รู้จัก DI Digital Intelligence ผู้บุกเบิก FANDOM MARKETING แบบครบวงจร

เทรนด์การทำการตลาดกับกลุ่มแฟนคลับ (FANDOM MARKETING) เริ่มเป็นที่นิยมกันมากขึ้นเรื่อยๆในยุคปัจจุบัน คงปฎิเสธไม่ได้ว่าในยุค Digital หรือยุค Social Media เป็นยุคที่ใครๆ ก็สามารถสร้างสื่อและมีแฟนคลับเป็นของตัวเองได้ ไม่ว่าจะเป็นดารา เน็ตไอดอล ยูทูปเบอร์ อินฟลูเอนเซอร์ หรือแม้กระทั่ง แบรนด์เองก็ตาม การลงทุนสร้างฐานแฟนคลับ (Core Fan) รวมไปถึงการจัดการในทางการตลาดจึงเริ่มเป็นที่นิยมและเป็นการสร้างความยั่งยืน (Sustainability) ให้กับตนเอง

การเติบโตของแฟนคลับในปัจจุบัน มีการเติบโตอย่างรวดเร็วและขยับขยายออกสู่ต่างประเทศ อาทิ ไบร์ท วชิรวิชญ์ (bbrightvc) ที่มียอดผู้ติดตามใน Instagram ครบ 1 ล้าน Followers เมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2563 ผ่านมาประมาณ 2 ปีวันนี้มีมากถึง 16 ล้าน Followers เพิ่มขึ้น 1,600% นอกจากดารานักแสดงแล้ว ทางฝั่งแบรนด์หรือองค์กรผู้นำอย่าง AIS เองที่ได้ดึง แบมแบม - กันต์พิมุกต์ ภูวกุล หรือ แบมแบม วง GOT7 และ ลลิษา มโนบาล หรือ ลิซ่า วง BLACKPINK มาเป็นพรีเซนเตอร์ มียอดผู้ติดตามบน YouTube มากถึง 820,000 subscriber สูงสุดเป็นอันดับ 1 ของแบรนด์และองค์กรในเมืองไทย

วันนี้เราจะมาคุยกับคุณโจ-นายนิธิภัทร์ พาณิชชัยวิวัฒน์ ผู้ก่อตั้งและกรรมการผู้จัดการบริษัท ดี อินเทลลิเจ็นซ์ จำกัด ( Digital Intelligence ) หรือเรียกสั้นๆ ว่า DI ผู้นำการตลาดด้านดิจิทัล ผู้เชี่ยวชาญในด้านเทคโนโลยีและการจัดการธุรกิจแฟนคลับ (FANDOM MANAGEMENT BUSINESS) ที่มีประสบการณ์ในด้านนี้มากกว่า 10 ปีและทำงานร่วมกับแบรนด์และองค์กรระดับชาติทั้งในและต่างประเทศอย่างมากมาย

“การตลาดกับกลุ่มแฟนคลับ (FANDOM MARKETING) เป็นรูปแบบการตลาดประเภทหนึ่งที่ต้องมีความเข้าใจพฤติกรรมและความต้องการของกลุ่มเป้าหมายค่อนข้างสูง เพราะธุรกิจแต่ละประเภทจะมีฐาน Fanbase ที่มีลักษณะนิสัยที่แตกต่างกัน เราไม่สามารถนำพฤติกรรมของฐานแฟนของธุรกิจหนึ่งไปใช้กับธุรกิจหนึ่งได้โดยตรง เราจะต้องผสมผสานระหว่างการใช้เทคโนโลยี (Technology) กับศิลปะ (Art) และความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) ในการออกแบบสินค้าและบริการเพื่อให้การขายไม่เป็นการขายเหมือนกลุ่มเป้าหมายปกติ แต่เป็นการสร้างคุณประโยชน์หรือตอบโจทย์แฟนคลับและเป็นการเชื่อมความสัมพันธ์อันดีระหว่างคน แบรนด์ องค์กร กับลูกค้าที่เป็นฐานแฟนของตน ให้เกิด Brand Love & Brand Loyalty และเกิดความยั่งยืนขึ้นในอนาคต” - นายนิธิภัทร์ พาณิชชัยวิวัฒน์ กล่าว

นอกจากการทำการตลาดกับกลุ่มแฟนคลับ (FANDOM MARKETING) ที่กำลังเติบโตอย่างก้าวกระโดดแล้ว ธุรกิจที่เกี่ยวกับแฟนคลับ (FANDOM BUSINESS) ก็เติบโตขึ้นเช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจที่เป็น Content Provider ธุรกิจ Media & Entertainment หรือ Artist Management รวมไปถึงธุรกิจแบรนด์หรือองค์กรระดับโลกที่เป็นผู้นำตลาดอย่าง Telecommunication , FMCG , Bank & Insurance , หรือกลุ่ม Education ที่เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของเมืองไทย เป็นต้น

ตัวอย่างกรณีศึกษาของบริษัท Digital Intelligence (DI) ที่น่าสนใจได้แบ่งรูปแบบประเภทของการให้บริการ FANDOM MARKETING ไว้ 6 รูปแบบ ดังนี้

1.FAN-COMMERCE SERVICE
ตัวอย่างกรณีศึกษาของบริษัท นาดาว บางกอก (Nadao Bangkok) ที่จัดอยู่ในธุรกิจ Artist Management ที่ต้องบริหารจัดการแฟนคลับมีความต้องการที่จะสร้าง E-Commerce Website ของตัวเองเพื่อที่จะตอบสนองความต้องการของแฟนคลับผ่านการขายสินค้าศิลปินบนโลกออนไลน์ที่สามารถให้แฟนคลับทั่วโลกทั้งในประเทศและต่างประเทศเข้าถึงได้ DI จึงได้ออกแบบเว็บไซต์ที่สามารถ Scale และ Integrate ระบบการจัดการสินค้าเชื่อมกับระบบการจ่ายเงิน (Online Payment Gateway) พร้อมกับเชื่อมระบบ Fulfillment เพื่อจัดการคำสั่งซื้อจากทั่วโลกเพื่อส่งของไปยังผู้ซื้อแบบอัตโนมัติ โดยมี Dashboard และระบบ Data Studio ที่แสดงยอดขาย สินค้าขายดี ที่จะสามารถนำไปใช้ในการพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดและธุรกิจรวมถึงการให้บริการที่ตอบโจทย์แฟนคลับได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

2.FAN-OTT SERVICE
ตัวอย่างกรณีศึกษาของช่องทีวีชั้นนำอย่างช่อง ONE 31 และ GMM 25 ที่ DI เข้าไปออกแบบโครงสร้างและวางระบบของการเป็น Online Television Platform ทั้งในส่วน Website และ Application รวมถึง Solution ที่เป็นระบบ Live Streaming ที่ต้องรองรับแฟนละคร แฟนซีรีย์ แฟนเพลง ทั้งในและต่างประเทศที่เข้ามาดูพร้อมกัน (Concurrent User) มากกว่า 500,000 คนทั่วโลก อีกทั้งยังสร้างระบบการจัดเก็บข้อมูลความชอบ (User Preference) รวมถึง ข้อมูลเชิงลึกของผู้ชม (User Insight) รวมถึงการ Integrate กับหลากหลาย Solution ที่ต้องเชื่อมกับแพลตฟอร์มออนไลน์ระดับโลกต่างๆ อาทิ YouTube , Facebook เป็นต้น

นอกจากนี้ยังเพิ่มระบบการจัดการป้องกันข้อมูลรั่วไหล (Data Security) และระบบการป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ในรูปแบบ DDoS เพื่อรองรับการให้บริการเต็มประสิทธิภาพและป้องกันการล่มของเซิร์ฟเวอร์

3.FAN-MANAGEMENT SERVICE
ตัวอย่างกรณีศึกษาของบริษัทธุรกิจสื่อบันเทิงชั้นนำของไทยอย่าง Nine Entertain ที่ DI เข้าไปช่วยพัฒนาระบบการสร้างรายได้ใหม่ (Monetization) จากเดิมธุรกิจไนน์เอ็นเตอร์เทนที่ปกติจะมีการจัดพิธีประกาศรางวัลให้กับศิลปินดารานักแสดงทุกปีและจะได้รับรายได้จากการเปิด Vote ผ่าน SMS ช่องทางเดียวเท่านั้น อีกทั้งยังไม่สามารถรับรู้ได้เลยว่าคนที่โหวตเข้ามาเป็นใครมาจากไหน มีพฤติกรรมความชอบต่อศิลปินดาราที่พวกเขาชื่นชอบอย่างไร DI จึงได้พัฒนาออกแบบระบบให้เป็นระบบ Digital Voting ผ่าน Entertainment News Application เปลี่ยนทุกการ Vote ให้เป็นเรื่องสนุก ทำได้ง่าย สามารถได้ตั๋ว Vote จากการเข้ามา Engage กับแบรนด์สปอนเซอร์หรือเข้ามา Active ในแพลตฟอร์มผ่านการ Register ข้อมูลของคนที่เข้ามาให้สามารถรองรับ Global Fanclub และสามารถให้แฟนคลับจากทั่วโลกเข้ามามีส่วนร่วมในการโหวตรวมถึงกิจกรรมต่างๆ ทำให้เกิดการเชื่อมโยงและเกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างศิลปินดาราและแฟนคลับ นอกจากนี้ยังสามารถจัดอันดับแฟนคลับหรือ Ranking Top Voter เพื่อก่อให้เกิดระบบ Ecosystem วางรากฐานและยกระดับวงการบันเทิงให้มีความยั่งยืนในระยะยาวอีกด้วย

4.FAN-SPACE SERVICE
ตัวอย่างกรณีศึกษาของมหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศไทย ที่มุ่งเน้นในเรื่องของการสร้างรากฐานและความยั่งยืนให้กับอุตสาหกรรมด้านศิลปะ ดนตรีและงานความคิดสร้างสรรค์ ได้มีวิสัยทัศน์ที่จะสนับสนุน “การสร้างระบบนิเวศ (Ecosystem) ในการยกระดับอุตสาหกรรม” ผ่านการสร้างและพัฒนาแพลตฟอร์มพื้นที่ (Space) หรือแพลตฟอร์มออนไลน์กลางขึ้นเพื่อให้ศิลปิน นักศึกษา บุคคลทั่วไปสามารถสร้าง Portfolio และมีช่องทางจำหน่ายที่เป็น Market Place เพื่อรองรับการขาย รวมถึงมีระบบการจัดการเนื้อหาคอนเทนท์คุณภาพที่เป็น Original Creative Knowledge Content ของทางมหาวิทยาลัยเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ให้กระจายสู่วงกว้างมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังมีระบบ Exhibition Booking ที่สามารถเชื่อมต่อระหว่างตัวศิลปินและแฟนคลับหรือคนที่สนใจในด้านนี้เพื่อที่จะจองตั๋วในการเข้างานนิทรรศการที่จะเกิดขึ้นในโอกาสสำคัญต่างๆ

5.FAN-VOTING SERVICE
ตัวอย่างกรณีศึกษาของ Seoul Music Awards (SMA) องค์กรสื่อเอ็นเตอร์เทนเมนต์ยักษ์ใหญ่จากประเทศเกาหลีใต้ โดย DI ได้เป็นบริษัทตัวแทนของทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (South East Asia)ในการจัดทำ Voting Application เป็นแอพที่สร้างมาเพื่อจัดทำระบบการโหวตเพื่อสร้างรายได้ของศิลปินเกาหลีและแฟนคลับฐาน K-Pop ที่อยู่ทั่วโลกเพื่อให้แฟนคลับสามารถเข้ามามีส่วนร่วมและผลักดันศิลปินที่ตนเองชื่นชอบให้ประสบความสำเร็จผ่านช่องทางนี้

6.FAN-LIVE SERVICE
ตัวอย่างกรณีศึกษาของบริษัทของศิลปิน Kang Daniel ที่มีความประสงค์จัดทำ Global Live Fan Meeting เป็นครั้งแรกผ่านการ Live Streaming สดจากประเทศเกาหลีใต้ไปทั่วโลก ซึ่งทางลูกค้าเราต้องการเผยแพร่การไลฟ์สดครั้งนี้ในประเทศไทยเราจึงได้ทำ Solution ระบบ Live สดรวมทั้งระบบจองตั๋ว (Ticket Booking) เพื่อรองรับการเผยแพร่ครั้งนี้พร้อมกับการทำ Real-Time Interactive Activity กับแฟนคลับรวมถึงการจัดเก็บ VDO หรือ Video On Demand เพื่อนำไปใช้ดูย้อนหลังแบบเต็มหรือนำไปลงในแพลตฟอร์มอื่นๆ ต่อไป

นอกจากตัวอย่างจากบริการดังกล่าวข้างต้น ล่าสุดบริษัท Digital Intelligence ได้ร่วมมือเป็น Technology Partner กับ Alibaba Cloud บริษัทคลาวด์ยักษ์ใหญ่อันดับ 3 ของโลกที่จะมายกระดับ Cloud Computing Technology และให้บริการพร้อมอำนวยความสะดวกควบคู่ไปกับการสร้างความยั่งยืนให้กับภาคธุรกิจทุกระดับในประเทศไทย

Digital Intelligence (DI) – “Technology Enhances Creativity”
We provide Turnkey Development Digital Platform Solutions and innovative business-driven IT solutions that drive growth.

สนใจติดต่อ : clientservice@dintelligence.asia
For more information : www.digitalintelligence.asia