งานมหกรรมอาหารและเครื่องดื่มนานาชาติประจำปี 2024 (Thaifex 2024) จบลงอย่างประสบความสำเร็จ โดยมีกระทรวงมหาสมุทรและประมงร่วมกับสหกรณ์การประมงแห่งชาติเกาหลีและบริษัทอาหารทะเลชั้นนำของเกาหลีเข้าร่วม กิจกรรม "รสชาติและคุณภาพอาหารทะเลจากเกาหลี" ให้ได้ลองลิ้มรสสาหร่ายและหอยนางรมคุณภาพเยี่ยมจากเกาหลีก่อนใคร รวมถึงการประชุมให้คำปรึกษาด้านการส่งออกแบบ 1 ต่อ 1 กับผู้ประกอบการส่งออก 14 รายที่เข้าร่วมงานสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี THAIFEX-ANUGA ASIA 2024 (งานมหกรรมอาหารและเครื่องดื่มนานาชาติ) จัดขึ้นที่อิมแพค ชาเลนเจอร์ ฮอลล์ เมืองทองธานี ประเทศไทย เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม - 1 มิถุนายน 2567 ที่ผ่านมา ซึ่งรัฐบาลเกาหลี (โดยกระทรวงมหาสมุทรและประมง) และสหกรณ์การประมงเกาหลีที่ใหญ่ที่สุดในเกาหลีได้เข้าร่วม เพื่อกระตุ้นการค้าอาหารทะเลระหว่างสองประเทศและเปิดโอกาสในการเข้าสู่ตลาดอาเซียนของอาหารทะเลเกาหลีชั้นเลิศนานาชนิดโดยผู้ประกอบการทั้ง 14 ราย ต่างก็ประสบความสำเร็จในการออกบูธประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์อาหารทะเลจากเกาหลีในครั้งนี้ โดยในงานได้มีการประชุมให้คำปรึกษาทางธุรกิจเพื่อการส่งออก แบบ 1 ต่อ 1 ระหว่างผู้จัดจำหน่ายและนำเข้าจากประเทศไทยและทั่วโลกกับผู้ประกอบการส่งออกสาหร่าย, พืชทะเล, หอยนางรม, ปูดอง, เกลือ และผลิตภัณฑ์อาหารทะเลจากเกาหลีทั้งหมด 14 ราย ภายในงาน THAIFEX (งานมหกรรมอาหารและเครื่องดื่มนานาชาติ) ครั้งนี้ ได้เปิดโอกาสให้ผู้ส่งออกอาหารทะเลเกาหลีกับบริษัทผู้ซื้อไทยและต่างชาติได้ประชุมทางธุรกิจร่วมกันมีการจัดกิจกรรมให้ลองชิมและประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์หลักของบริษัทที่เข้าร่วม เพื่อให้ผู้บริโภคเข้าใจในตัวผลิตภัณฑ์และวางแผนในการนำเข้าสู่ตลาดในประเทศไทยต่อไป จากข้อมูลของเจ้าหน้าที่สหกรณ์การประมงที่รับผิดชอบในบูธหลักของอาหารทะเลเกาหลี ระบุว่าในหนึ่งปีประเทศไทยเป็นประเทศที่ส่งออกอาหารทะเลเกาหลีมากกว่า 200 ล้านดอลลาร์ เป็นอันดับ 4 (รองจากญี่ปุ่น, จีน และสหรัฐอเมริกาตามลำดับ) ไม่ใช่แค่ผลิตภัณฑ์ที่นำมาเป็นวัตถุดิบอย่างปลาทูน่าและสาหร่ายเท่านั้น แต่ผลิตภัณฑ์อย่างสาหร่ายปรุงรส, ออมุก (ลูกชิ้นปลาแผ่น)และหอยนางรมก็มีการส่งออกเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน ส่งผลให้มีความสำคัญในฐานะตลาดส่งออกมากยิ่งขึ้น "นับตั้งแต่การแพร่ระบาดของไวรัส Covid-19 ทั่วโลก จำนวนผู้บริโภคในประเทศไทยที่มองหาอาหารเพื่อสุขภาพด้วยการตรวจสอบข้อมูลโภชนาการบนฉลากอาหารก่อนซื้อสินค้ามีจำนวนมากขึ้นในฐานะที่ Suhyup เป็นตัวแทนกลุ่มผู้ประกอบการอาหารทะเลของเกาหลี เราจะผลักดันอาหารทะเลเกาหลีที่สะอาดและปลอดภัยสู่ตลาดต่างประเทศต่อไป เพื่อให้การเติบโตของการส่งออกอาหารทะเลและการตระหนักรู้ของผู้บริโภคเป็นไปอย่างต่อเนื่อง และในอนาคตก็จะมีการเข้าร่วมมหกรรมอาหารทะเลนานาชาติในไทยรวมถึงงานแสดงสินค้าอื่น ๆ ในต่างประเทศและจะสนับสนุนการดำเนินงานของทางการเกาหลีและข้อตกลงในการส่งออกอย่างเต็มกำลังต่อไป" ในปีนี้คุณคิมคีซองประธานกรรมการของสหกรณ์การประมงเกาหลีได้เข้าชมภายในงานด้วยตนเอง โดยได้พบปะกับผู้ประกอบการที่เข้าร่วมงานทั้ง 14 ราย เพื่อแนะนำและส่งเสริมเรื่องการส่งออกเช่นการส่งผลิตภัณฑ์หลายรูปแบบเข้าสู่ตลาดไทย และในงานนี้ได้มีการให้คำปรึกษาด้านการส่งออกทั้งหมด 147 รายการ คิดเป็นมูลค่า 85,000,000 ดอลลาร์ และหนึ่งในนั้นมีผู้ส่งออก 8 ราย ประสบความสำเร็จในการจัดทำสัญญาส่งออก (4 ฉบับ) มูลค่า 8,321,000 ดอลลาร์ และจัดทำ MOU (7 ฉบับ) มูลค่า 3,006,000 ดอลลาร์ นอกจากนี้ยังกล่าวอีกว่า "ด้วยความสัมพันธ์และการร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับศูนย์ส่งเสริมการค้าอาหารทะเล ประจำกรุงเทพฯ เราได้ลงนามทำสัญญาทางธุรกิจร่วมกับบริษัท ฟู้ดโปรเจค (สยาม) จำกัด (โดยคุณประโมทย์ เปรื่องอักษร กรรมการผู้จัดการ) บริษัทผู้ซื้อที่จัดจำหน่ายและนำเข้าหอยนางรมเกาหลี (half shell) ในประเทศไทย" ทั้งนี้บริษัท ฟู้ดโปรเจค (สยาม) จำกัด (FOOD PROJECT(SIAM) CO.,LTD) ก่อตั้งขึ้นในปีค.ศ.1988 เป็นบริษัทนำเข้าและจัดจำหน่ายระดับพรีเมียมในประเทศไทย โดยมียอดขายประมาณ 100 ล้านดอลลาร์ต่อปี มีการจัดตั้งสาขาและดำเนินกิจการร้านฟู้ดโปรมาร์ท (FoodPromart) ทั่วประเทศไทยเพื่อขยายตลาดให้กว้างขึ้น สหกรณ์การประมงแห่งชาติเกาหลีได้หารือเกี่ยวกับ "การสร้างฐานการตลาดกลุ่ม HoReCa ที่มั่นคงสำหรับหอยนางรมเกาหลีซึ่งเป็นสินค้าส่งออกหลักของ K-Fish* รวมไปถึงเสาะหาและจัดจำหน่ายสินค้าต่าง ๆ ร่วมกันในอนาคต" ผ่านข้อตกลงในวันเดียวกัน สามารถตรวจสอบรายชื่อแบรนด์ส่งออกที่ผ่านการตรวจสอบอย่างเข้มงวดและได้รับการรับรองคุณภาพจากรัฐบาลเกาหลีได้ทางเว็บไซต์ (https://kfish.k-seafoodtrade.kr) โดยคุณแบ็คกึมจู ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมการค้าอาหารทะเลเกาหลี ประจำประเทศไทยกล่าวเพิ่มเติมว่า "ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีการส่งออกอาหารทะเลเกาหลีเป็นอันดับ 4 และเป็นตลาดสำคัญที่มีอัตราการบริโภคอาหารทะเลต่อคนสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลก (ประมาณ 20 กิโลกรัม) แม้ว่ากำลังการบริโภคในตลาดจะชะงักลงจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจในปัจจุบัน แต่กลับสามารถบรรลุข้อตกลงการส่งออกและ MOU ในส่วนของผลิตภัณฑ์พิเศษจากภูมิภาคต่าง ๆ (เช่น สาหร่าย,หอยนางรม,เกลือ เป็นต้น) จากภายในงานนี้ได้ โดยจะถูกจำหน่ายให้แก่ผู้บริโภคผ่านตลาดกลุ่ม HoReCa รวมไปถึงแพลตฟอร์มออนไลน์และออฟไลน์ต่าง ๆ ในประเทศไทย และในอนาคตจะเดินหน้าสนับสนุนส่งเสริมการขายอย่างเต็มกำลังเพื่อยกระดับการเข้าถึงของผู้บริโภค เพื่อให้การส่งออก K-Fish และผลิตภัณฑ์อาหารทะเลเกาหลีชั้นเยี่ยมต่าง ๆ ในตลาดไทยสามารถขยายและเป็นที่ยอมรับได้อย่างมั่นคงในตลาดไทย" บริษัทผู้ซื้อผลิตภัณฑ์ทางทะเลที่สนใจนำเข้าผลิตภัณฑ์การประมงของเกาหลี สามารถเข้าเยี่ยมชมศูนย์ส่งเสริมการค้าอาหารทะเลเกาหลีประจำกรุงเทพฯ ภายใต้สหกรณ์การประมงแห่งชาติเกาหลี หรือติดต่อเพื่อรับคำปรึกษาด้านการนำเข้าและส่งออกผลิตภัณฑ์ประมงเกาหลีหลากหลายชนิดในประเทศไทย ได้ทั้งทางอีเมล (kfishbkk@gmail.com) และหมายเลขโทรศัพท์ (02-057-4030) สหกรณ์การประมงแห่งชาติเกาหลีได้จัดตั้งศูนย์ส่งเสริมการค้าอาหารทะเลเกาหลี 11 แห่งใน 8 ประเทศ เช่น อเมริกาญี่ปุ่น จีน รวมถึงประเทศไทย ให้ทำหน้าที่ในการส่งเสริมการส่งออกสินค้าอาหารทะเลของเกาหลี ด้วยการช่วยเหลือด้านการตลาดในท้องถิ่น, สนับสนุนพื้นที่สำนักงาน, ให้คำปรึกษาด้านกฎหมายพร้อมบริการล่ามและส่งเสริมด้านการบุกตลาด เป็นต้น ศูนย์ส่งเสริมการค้าอาหารทะเลเกาหลี ประจำกรุงเทพฯ เปิดให้บริการเมื่อเดือนมิถุนายนในปี 2018 ตั้งอยู่ที่ตึกเอ็มไพร์ทาวเวอร์ สาธร