ่นดิน ศักยภาพ และเรื่องการตอบแทนคุณแผ่นดิน ซึ่งแนวคิดเรื่องนี้ ต้องชื่นชม ท่านอธิบการบดี ดร.ณรงค์ ชวสินธุ์ ซึ่งมีแนวคิดในการทดแทนคุณแผ่นดิน
เช่นเดียวกับ นายถนอม ใจการ ผู้จัดการอาวุโส ภาคีภาคสนาม โครงการพัฒนาดอยตุง กล่าวว่า ขอแสดงความยินดีด้วยกับครูพยง เกษตรกรผู้มีความมุ่งมั่นในการทำงานและนำองค์ความรู้มาช่วยโครงการหลวงฯ มาช่วยชาวบ้านในการเพาะเห็ด เป็นการสร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้กับชุมชน
ที่สำคัญ ครูพยง ยังมีความรอบรู้ในเรื่องสิ่งแวดล้อม ทำอย่างไรเกษตรกรจะไม่สร้างมลภาวะเป็นพิษสังคม
“ขอชื่นชมคนดีของแผ่นดิน ครูพยง แสนกมล เหมาะสมกับดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ในครั้งนี้” นายถนอม กล่าว
ด้าน ครูพยง แสนกมล เจ้าของฉายา”ราชินีเห็ด” แห่งอาเซียน และผู้ได้รับดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ในครั้งนี้ กล่าวว่า วันนี้ ครูพยง ภูมิใจมากที่สุด เพราะที่นี่เป็นมหาวิทยาลัยอินเตอร์ และพร้อมที่จะพัฒนาในด้านเรื่องการเกษตรส่งออก ถามว่าครูจะทำประโยชน์อะไรให้กับมหาวิทยาลัยและสังคม จากประสบการณ์ที่มีอยู่ ซึ่งครูพยง เคยพูดไว้แล้วเมื่อหลาย 10 ปีก่อนว่าบั้นปลายชีวิตอยากจะทำงานถวาย ซึ่งต้องมีองค์กรมารองรับ และหลายหน่วยงาน แต่ทางมหาวิทยาลัยเล็งเห็นกว้างไกล และไปสู่ชุมชนได้เร็วกว่า ภาครัฐ ก็จะนำความรู้ทั้งมาทำประโยชน์ให้สังคมและประเทศชาติต่อไป
“ทำเกษตรของเรา คือ การใช้พื้นที่น้อยๆ และการนำวัสดุเหลือใช้ที่มีอยู่ในท้องถิ่น มาใช้ในการเกษตร ไม่ยุ่งยาก เพื่อสร้างรายได้” ครูพยง กล่าว