ATK ชุดตรวจโควิด แม่นพอๆ กัน แต่ตรวจเชื้อได้เร็วไม่เท่ากัน
เป็นเวลากว่า 2 ปีแล้ว ที่ทั่วโลกต้องเจอกับปัญหา Pandemic หรือโรคระบาดที่ชื่อว่า SARS-COV-2 หรือที่เรียกว่าเชื้อโควิด-19 และเป็นเวลากว่า 2 ปีเช่นเดียวกันที่มีการกลายพันธุ์ของเจ้าเชื้อตัวนี้เป็นหลากหลายสายพันธุ์ ไม่ว่าจะเป็นสายพันธุ์ดั้งเดิม สายพันธุ์ S (ดั้งเดิม) หรือว่าอู่ฮั่น สายพันธุ์อัลฟ่า สายพันธุ์เดลต้า ไม่รวมที่ปรากฏมาช่วงหนึ่งที่มีสายพันธุ์แอปซิลอน เป็นต้น
โควิดมีสายพันธุ์เยอะแยะมากมายจน ณ ปัจจุบัน เป็นสิ่งที่คนทั้งโลกกำลังเรียกได้ว่าเฝ้าระวังหรือว่ากังวล นั่นคือสายพันธุ์ โอมิครอน โดยเฉพาะสายพันธุ์ล่าสุด โอมิครอนล่องหน โดยเจ้าเชื้อโอมิครอน ชื่อเต็มๆ ก็คือ B 1.1.529 โดยแยกออกมาเป็น 3 สายพันธ์ย่อย คือ BA.1 BA.2. BA.3 โดยเฉพาะปัจจุบันชื่อที่กำลังระบาดอยู่คือ BA.1 ซึ่งสายพันธุ์ที่ล่องหน คือ BA.2
แล้วมันน่ากลัวอย่างไร? ถ้าเทียบกับสายพันธุ์ดั้งเดิม โอมิครอนมีการกลายพันธุ์ ณ จุดหนาม เกิน 35 จุด แต่ที่น่ากลัวคือ โอมิครอน BA.2 จะไม่สามารถแยกได้ระหว่างโอมิครอนกับเดลต้า นั่นหมายความว่าไม่เหมือนโอมิครอนปกติที่สามารถแยกสารพันธุกรรมได้ จากการกลายพันธุ์ของตัวหนาม ดังนั้น หากเรามาดูถึงการตรวจ RT-PCR ยังสามารถตรวจโอมิครอนได้ แต่ PCR จะไม่สามารถแยกตัวโอมิครอนล่องหน หรือ BA.2 จาก BA.1 ได้ แปลว่าสายพันธุ์ที่จะมีการระบาดมากที่สุด อาจเป็นโอมิครอนสายพันธุ์ล่องหน หรือ BA.2 ก็เป็นไปได้ เหตุผลก็เพราะการตรวจแบบ RT-PCR แยกไม่ออกระหว่างโอมิครอนหรือเดลต้า
คราวนี้ เราอาจไม่ได้ตรวจ RT-PCR ได้สะดวกทั่วไป จึงต้องมีชุดตรวจที่ใช้ได้ทั่วไป เหมือนยาสามัญประจำบ้าน นั่นก็คือ Antigen Test Kit หรือ ATK ซึ่งปัจจุบันมีมากกว่า 100 แบรนด์ เข้ามาในประเทศไทย ที่ขึ้นทะเบียนกับ อ.ย. ต้องบอกว่าความแม่นยำทุกแบรนด์คาดว่าใกล้เคียงกัน แต่ “ตรวจเจอเชื้อ” เร็วไม่เท่ากัน
ATK ชุดตรวจหา Nucliocapsid หรือสารโปรตีนที่เปรียบเสมือนเนื้อหรือเส้นเอ็นกล้ามเนื้อของเชื้อโควิด19 และไม่ได้ตรวจหนาม ดังนั้นการกลายพันธุ์ของโอมิครอนไม่ได้กระทบการใช้ ATK อย่างชัดเจน
ทั้งนี้ ชุดตรวจ ATK จะตรวจเจอเชื้อได้ไวหรือเปล่า ไม่ได้ขึ้นอยู่กันความแม่น หากพูดถึงความแม่น จะหมายถึง Accuracy Profile ประกอบด้วย ความไว (Sensitivity) และความเฉพาะเจาะจง (Specificity) ความแม่นเหล่านั้นไม่ได้พูดถึงความไวในการเจอเชื้อ
ทั้งนี้ ATK ที่ดีต้องเจอเชื้อไว! เราควรตรวจ ATK หลังจากเริ่มมีอาการ 24 ชั่วโมง แต่ ATK บางเจ้า ใช้เวลาหลายวันหลังมีอาการ จึงจะพบเชื้อ เรียกได้ว่า ATK เเต่ละเจ้ามีความไวไม่เท่ากัน
เเล้วเราจะเลือกซื้อ ATK อย่างไร
ต้องมาดูค่าที่เรียกว่า Limit of Detection (ในเอกสารกำกับสินค้า) หรือปริมาณความสามารถที่ชุดตรวจในหาเชื้อไวรัสได้ต่ำสุดที่เท่าไร โดยจะให้หน่วยเป็น TCID50/ml ตัวอย่างเช่น ชุดตรวจที่มีค่า LOD ที่ 200 จะตรวจเชื้อได้เร็วกว่าชุดตรวจที่มีค่า LOD ที่ 900 เป็นต้น และความต่างในการับเชื้ออาจอยู่ที่ 2-4 วันเลยทีเดียว
ดังนั้น หากซื้อชุดตรวจ ATK ต้องมีเอกสารกำกับด้วยว่ามีการระบุค่า Limit of Detection หรือ LOD หรือเปล่า ถ้าเลือกได้ ควรเลือกเจ้าที่มีค่า Limit of Detection (LOD) ต่ำที่สุด ทางที่ดีควรจะ 100-200 ได้ยิ่งดี
นี่คือสิ่งที่คนทั่วไปไม่ทราบข้อมูล และทำให้การเลือกซื้อชุดตรวจ ATK อาจเหมือนการเลือกซื้อกล่องสุ่ม ที่ไม่รู้ว่าซื้อไปแล้วจะตรวจโควิดได้(ไว)จริงหรือไม่
ถ้าสนใจซื้อ ATK ที่มีค่า Limit of Detection อยู่ในเกณฑ์ดีคือ 200 TCID50/mL เช่น Getein Biotec inc. ซึ่งเป็น Top 5 ของประเทศจีน เป็นโรงงานที่ใช้เทคโนโลยีของสหราชอาณาจักรมาผลิต และยังเป็นโรงงานที่เปิดมากว่า 15 ปี และชุดตรวจโรคติดเชื้อ เช่น โรคลิ่มเลือด โรคติดเชื้อในกระแสเลือด และความผิดปกติของหัวใจ เป็นต้น
ดังนั้น การเลือกชุดตรวจ ATK เป็นเรื่องสำคัญ ควรเลือกชุดตรวจฯที่มีคุณภาพ เพราะหากตรวจไม่เจอ เราจะกลายเป็นพาหะของเชื้อนั่นเอง (ไม่ใช่วัคซีน) การมีวัคซีนจะเป็นหัวข้อต่อไป วันนี้ขอให้ทุกคนปลอดภัย และอย่าลืมให้ Getein เป็นยาสามัญประจำบ้านของทุกคน
เลขที่ อย. T6400337
Facebook : https://www.facebook.com/pointofcare/
Instagram : https://www.instagram.com/getein.thailand/
Line : @getein