แม้ว่า "ความตาย" จะเป็นธรรมชาติของชีวิตทุกชีวิต แต่คนในปัจจุบันกลับเผชิญหน้ากับความตายได้ยากลำบากมากขึ้นกว่าคนรุ่นก่อนๆ ซึ่งก็เกิดจากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะครอบครัวในสมัยนี้เป็นครอบครัวเล็ก คนป่วยส่วนมากมักเสียชีวิตที่โรงพยาบาลจึงไม่เกิดความคุ้นชินที่จะเห็นความตายได้บ่อยนัก และการที่มีวิทยาการทางการแพทย์เข้ามาทำให้สามารถยืดชีวิตให้กับผู้ป่วยแต่การยื้อชีวิตผู้ป่วยโดยใช้เทคโนโลยต่างๆ นั้น บางครั้งกลับเป็นการเพิ่มความทรมานแก่ผู้ป่วยในเวลาที่เหลืออยู่ ยิ่งเทคโนโลยีมีความก้าวหน้ามากเท่าไหร่ การตัดสินใจเรื่องการรักษาพยาบาลก็ถูกมองว่าเป็นหน้าที่ของผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์มากขึ้น จนบางครั้งก็มองข้ามความจริงที่ว่าผู้ป่วยแต่ละคนควรมีส่วนร่วมในการตัดสินใจแนวทางการรักษาของตนเอง เนื่องจากแต่ละคนก็มีความเชื่อ ค่านิยม และบริบทอื่นๆ ของชีวิตที่แตกต่างกัน วันนี้เรามาฟังบทสัมภาษณ์ของ นายแพทย์ ปุณณภพ เอมสิริรัตน์ จาก อายุวัฒน์ ฮอสพิซ แอนด์ รีแฮบ ผู้เชี่ยวชาญการดูแลผู้ป่วยประคับประคอง Q : ผู้ป่วยประคับประคองคืออะไร?A : คือผู้ป่วยตอนที่วินิจฉัยว่าเป็นโรคที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตเป็นอย่างมาก ไม่สามารถรักษาให้หายขาด ส่งผลให้ร่างกายและสภาพจิตใจถดถอยลงตามสภาพของตัวโรคและมีโอกาสเสียชีวิตจากโรคที่เป็นอยู่สูง โดยปกติเราจะเริ่มการดูแลผู้ป่วยประคับประคองตั้งแต่วินิจฉัยว่าเป็นโรค ควบคู่กันไปกับการดูแลรักษาหลัก เพื่อดูแลทั้งตัวโรคและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยไปพร้อมกัน ทั้งนี้ยังรวมไปถึงการดูแลผู้ป่วยในวาระสุดท้ายของชีวิต Q : ผู้ป่วยกลุ่มใดบ้างที่ควรได้รับการดูแลแบบประคับประคอง?A : ความเข้าใจในหลายๆ คนคิดว่า การดูแลประคับประคองจะต้องทำในผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายเท่านั้น ซึ่งจริงๆ เราสามารถแบ่งผู้ป่วยที่ควรได้รับการดูแลแบบประคับประคองออกเป็น 2 กลุ่มโรคหลักๆ คือ 1.กลุ่มโรคมะเร็ง และ 2.กลุ่มที่ไม่ใช่โรคมะเร็ง ก็คือโรคเรื้อรังที่มีผลต่ออวัยวะนั้นทำให้อวัยวะนั้นเสื่อมถอยไปเรื่อยๆ ตามกาลเวลา เช่น โรคสมองเสื่อม(Dementia) โรคพาร์กินสัน โรคถุงลมโป่งพอง (COPD) โรคตับแข็งระยะสุดท้าย(End-stage liver disease) โรคไตวายเรื้อรัง (End-stage renal disease) Q : หลักการของการดูแลผู้ป่วยในระยะประคับประคองคืออะไร?A : จะมุ่งเน้นที่การดูแลคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเป็นหลัก โดยมีองค์รวมครอบคลุมทุกมิติของสุขภาพอันได้แก่ กาย ใจ สังคม และจิตวิญญาณของผู้ป่วย ทั้งนี้เป้าหมายหลักของการดูแลคือ การบรรเทาความเจ็บปวด ทุกข์ทรมาน และเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย รวมทั้งยังดูแลครอบครัวของผู้ป่วยที่จะต้องเผชิญกับความโศรกเศร้าและสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก เพื่อทำให้ผู้ป่วยได้เสียชีวิตอย่างสงบหรือ การ “ตายดี”นั่นเอง Q : จะทราบได้อย่างไรว่าผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการดูแลแบบประคับประคองA : กลุ่มผู้ป่วยกลุ่มแรกคือกลุ่มโรคมะเร็งที่อยู่ในระยะลุกลามหรือระยะสุดท้าย ที่การรักษาหลักไม่สามารถช่วยเหลือผู้ป่วยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้อีก และกลุ่มที่สองคือกลุ่มโรคเรื้อรังที่อวัยวะเสื่อมถอยที่อยู่ในระยะท้ายที่มีการเข้าออกโรงพยาบาลบ่อยครั้งเนื่องจากภาวะแทรกซ้อนหรือการติดเชื้อจากอวัยวะที่เสื่อมถอยลง Q : ประสบการณ์การดูแลประคับประคองที่ผ่านมาA : ตลอด 4 ปีที่ผ่านมา เราได้รับความไว้วางใจในการดูแลผู้ป่วยมากกว่า 500 ครอบครัว เพื่อให้เป็นบ้านหลังสุดท้ายของผู้ป่วย Q : ปัญหาที่พบเจอบ่อยๆ ในการดูแลประคับประคองและวิธีการแก้ปัญหาA : เรื่องความรู้ความเข้าใจการดูแลประคับประคองของตัวผู้ป่วยและญาติ เนื่องจากเข้าใจว่าการดูแลประคับประคองเป็นการปล่อยให้ผู้ป่วยตายไปโดยไม่ทำอะไรเลย ซึ่งทางทีมต้องให้ความเข้าใจในตัวโรค รวมทั้งให้ความมั่นใจในการดูแลว่าจะดูแลเพื่อบรรลุเป้าหมายของผู้ป่วยและญาติ Q : ให้กำลังใจ ผู้ป่วยแบบประคับประคอง ครอบครัว เคล็ดลับเพิ่มกำลังใจA : หมออยากจะบอกว่าปัญหาทุกอย่างมีทางออกเสมอ สามารถปรึกษาทีมประคับประคองเราได้ ขอให้เปิดใจในการที่จะฟัง แล้วก็ช่วยเหลือในการแก้ปัญหาหาทางออก และเพื่อสิ่งสำคัญที่สุดคือเพิ่มคุณภาพชีวิตของคนไข้ จริงๆ แล้วทุกโรงพยาบาลใหญ่ๆ ในประเทศไทยตอนนี้จะมีคลินิกตรงนี้อยู่ แม้กระทั่งโรงพยาบาลหรือชุมชนก็มี เมื่อท่านมีความทุกข์ทนหรือมีผู้ป่วยระยะสุดท้าย สามารถไปปรึกษาได้ตามโรงพยาบาลต่างๆ ได้ หากคุณกังวลว่าจะดูแลผู้ป่วยที่อยู่ในระยะประคับประคองอย่างไรดี สามารถปรึกษา อายุวัฒน์ ฮอสพิซ แอนด์ รีแฮบ ศูนย์การแพทย์ผู้สูงอายุ รับดูแลผู้ป่วยติดเตียง ผู้ป่วยพักฟื้นโดยแพทย์ พยาบาลวิชาชีพ และนักกายภาพบำบัดที่มีประสบการณ์ด้านการดูแลโดยตรง ตลอด 24 ชม. ทั้งระยะสั้น ระยะยาว รูปแบบเนอร์สซิ่งโฮมระดับพรีเมียม บริการดูแลหลังผ่าตัดการฟื้นฟูสมรรถภาพ บริการดูแลผู้ป่วยที่มีปัญหาเฉพาะด้านหรือหลังออกจากโรงพยาบาล สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่...Facebook : อายุวัฒน์ nursing home ดูแลผู้สูงอายุ ผู้ป่วย ติดเตียง คนแก่ หลงลืม พระราม2Line : @aryuwatWebsite : www.aryuwatnursinghome.comTel : 099 424 4566