SEAProTI เดินหน้าขับเคลื่อนแวดวงนักแปลและล่ามวิชาชีพกับภาครัฐ เอกชน และภาคประชาสังคม

ความสำเร็จของ SEAProTI คือการมีส่วนร่วมกับภาคเอกชน ภาครัฐ และภาคประชาสังคม
   สมาคมวิชาชีพนักแปลและล่ามแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asian Association of Professional Translators and Interpreters - SEAProTI) จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2564 และมุ่งมั่นสร้างประโยชน์ให้กับนักวิชาชีพของสมาคมวิชาชีพ รวมถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เช่น องค์กรเอกชน หน่วยงานรัฐ และองค์กรภาคประชาสังคมต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ และท้ายที่สุดก็ช่วยส่งเสริมแวดวงการแปลและล่ามวิชาชีพให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งมีพันธกิจหลักคือเน้นผลิตบุคลากรด้านการแปล การรับรองการแปล และการล่ามวิชาชีพ ให้ทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และนอกภูมิภาค เพื่อสร้างมาตรฐานให้กับนักวิชาชีพเหล่านี้ และสร้างความน่าเชื่อถือให้กับองค์กรต่าง ๆ เมื่อใช้เอกสารการแปล เอกสารรับรองคำแปลถูกต้อง และการทำล่ามวิชาชีพ

พัฒนาการของสมาคมวิชาชีพ SEAProTI
   ในปี 2564 ชมรมนักแปลและล่ามอาชีพ (Professional Translators and Interpreters Society – PTIS) จัดตั้งขึ้นโดยมีกรรมการและสมาชิกผู้ก่อตั้ง ได้แก่ คุณวณิชชา สุมานัส นายกสมาคมวิชาชีพนักแปลและล่ามแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, คุณปรีชา วิภวศุทธิ์ ผู้ไกล่เกลี่ยและผู้ประนอมข้อพิพาทของศาล และอนุญาโตตุลาการ สังกัดหน่วยงานกิจการยุติธรรมทั้งในและต่างประเทศ, คุณ ณ. เณร จันทร์เปล่ง ผู้ไกล่เกลี่ยและผู้ประนอมข้อพิพาทของศาล และอนุญาโตตุลาการ และคุณกฤษนัย ชาตะสุภณ ผู้ไกล่เกลี่ยและผู้ประนอมข้อพิพาท สังกัดกระทรวงยุติธรรม รวมถึงสมาชิกกิตติมศักดิ์และที่ปรึกษากิตติมศักดิ์อื่น ๆ ในสายงานแปลและล่าม สายงานยุติธรรม และสายงานการแพทย์และสาธารณสุข  

สมาชิกของสมาคมวิชาชีพ SEAProTI
   ในปี 2565 สมาคมวิชาชีพฯ มีการสอบวัดระดับนักแปลและล่ามวิชาชีพ ระดับ 2 และระดับ 3 และมีผู้ขึ้นทะเบียนเป็นนักแปล ผู้รับรองการแปล และล่ามรับรอง ที่ผ่านเกณฑ์และประมาณ 10 คน สำหรับปี 2566 นักแปลรับรองและขึ้นทะเบียนแล้ว ได้แก่ คุณปาณิศา โชติษฐยางกูร นักแปลวิชาชีพระดับ 2 (ปว.2), คุณวณิชชา สุมานัส นักแปลวิชาชีพระดับ 3 (ปว.3), คุณสลิล มุสิกรังสี นักแปลวิชาชีพระดับ 1 (ปว.1), และคุณปีย์มนัส เกตุกั้น นักแปลวิชาชีพระดับ 1 (ปว.1) สำหรับล่ามรับรองและขึ้นทะเบียนแล้ว ได้แก่ คุณวณิชชา สุมานัส ล่ามวิชาชีพระดับ 3 (ลว.3), คุณณัฐชนันท์ นิธิรุ่งเรือง ล่ามวิชาชีพระดับ 3 (ลว.3) และคุณชาคริต พิมพ์กลัด ล่ามวิชาชีพระดับ 3 (ลว.3) และคุณผกาพรรณ รัตนวาวี ล่ามวิชาชีพระดับ 1 (ลว.1)

   สำหรับปีนี้ เราได้รับเกียรติจากสมาชิกกิตติมศักดิ์หลายท่าน มาเข้าร่วมเป็นที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ และช่วยขับเคลื่อนสมาคมวิชาชีพของเราด้วย ได้แก่ ผศ.นพ.ดร.ณตพล ศุภณัฐ เศรษฐกุล อาจารย์จากภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, คุณมนัสนันท์ ดำรงธรรม ผู้ไกล่เกลี่ยดีเด่นจากภาค 2, คุณนพมาศ ธรรมธีรเดโช อนุญาโตตุลาการ สังกัดสถาบันอนุญาโตตุลาการ ศาลยุติธรรม, คุณจันจิรา จริงศุภธาดา นักแปลที่มีประสบการณ์สูง แปลเอกสารด้านทรัพย์สินทางปัญญามากว่า 20 ปี, ท่านนาคาเทพ คำขันตี นักธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์ และท่านไพรัตน์ แสงสีดำ กรรมาธิการด้านแรงงาน จากรัฐสภาไทย และนอกจากนี้ สมาคมวิชาชีพฯ ยังมีสมาชิกที่เป็นนักวิชาชีพด้านการแปล ผู้รับรองการแปล และล่าม จากนอกราชอาณาจักรกว่า 30 คน ที่พร้อมจะช่วยกันขับเคลื่อนองค์กรไปด้วยกัน

ทำไมต้องเป็นนักแปลและล่ามรับรองด้วยองค์กรที่ 3
   นักแปลรับรอง (Certified Translator) ของสมาคมวิชาชีพมีบทบาทสำคัญในตลาดแปลเอกสาร ที่จำเป็นต้องใช้ความถูกต้องและแม่นยำในการแปลที่สูง เพื่อให้เอกสารที่นำไปใช้นั้นได้รับความไว้วางใจในทางธุรกิจ และแวดวงราชการ นอกจากนี้เอกสารแปลที่รับรองโดยผู้รับรองการแปลของสมาคมวิชาชีพยังช่วยให้ผู้ใช้ทุกระดับมั่นใจได้ว่าเป็นเอกสารที่แปลจากต้นจริง หรือสำเนาจริงจากต้นฉบับ สำหรับล่ามรับรอง (Certified Interpreter) ของสมาคมวิชาชีพก็มีบทบาทสำคัญในตลาดล่ามด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะล่ามด้านการแพทย์และกฎหมาย และสายงานเฉพาะทางอื่น ๆ ที่จะทำให้ลูกค้าได้รับความไว้วางใจสูงสุด
   ปัจจุบันมีนักแปลและล่ามจำนวนมากไม่ได้รับการฝึกอบรม จะเห็นได้ว่า เอกสารมีการแปลโดยความหมายที่ปรับเปลี่ยน มีการตัดข้อความและแปลเกินเข้ามา ดังนั้น ปัญหาเหล่านี้จะจบลงได้ หากนักแปลและล่ามได้รับการอบรมในหลักสูตรที่มีมาตรฐานสากล มีแนวทางปฏิบัติไปในทิศทางเดียวกัน และได้รับการรับรองจากองค์กรที่ 3

พันธกิจของสมาคมวิชาชีพ SEAProTI จนถึงปัจจุบัน
   นอกจากจะผลิตบุคลากรด้านการแปล ผู้รับรองการแปล และล่ามวิชาชีพแล้ว สมาคมวิชาชีพฯ ยังรู้สึกภูมิใจที่เราได้เดินหน้าจัดทำการรับรองมาตรฐานวิชาชีพให้กับนักวิชาชีพที่เกี่ยวข้องแล้ว มีนักวิชาชีพของเราได้มีการปฏิบัติงานจริง ใช้ตราประทับนักแปลของสมาคมวิชาชีพฯ เราได้จริง และปฏิบัติหน้าที่ล่ามในงานทางการ กระบวนการยุติธรรม และด้านการแพทย์ รวมถึงอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวเนื่องและเกี่ยวพัน
   ในต้นปี 2566 ข่าวดีคือสมาคมวิชาชีพฯ ได้รับการรับรองให้เป็นองค์กรรับรองในการจัดทำมาตรฐานวิชาชีพ รับรองหลักสูตรการอบรมที่เกี่ยวข้อง และออกใบอนุญาตให้ปฏิบัติหน้าที่ในนามสมาคมวิชาชีพฯ โดยองค์กรที่ชื่อว่า The CPD Certification Service จากประเทศอังกฤษ และในปี 2566 เป้าหมายของเราอีกประกาศคือการจดเครื่องหมายรับรองมาตรฐานการแปล และการล่าม จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ และกำลังจะจดเพิ่มเติมในหน่วยงานที่ทำหน้าที่เดียวกันในประเทศต่าง ๆ

Passion ของนักวิชาชีพของสมาคมวิชาชีพฯ
   สมาคมวิชาชีพฯ มุ่งมั่นที่จะสร้างนักแปล ผู้รับรองการแปล และล่ามวิชาชีพ ให้ปฏิบัติหน้าที่และได้รับการยอมรับในระดับสากล ทุกอย่างย่อมต้องค่อย ๆ พัฒนากันไป โดย มกราคม 2566 สมาคมวิชาชีพฯ เปิดหลักสูตรล่ามประชุมรับรอง รุ่นที่ 1 โดยเน้นเนื้อหาทางธุรกิจทางการ โดยหวังว่า ล่ามเหล่านี้จะเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนกิจกรรมและธุรกิจต่าง ๆ ให้เดินหน้า และพัฒนาเศรษฐกิจทั้งของตัวเองและของประเทศ

เดินหน้าไม่หยุดกับกิจกรรมพัฒนาวิชาชีพ
   สำหรับปี 2566 นอกจากเราจะเสริมศักยภาพด้านการรับรองคุณภาพนักแปล ผู้รับรองการแปล และล่ามวิชาชีพแล้ว เรายังมีแผนสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อให้ได้พื้นที่ได้ทดลองงานจริง และจะช่วยสร้างประสบการณ์ที่มีค่าให้กับนักวิชาชีพของเรา และเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรม CSR ซึ่งนอกจากนักวิชาชีพของเราจะได้สร้างประโยชน์ให้กับสังคมแล้ว สังคมก็ยังได้ประโยชน์กลับคืนจากเราเต็มที่
   แม้สมาคมวิชาชีพฯ จะมีนักวิชาชีพเป็นสมาชิกทั้งหมด แต่ก็ต้องมีงานวิชาการของตัวเองมารองรับ สมาคมวิชาชีพฯ ส่งเสริมให้สมาชิกทำวิจัย ค้นคว้า นำเสนอทฤษฎี หลักการ รวมถึงองค์ความรู้ใหม่ ๆ มาช่วยพัฒนาวิชาชีพให้ดีขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น และนักวิชาชีพก็จะได้รับการส่งเสริมให้ร่วมนำเสนองานวิจัยในเวทีต่างประเทศ ตีพิมพ์บทความในสื่อต่าง ๆ ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้ นักวิชาชีพของเราสามารถเก็บแต้ม CPD และนำมาต่ออายุสมาชิกภาพของนักวิชาชีพได้

เก็บแต้ม CPD สำคัญต่อการพัฒนาวิชาชีพอย่างไร
   การเก็บชั่วโมง CPD คือการเก็บชั่วโมงพัฒนาความรู้ต่อเนื่องสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพ นั่นหมายความว่าหากเราขึ้นทะเบียนเป็นประกอบวิชาชีพเรียบร้อยแล้ว ในแต่ละปีปฏิทินเราจะต้องเก็บชั่วโมง CPD ไม่น้อยกว่า 10 ชั่วโมง หากไม่เก็บชั่วโมงให้ครบถ้วน ก็อาจจะทำให้เราขาดคุณสมบัติการเป็นผู้ประกอบวิชาชีพตามที่ระเบียบภายในของสมาคมวิชาชีพกำหนด และจะถูกคัดชื่อออกจากระบบสมาชิกในปีถัดไปเนื่องจากเรามีการคัดคนทุกปี สุดท้ายแล้วเมื่อผู้ประกอบวิชาชีพนักแปล ผู้รับรองการแปล และล่ามตัดสินใจเริ่มอบรม CPD แล้ว การลงทุนในการศึกษาย่อมให้ประโยชน์ต่อตัวนักวิชาชีพเสมอ

ประโยชน์ในการเป็นนักวิชาชีพของ SEAProTI และเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของสมาชิกของเรา
   SEAProTI เป็นสมาคมวิชาชีพที่ปกป้องและดูแลประโยชน์ของ “นักวิชาชีพของ SEAProTI” และ “ผู้ใช้ของ SEAProTI” ให้สามารถทำงานร่วมกันได้และผสานประโยชน์ร่วมกันให้ได้มากที่สุด และการได้เข้ามาเป็นสมาชิกจะช่วยเปิดโลกให้กับสมาชิกทุกคนเป็นอย่างมาก จากโลกที่ไม่เคยมีใครได้รู้จักหรือรู้มาก่อนว่า ทำอะไรกัน หรือทำหน้าที่อย่างไร สมาคมวิชาชีพก็เป็นตัวกลางในการเชื่อมโยงผู้รู้ ผู้ประกอบการและนักวิชาชีพที่อยู่ในแวดวงมานาน มาช่วยให้ความรู้ร่วมกัน และนอกจากนี้ ทางสมาคมวิชาชีพยังร่วมมือกับภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็นการช่วยเหลือประชาชน การฝึกอบรม ฯลฯ เพื่อเพิ่มศักยภาพของของสมาชิกของเราอีกด้วย

   สำหรับท่านใดที่กำลังประกอบวิชาชีพนักแปลและล่าม โดยมีตำแหน่งนักแปลและล่าม หรือเกี่ยวข้อง เกี่ยวเนื่องและเกี่ยวพัน และมีผลสอบภาษาในระดับสากล ขอเชิญให้ท่านมาร่วมอบรมกับทางสมาคมวิชาชีพในหลักสูตรที่ท่านต้องการสอบขึ้นทะเบียน และมาร่วมกันขับเคลื่อนแวดวงนี้ในภูมิภาคร่วมกันกับ SEAProTI

Facebook : https://www.facebook.com/SEAProTIEnglish