“StartUPเพื่อสังคม” ลุยเฟสแรก >> สนับสนุนการแพทย์และสาธารณสุข (Metaverse DOCTOR) : ลดช่องว่างทางการศึกษาและสาธารณสุข ด้วยการสร้างความร่วมมือทางเทคโนโลยีเพื่อสังคมที่ยั่งยืนไปกับ “เมตาเวิร์ส.com” เนื่องในวันอานันทมหิดล 9 มิถุนายน วันพระบิดาแห่งการแพทย์ไทย จึงอยากนำเสนอเรื่องดีงามเพื่อสังคมการศึกษาและวงการแพทย์ จากหลายปีที่ผ่านมา เราได้เห็นทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษาไทยสำหรับเยาวชนและวัยทำงานกันมากขึ้น ภาครัฐมีการพัฒนาหลักสูตรใหม่ๆ ผลักดันการเรียนทางไกล ส่วนภาคเอกชนและสตาร์ทอัพเองก็นำเสนอทางออกใหม่ๆ รวมทั้ง EdTech ที่ใช้เทคโนโลยีมาแก้ไขปัญหาทางการศึกษา อย่างไรก็ตาม ทางออกเหล่านี้ยังมีข้อจำกัดต่างๆ มากมายที่ส่งผลให้ผลลัพธ์ยังไม่มากเท่าที่คาดหวัง เราจึงต้องการ ‘สตาร์ทอัพเพื่อสังคม’ เพื่อมาเป็นกุญแจสำคัญในการลดความเหลื่อมล้ำ พร้อมพัฒนาการศึกษาไทยไปให้ได้ไกลยิ่งขึ้นกว่าเดิม “StartUPเพื่อสังคม” ในชื่อทีม “เมตาเวิร์ส.com” จะสร้างสรรค์ผลลัพธ์ทางสังคม มีจุดยืนในการสร้างนวัตกรรมเพื่อสังคมที่จะไม่แสวงหากำไรเป็นหลัก และไม่ยุ่งเกี่ยวทางการเมือง โดยวัดการเติบโตจากการที่สังคมนำเทคโนโลยีไปประยุกต์ใช้จนเกิดประโยชน์ให้สามารถแก้ปัญหาใหม่ๆ ที่ไม่เคยมีอยู่ทางสังคมในวงกว้างมากขึ้น นับตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2564 “คุณวงพจน์ ดูการณ์” ผู้ร่วมก่อตั้ง Metaverse-Expert.Net ทีม StartUP ด้านการศึกษา ที่เชี่ยวชาญเทคโนโลยี AR, VR และ Ai ใน Metaverse ก็ได้เริ่มผลักดันแนวคิด “สตาร์ทอัพเพื่อสังคม” ซึ่งเป็นเทคโนโลยีโลกเสมือนจริง ไม่ว่าจะเป็นทั้งในด้าน Hardware หลักสูตรประยุกต์ใช้ความเป็นจริงเสริม (AR) ความเป็นจริงเสมือน (VR) และ Metaverse มากกว่า 20 หลักสูตร และเปิดหลักสูตรปัญญาประดิษฐ์บน Metaverse เป็นเจ้าแรกของประเทศไทย รวมถึงทำโครงการCorporate Social Responsibility(CSR) ซึ่งเป็นกิจกรรมเพื่อสังคมและสนับสนุนเทคโนโลยีการศึกษา โดยโครงการที่ผ่านมา เช่น ‘1 โรงเรียนมัธยม 1 ชมรม Metaverse’ , ‘VR.e-sport’ และ 'CSR เพิ่มทักษะAi.ให้วิชาชีพครู’ เป็นต้น โดยมีการฝึกอบรมแล้วมากกว่า 50 หน่วยงานสถานศึกษา และออกสาธิตให้หน่วยงานของรัฐที่แจ้งความประสงค์เข้ามาเพื่อขอความร่วมมือ รวมถึงโครงการสนับสนุนพระพุทธศาสนา “BuddhaVERSE” คุณวงพจน์ ดูการณ์ ให้สัมภาษณ์ว่า “StartUPเพื่อสังคม หรือ Social Startup บ้างก็เรียกว่า Social Impact Startup เป็นอุดมการณ์ของทีมฯ ที่ได้แรงบันดาลใจจากในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ทรงทุ่มเทพระวรกายทั้งในด้านพระสติปัญญาและความมุ่งมั่นที่จะแก้ปัญหาต่างๆ ให้กับประชาชนชาวไทย พระอัจฉริยภาพด้านการประดิษฐ์ของพระองค์เป็นที่ประจักษ์ จนองค์กรการประดิษฐ์นานาชาติ (IFIA) ถวายพระราชสมัญญาว่าเป็น ‘พระบิดาแห่งการประดิษฐ์โลก’ จึงขอน้อมรำลึก ‘พระราชดำริและแนวคิด’ ในหลวง รัชกาลที่ 9 พระราชทานไว้ให้คนไทย มาเป็นแนวทางของ “เมตาเวิร์ส.com” ทีม Social Startup ที่มุ่งแก้ปัญหาใหม่ๆ ที่ไม่เคยมีอยู่ด้วยนวัตกรรม” ในส่วน Timeline ของเมตาเวิร์ส.com ขอบอกว่าน่าสนใจมาก มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว เริ่มจากปี 2564 ต่อยอดเทคโนโลยี Virtual 3D จาก VR.games เป็นหลักสูตร Workshop บน Metaverseปี 2565 ออกสาธิตให้ความรู้และให้ปรึกษาด้าน Metaverse (หลังสถานการณ์ Covid คลี่คลาย) ปี 2566 สร้างความร่วมมือกับ “ปัญญาประดิษฐ์.com” : ทีม StartUP ด้าน Artificial intelligence(AI) ที่ให้ความสำคัญกับกิจกรรมเพื่อพัฒนาสังคมและการศึกษา สร้าง“StartUPเพื่อสังคม” เช่นกัน ทีม “StartUPเพื่อสังคม” ต้องการ Developerอาสาสมัคร ในขณะนี้กำลังเปิดรับนักพัฒนาสายโปรแกรมเมอร์และสายกราฟฟิค 3D ร่วมมือกันสร้างโลกในอุดมคติไปด้วยกัน เพื่อเป็น “Dev.อาสาสมัคร” ช่วยกันขับเคลื่อนตามกำลังความสามารถและแรงบันดาลใจ โดยทีม “เมตาเวิร์ส.com” จะผลักดันงานเทคโนโลยีเพื่อสังคมโลกเสมือน แบ่งงานคนละไม้คนละมือให้เกิดโลกเสมือนจริงที่เป็นประโยชน์ สร้าง Eco system ในอุดมคติ สนับสนุนการดำรงอยู่ของสังคมมนุษย์ที่จะได้เข้าถึงบริการทางสังคม บริการสาธารณสุข และได้โอกาสเข้าถึงการเรียนรู้พัฒนาตัวเอง ใน “เมตาเวิร์ส.com” อย่างเสมอภาคและเท่าเทียม ปรับทิศสอดคล้องกับกระแสของเทคโนโลยีของ Big Tech company ผู้กำหนดเทรนด์นวัตกรรมของโลกอย่าง Meta Platforms Inc., Google Microsoft Apple และ ByteDance ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของ TikTok ที่มุ่งแข่งขันความสามารถเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ เพื่ออำนวยความสะดวกและตอบสนองต่อสังคมเสมือนที่ไม่เพียงแค่ในฐานผู้ใช้ของตน แต่พร้อมดึงส่วนแบ่งระหว่างกันตลอดเวลา อีกทั้งอัตราเร่งของประสิทธิภาพCPU ส่งผลให้ Hardwareตอบสนองต่อSensorได้อัจฉริยะแบบก้าวกระโดด ทำให้คนทั่วไปใช้งานได้ง่ายขึ้น เข้าถึงได้ง่ายขึ้นผ่าน Extended Reality(XR) standalone ใน Platforms ต่างๆ สินค้านวัตกรรมทยอยออกสู่ตลาดต่อเนื่อง แข่งขันกันจากหลายบริษัทผู้ผลิตทั่วโลก ซึ่งล้วนเป็นประโยน์ต่อผู้คนทุกวงการ ทำให้เรื่องยากๆ กลายเป็นสิ่งใกล้ตัวที่นำไปประยุกต์ใช้ได้ง่ายขึ้น คุณวงพจน์ ดูการณ์ ยังกล่าวต่อว่า “การจะนำเทคโนโลยีเสมือนจริง AR. VR. และ MR.(Mixed Reality หรือ Merged Reality) มาใช้ร่วมกับ Ai. ใน Metaverse นั้น จำเป็นต้องมีเป้าหมายการนำมาใช้ที่ชัดเจน ไม่ใช่แค่ทำตามแฟชั่นหรือทำสนุกแบบเกม พวกเรามีความตั้งใจที่นำความสามารถด้านต่างๆ ของปัญญาประดิษฐ์ มาผนวกเข้าด้วยกันเพื่อให้เกิดสภาพแวดล้อมเสมือนที่มีการตอบสนองต่อกันคล้ายชุมชนเมือง โดยให้ผู้คนสามารถเข้าใช้บริการทางสังคม บริการสาธารณสุข และได้โอกาสเข้าถึงการเรียนรู้พัฒนาตัวเอง อย่างเท่าเทียม นั่นหมายถึงภาครัฐต้องเข้าใจและเปิดโอกาสให้เราด้วยเช่นกัน” ระยะเริ่มแรกของโครงการที่มีความเป็นไปได้และอยากให้ความสำคัญก่อน นั่นก็คือการพัฒนานวัตกรรมเพื่อสนับสนุนการแพทย์และสาธารณสุข (Metaverse DOCTOR) ซึ่งมีหลายปัญหาที่เกี่ยวข้องกับชีวิตผู้ป่วย การเตรียมตัว การฝึกฝนทักษะ และการทำงานร่วมกันของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งในระบบนี้ยังมีราคาสูงอยู่ในปัจจุบัน เช่น การใช้ XR. และ Ai ทดแทนหรือจำลองการเห็นสิ่งผิดปกติแบบทับซ้อนที่เสมือนมองผ่าน MRI หรือ CT scan เพื่อขอการสนับสนุนจากทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่อยู่ห่างไกล สื่อสาร 2 ทางพร้อมการเคลื่อนไหวที่มีส่วนร่วมในสถานการณ์จริงแบบ Real-time communications(RTC) เพื่อวินิจฉัยหรือร่วมกันรักษาเฉพาะเรื่องที่เสี่ยงต่อชีวิต เช่น โรคหัวใจ โรคทางเดินหายใจ โรคหลอดเลือด และเกี่ยวกับสมอง เป็นต้น ในระดับผู้ป่วยวิกฤต (Immediately Lift-threatening) ระดับผู้ป่วยฉุกเฉิน(Emergency) หรือแม้แต่การสร้างพื้นที่เพื่อทำโรงพยาบาลเสมือนจริง ห้องจำลองการฝึกกู้ชีพสำหรับแพทย์ฉุกเฉิน ห้องปฐมพยาบาลเสมือน สำหรับฝึกพยาบาลใหม่ ฝึกนักเรียนนักศึกษา ฝึก อสม. อาสาสมัครกู้ภัย และต่อเนื่องไปถึงฟังก์ชันงานที่เกี่ยวข้องส่วนอื่นของระบบด้วย เช่น ห้องจำลองการฝึกภาษา และการสื่อสารกับชาวต่างชาติที่มีวัฒนธรรมแตกต่าง ของแผนกแรกรับผู้ป่วย เป็นต้น รวมถึง การศึกษาจีโนมิกส์ Genomics และการบันทึกDNA บน Blockchain คุณบวรวงศ์ ดูการณ์ : Co-founder ช่วยกล่าวเสริมว่า การแก้ปัญหาเร่งด่วน ปัญหาการขาดแคลนเตียง ปัญหาขาดแคลนแพทย์ โดยใช้ศักยภาพของAi.บนฐานข้อมูลแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ พัฒนา App-chat ที่มีความถูกต้องแม่นยำ เพื่อให้การช่วยเหลือทางการแพทย์อัตโนมัติ ลดโหลดโรงพยาบาล และเร่งยกระดับ telemedicine โดยนำเทคโนโลยี Metaverse มาใช้ร่วมประสานกับคลินิคชุมชน เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้ใน 8 นาที สิ่งเหล่านี้จะเป็นโครงงานตั้งต้นให้ทีม Dev.อาสาฯ ช่วยกันสร้างห้อง Lab รวมถึงการจำลองสถานการณ์ต่าง ๆ และจำลองการฝึกเครื่องมือทางการแพทย์ เพื่อใช้ในหน่วยงานสาธารณสุข ให้สามารถเชื่อมต่อเพื่อรีโมตช่วยเหลือกันระยะไกลจากทีมผู้เชี่ยวชาญต่างชาติที่ฝึกร่วมกันใน The Metaverse Hyper-Connected นี้อย่างไร้พรมแดน นายวงพจน์ ดูการณ์ หัวหน้าทีมฯ ยังกล่าวทิ้งท้ายว่า “โครงการสนับสนุนการฝึกอบรมบุคลากรสาธารณสุขใน Metaverse บนพื้นที่เสมือนจริงนี้ จะสามารถนำระบบ Ai เข้ามาเรียนรู้ข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้ในการช่วยตัดสินใจและตอบโต้การฝึกหัดการจำลองสถานการณ์ที่หลากหลายของกลุ่มที่เข้ามาฝึกได้ใกล้เคียงกับสภาพแวดล้อมจริง เลือกให้เหมาะกับระดับของกลุ่มผู้ฝึก และสามารถเก็บบันทึกค่าต่างๆ ที่ ผู้ฝึกตอบสนองต่อเหตุการณ์ได้ทั้งการเคลื่อนไหว เสียง โฟกัสการมอง และบันทึกการตัดสินใจได้ ยังเป็นความต้องการเร่งด่วนของหลายสถานศึกษาและหลายหน่วยงานเพื่อออกจากปัญหาเดิมๆ นอกจากจะช่วยลดต้นทุนค่าอุปกรณ์แล้ว ยังเป็นระบบที่ง่ายต่อการเข้าถึง สามารถฝึกได้จากที่ไหน เวลาไหนก็ได้ และยังช่วยเก็บฐานข้อมูลผู้ฝึก ในแบบ Datafication เช่น การนับชั่วโมง ระดับคุณภาพการฝึกด้านต่าง ๆ เป็นต้น เพื่อใช้ในด้านบริหารจัดการบุคลากรตามความถนัด รวมถึงเป็นประโยชน์กับนักศึกษาแพทย์ด้วย" โครงการ CSR ของกลุ่ม StartUP เพื่อสังคมกลุ่มนี้ มองว่าเทคโนโลยีใหม่ ๆ สร้างความเป็นไปได้ทุกเรื่อง จึงอยากผลักดันแผนงานเพื่อต่อยอดระยะที่ 2 และระยะที่ 3 ร่วมกับ Dev.อาสาฯและตัวแทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลา 5 ปี จะเร็วช้าขึ้นกับปัจจัยสนับสนุนหลายด้าน แม้แนวทางดำเนินการจะให้คุณประโยชน์ต่อการแพทย์และสาธารณสุข แต่การเป็นทีมแรกๆในฐานะ StartUP เป็นเรื่องที่ท้าทายมาก โดยเฉพาะมุมมองที่ผู้ใหญ่ต่างยุค มองผ่านแว่นคนละ generations ต้องปรับจูนกันด้วยความรักและอุดมการณ์อยู่บ่อยครั้ง โครงการเฟสอื่นที่กำลังเตรียมทีมฯ จะพัฒนาต่อเกี่ยวกับระบบสนับสนุนผู้สูงวัย ด้านการศึกษาเพิ่มทักษะวิชาชีพ และด้านศีลธรรมจริยธรรมเสมือนจริง ซึ่งบาง sub project จำเป็นต้องขอความร่วมมือ หรือขออนุญาตจากส่วนงานราชการที่เกี่ยวข้องเสียก่อน เช่น Smart City , โครงการความร่วมมือในเมตาเวิร์ส Cooperative and Work Integrated Education (CWIE. in Metaverse) และ การจัดการพลังงานสีเขียว&โซล่าเซลล์ ด้วยระบบ Virtual IoT. โครงการยังอยู่ระหว่างการขอสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตอนนี้งานด้านผู้สูงวัย มีการขอสนับสนุนเบื้องต้นจาก สสส. และ “ปัญญาประดิษฐ์.com” : ทีม Social Startup ของ ดร.ส่งศักดิ์ ที่จะเข้ามาดูเรื่อง Digital Immune System (DIS), ทางด้านอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม มีหน่วยงานของสถาบันPattern IT. ของอาจารย์กนกลักษณ์ ที่คาดว่าจะเข้ามาเป็นทีมช่วยวิจัย "ชุดพยุงกล้ามเนื้อสำหรับผู้สูงอายุ” เพื่อนำAiมาช่วยปรับให้เหมาะกับการใช้ฝึกอบรมงานพยาบาลในโลกเสมือนจริง และ มีศูนย์สุขภาพชะลอวัย “Wellness OK”ผู้เชี่ยวชาญด้านสารเสริมอาหาร ของคุณหมวยโอเค เพื่อให้คำแนะนำด้านโภชนาการชะลอวัย รองรับสภาวะ “สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์” ของประเทศไทย ระหว่างนี้ ทางทีม “StartUPเพื่อสังคม” ยังเปิดรับพันธมิตรที่มีจุดแข็งเข้ามาเสริมทัพ และในส่วนบริการสังคม ผู้ที่สนใจรับวิทยบริการ กรุณาแจ้งความประสงค์ขอรับบริการได้ เช่น การบรรยายเผยแพร่ความรู้และสาธิตการประยุกต์ด้านต่างๆ ที่เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีเสมือนจริงร่วมกับปัญญาประดิษฐ์ และ Sustainable Tech นวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน รวมถึงการให้คำแนะนำโครงงานในระบบพี่เลี้ยง (Mentoring System) และยินดีให้คำปรึกษากับองค์กรทุกภาคส่วนอีกด้วย สามารถติดต่อได้ที่ www.เมตาเวิร์ส.com ในวันและเวลาราชการ หรือ Email : Metaverse.CSR@gmail.com โทรศัพท์ : 080-261-4242 Facebook : Metaverse-Expert.Net