นางเกษร กำเหนิดเพ็ชร รองผู้อำนวยการ สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (สศร.) ประธานเปิดงาน “เสียงศิลป์นิทรรศ์ มนต์เสน่ห์ร่วมสมัยย่านกรุงเก่า” โดยมี อาจารย์ดำริห์ บรรณวิทยกิจ อดีตคณบดีคณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ผู้กำกับดนตรี ศึกษาเเละตีความบทเพลงดังในอดีตยุค 50s และ 60s นำเสนอในลักษณะงานดนตรีร่วมสมัยของยุคปัจจุบัน รศ.ไพโรจน์ วังบอน ผู้ช่วยอธิการบดี ฝ่ายกิจการพิเศษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ที่ปรึกษาด้านการจัดนิทรรศการ ร่วมกับศิลปิน นักดนตรี และน้องๆ นักศึกษา Silpakorn University Faculty Jazz Ensemble เปิดงาน “เสียงศิลป์นิทรรศ์ มนต์เสน่ห์ร่วมสมัยย่านกรุงเก่า” ณ หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2566 นางเกษร กำเหนิดเพ็ชร รองผู้อำนวยการฯ สศร.กล่าวว่าการแสดง “เสียงศิลป์นิทรรศ์ มนต์เสน่ห์ร่วมสมัยย่านกรุงเก่า” ริเริ่มโดยอาจารย์ดําริ วรรณะวิทยากิจ อาจารย์ท่านเป็นพาร์ทเนอร์ที่สําคัญของสํานักงานศิลปะวัฒนธรรมร่วมสมัย เราทํางานร่วมกับอาจารย์ดำริ มายาวนานมากในมุมมองทางด้านศิลปะด้านดนตรี โครงการนี้ได้ขับเคลื่อนภายใต้งบประมาณของกองสํานักงานศิลปะวัฒนธรรมร่วมสมัย โดยอาจารย์ให้ความสําคัญในเรื่องศิลปะด้านดนตรี งานทัศนศิลป์ งานภาพยนตร์ ซึ่งได้ขอความอนุเคราะห์ภาพวีดิทัศน์ จากหอภาพยนต์แห่งชาติ ส่วนภาพถ่ายเก่าได้จากสมาคมภาพถ่ายเก่า มูลนิธิภาพถ่ายแห่งประเทศไทย เป็นภาพถ่ายเก่าย่านเมืองเก่าบริเวณนี้ มาจัดแสดงเป็นนิทรรศการทางด้านภาพ ซึ่งนอกจากได้สุนทรียะทางด้านดนตรีแล้ว จะได้รับทราบประวัติศาสตร์ของกรุงเก่าในบริเวณนี้ ได้ทราบถึงการพัฒนาการทางด้านดนตรี ตั้งแต่อดีตจนมาถึงปัจจุบันนี้ โดยอาจารย์ได้รวบรวมลูกศิษย์ลูกหาในการที่จะรังสรรค์งานดนตรี ขึ้นมาใหม่เพื่อเชื่อมโยงความเก่า - ความใหม่ และในส่วนของดนตรีต่างประเทศ เข้ามาเพื่อมีความเป็นเอกลักษณ์ลงตัวของศิลปะด้านดนตรีของไทย ถือว่าเป็นการพัฒนางานทางด้านศิลปะด้านดนตรี ให้มีการเชื่อมโยงสู่ความร่วมสมัยมากยิ่งขึ้น รองผู้อำนวยการฯ กล่าวว่าในส่วนของสํานักงานศิลปะร่วมสมัย เราอยากที่จะรังสรรค์งานประมาณนี้ให้เกิดขึ้นอย่างอย่างต่อเนื่อง โดยการให้พื้นที่ในส่วนของหอศิลป์ร่วมสมัยราชดําเนิน ได้ให้เป็นพื้นที่ในการที่ศิลปินและเครือข่ายต่างๆ ได้มาสร้างผลงาน เป็นเวทีให้ได้แสดงความสามารถ แล้วต่อยอดเพื่อองค์ความรู้ทางด้านศิลปะร่วมสมัย สามารถที่จะเข้าสู่เด็กเยาวชนและก็ประชาชนโดยส่วนรวม เพื่อให้งานศิลปะร่วมสมัยนั้นอยู่คู่กับประเทศไทยตลอดไป “ในความหลากหลาย คําว่าศิลปะร่วมสมัย มีศิลปะหลากหลายสาขา ไม่ใช่เป็นเพียงทัศนศิลป์ 9 สาขา เพราะฉะนั้นศิลปินไม่ว่าจะสาขาใด สศร.ถือว่าเป็นหน้าที่ของสํานักงานที่จะให้การสนับสนุน แต่การสนับสนุนเป็นเพียงต้นทุนเบื้องต้น อย่างโครงการนี้เช่นกันเราให้การสนับสนุนเป็นส่วนหนึ่งแค่นั้น อาจารย์ดําริ ก็ใช้วิธีการไปต่อยอด ไปบูรณาการกับส่วนงานอื่นๆ ที่สามารถครอบคลุมเนื้องานทางด้านศิลปะ ในสาขาต่างๆ ได้มีความหลากหลาย แต่ละโครงการนั้นมีความหลากหลาย ไม่เหมือนกันทุกสาขา ในโครงการทั้งสองกองทุน ซึ่งปีนี้ก็มีเกือบร้อยโครงการ” รองผู้อำนวยการ สศร.กล่าวและย้ำว่า “พื้นที่หอศิลป์แห่งนี้ เป็นพื้นที่เปิดให้ผู้เข้าชมโดยทั่วไปตลอดทั้งปีจะมีนิทรรศการหมุนเวียนอยู่ในพื้นที่หอศิลป์แห่งนี้ เป็นพื้นที่สามารถเปิดรับเป็นผู้ที่ให้บริการให้กับสถานศึกษา เด็กเยาวชน นักเรียน นักศึกษาในแวดวงของศิลปะ ศิลปะร่วมสมัยสามารถที่จะใช้พื้นที่แห่งนี้ ซึ่งในนามของสํานักงานศิลปะร่วมสมัยยินดี และพร้อมที่จะให้บริการ” อาจารย์ดำริห์ บรรณวิทยกิจ อดีตคณบดีคณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร กล่าวว่า บรรยากาศราชดําเนินเป็นความศิวิไลซ์ของคนเก่าในยุคโบราณ ซึ่งผมอยากรู้ว่าบรรยากาศของดนตรีในยุคก่อนมันเป็นยังไง เพราะยุคผมแถวๆ นี้ มีร้านอาหารเก่าแก่ เมธาวลัย ศรแดง โลลิต้า ไนท์คลับ อะไรต่างๆ ก็อยากรู้ว่าดนตรีที่ฮิตในยุคนั้น ร้องอะไร เล่นอะไร ผมก็เลยย้อนยุคกลับไป ผมอยากจะเห็นภาพของเมืองกรุงเก่าและมนต์เสน่ห์เสียงดนตรี ที่มันเกิดในยุคนั้น แล้วเอามาตีความเป็นดนตรีร่วมสมัย ซึ่งครั้งนี้ผมขอให้น้องๆ คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ช่วยเรียบร้อยเพลง โดยที่ผมกำกับไอเดีย เพื่อให้เกิดภาพลักษณ์ ย้อนกลับไปในยุค ไนต์คลับ ซึ่งมีการเต้นรํา แบบบอลลูน จังหวะต่างๆ ที่เป็นลักษณะการไล่จากจังหวะที่ช้ามาเร็วแล้วส่งจนจบสุดท้ายเป็นสโลว์สบดึงบรรยากาศเก่าๆ “ผมทำงานกับสศร.เยอะมากเพราะสศร.จะมีทุนให้ศิลปินสามารถขอทุนในการสนับสนุนส่วนหนึ่ง เพื่อที่จะสร้างไอเดียในการที่จะสร้างอะไรใหม่ๆ ในเชิงดนตรีที่มีความร่วมสมัย ผมอยากเห็นความเชื่อมโยงจากราษฎร์สู่ยุคปัจจุบัน ซึ่งเป็นงานที่ทําอยู่ตลอดเดิมเป็นวรรณศิลป์ ดนตรี วันนี้เป็นเรื่องดนตรีกับภาพ โดยใช้สํานวนดนตรี ร่วมสมัยธรรมชาติ”อาจารย์ดำริ กล่าวและย้ำว่า “ตอนนี้เราพบว่างานศิลปะสามารถดึงคนกลับไปเห็นภาพ ในขณะที่ดนตรีมันดึงบรรยากาศ กลับมา เพราะฉะนั้นถ้ามันมาชนกัน ทำให้คนได้เข้าใจ งานในอีเว้นท์นั้นๆ ได้ดื่มด่ำลึกซึ้ง มีคนมาฟังบอกว่าจะมีโปรเจกต์อะไร อยากฟังอีก ผมก็ดีใจที่คนประทับใจ และอยากฟังเพลง เราคิดว่าตรงนี้ทําให้คนรุ่นเก่า ที่เขากลับไปหวนรําลึก ความหลัง แต่ในรสชาติใหม่ๆ เหมือนอาหารสูตรจานเก่าแต่เรามาปรุงเป็น Fusion แล้วในขณะเดียวกันเด็กรุ่นใหม่ที่เขาร้องแต่อะไรที่เป็นสมัยใหม่ก็ได้ซึมซับวัฒนธรรมต่างๆ เชื่อมโยงกัน และหวังว่าความเป็นไทยมันจะได้เชื่อมโยงร้อยเรียงระหว่างคนรุ่นเก่ากับคนรุ่นใหม่ และโปรเจกต์ต่อก็จะเป็นเปลี่ยนเป็นวง Light Otesta กับพวกงานศิลปะที่ต้องมีศาสตร์และศิลป์” ด้าน อาจารย์ไพโรจน์ วังบอน ผู้ช่วยอธิการบดี ฝ่ายกิจการพิเศษ มหาวิทยาลัยศิลปากร กล่าวว่าโครงการนี้ อาจารย์ดําริ เป็นเจ้าภาพ งานอาจารย์เป็นลักษณะดนตรีย้อนยุคและมีการปรับผสมใช้เป็นลักษณะของภาพถ่ายที่เกี่ยวกับกรุงเทพฯ ประมาณปี พ.ศ.2505-2515 ช่วงเวลานี้ ผมก็เลยไปขอข้อมูลจากมูลนิธิภาพถ่ายแห่งประเทศไทย เพื่อมาเป็นพร็อพโดยเลือกภาพมาเหมือนกับการเล่าเรื่องให้สอดคล้องกับเรื่องของดนตรีในช่วงปี 2505 – 2515 อย่างน้อยคนฟังเพลงเหมือนย้อนอดีตกลับไปเห็นบรรยากาศของการสร้างเมืองกรุงเทพฯ รวมถึงดนตรีในยุคนั้น บางคนอาจจะไม่เคยเห็นข้อมูลก็สามารถที่จะเชื่อมต่อกันได้ เพราะตัวภาพเป็นส่วนเสริม หรือส่วนที่ไปสร้างบรรยากาศ ทําให้ดนตรีมันมีความละมุนละไม ทำให้เกิดความรูสึกลึกซึ้งมากขึ้น มีการผมสผสานเก่ากับใหม่ มีงานดนตรี งานศาสตร์และศิลป์ งานนี้ถือว่าประสบความสำเร็จเสียงตอบรับดีอยากให้มีโปรเจ็คต่อไป