คุณ เยาฮารี แหละตี กรรมการผู้จัดการ บริษัท อารยา นิกะห์ แพลนเนอร์ แอนด์ คอนเซาท์ จำกัด ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการกลุ่มผู้ประกอบการ พัฒนาการแต่งงานอิสลามในบรรยากาศพหุวัฒนธรรม Multicultural Islamic Wedding Entrepreneurs Group (MIWEG) ซึ่งมีรวมกลุ่มผู้ประกอบการทุนจดทะเบียนรวมกว่า 225 ล้าน บาท โดยมี บริษัท สยามแมนดารีน่า กรุ๊ป และ บริษัท เดอะทอลทรีส์ ร่วมกับ บริษัท อารยา นิกะห์ แพลนเนอร์ แอนด์ คอนเซาท์ จำกัด เป็นสมาชิกหลักของกลุ่ม ณ โรงแรมสยาม แมนดารีน่า เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2567 ที่ผ่านมา โดยบันทึกข้อตกลงนี้ ถือเป็นการรวมกลุ่มของผู้ประกอบการที่มีความมุ่งมั่นและพัฒนาพื้นที่ให้สามารถรองรับการให้บริการตลาดมุสลิม (Muslim Friendly Service) ได้ดีกว่าเดิม รวมไปถึงยังพัฒนามาจาก การรวมกลุ่มพูดคุยแลกเปลี่ยนทางธุรกิจ การให้ความรู้เรื่องการสร้างห้องละหมาด ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอาหารฮาลาล การอยู่ร่วมกัน และการดูแลพนักงานที่เป็นมุสลิม โดยสร้างองค์กรบนพื้นฐานของการให้เกียรติซึ่งกันและกัน แม้มีความแตกต่างทางศาสนา สมาชิกของกลุ่มยังได้มีโอกาสเข้าไปเรียนรู้วัฒนธรรมอิสลาม ในสุเหร่าต่าง ๆ สถานที่ละหมาด การทำความสะอาด ขั้นตอนการละหมาด และอื่น ๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจอันดีต่อกัน โดยโครงการนี้พัฒนามาตั้งแต่ปี 2565 จนปัจจุบันพัฒนาเป็นกลุ่มอย่างเป็นทางการ ด้วยความมุ่งมั่นของ คุณ เยาฮารี แหละตี ผู้อำนวยการกลุ่มผู้ประกอบการ พัฒนาการแต่งงานอิสลามในบรรยากาศพหุวัฒนธรรม Multicultural Islamic Wedding Entrepreneurs Group (MIWEG) เผยว่า "ถือเป็นอีกก้าวหนึ่งของสังคมไทย ที่จะมีองค์กร และกลุ่มที่ทำงานด้านศาสนาอิสลามในบรรยากาศพหุวัฒนธรรม การให้ความรู้ทางศาสนาอิสลาม เพื่อความเข้าใจอันดีของสังคม กลุ่มมีการวางแผนพัฒนาตลาด และเสริมสร้างความเข้าใจอันดีต่อกันเพิ่มเติมระหว่างศาสนา รวมทั้งพัฒนาเครือข่ายสมาชิกเพิ่มเติมในลำดับถัดไป เราเชื่อว่าโครงการนี้จะช่วยให้ ผู้ประกอบการที่ไม่ใช่มุสลิม สามารถดูแลลูกค้ามุสลิมได้ง่ายขึ้น ขยายช่องทางการค้า โดยไม่กระทบพันธกิจหลักขององค์กร เป็นเหมือนกระบะทรายที่สำคัญ ให้ผู้ประกอบการสามารถเริ่มต้นทำธุรกิจในตลาดอิสลามได้" ข้อมูลเกี่ยวกับภาพรวมของนักท่องเที่ยวมุสลิมทั่วโลก โดยข้อมูลจาก Mastercard พบว่าแนวโน้มของจำนวนนักท่องเที่ยวมุสลิมที่มีศักยภาพอย่างมากถึง 230 ล้านคน ในปี 2028 หรืออีก 4 ปีข้างหน้า ส่งผลให้ทาง Mastercard จึงได้จัดทำ GMTI เพื่อเป็นตัวชี้วัด และ ให้คะแนน สำหรับประเทศที่มีพัฒนาการที่ดีในการรองรับนักท่องเที่ยวมุสลิม เพื่อสนับสนุนให้ นักท่องเที่ยวไปพื้นที่ดังกล่าวมากขึ้น และได้รับความสะดวกสบายในกิจกรรมทางวัฒนธรรมทางศาสนา เช่น อาหารฮาลาล และ การละหมาด และสำหรับประเทศไทยนักท่องเที่ยวโดยรวมไตรมาสแรก ในปี 2567 มีจำนวนเพิ่มขึ้น จาก 8 ล้านคน เพิ่มขึ้นเป็น 12 ล้านคน ซึ่งถือว่าเพิ่มขึ้นอย่างมาก แต่อีกหนึ่งปัจจัยหลักของความต้องการของลูกค้ามุสลิมตามตัวชี้วัด ใน GMTI นั้นมีความจำเพาะเจาะจง เช่น มีความต้องการห้องละหมาด ครัวฮาลาล หรือที่พักฮาลาล เป็นต้น ซึ่งในปัจจุบันผู้ประกอบการที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิถีชีวิตของวัฒนธรรมอิสลามน้อย และผู้ประกอบการก็ยังมีข้อกังวลหลายอย่าง ทั้งการปรับตัว การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมที่อาจกระทบบริหารองค์กร รวมทั้งอาจเป็นการสูญเสียตลาดเดิม เช่น การเปลี่ยนโรงแรมเป็นฮาลาล อาจส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการอาจเสียตลาดลูกค้าเดิมที่ดื่มแอลกอฮอล์ และเป็นการเข้าสู่ตลาดใหม่ โดยไม่มีอะไรรับประกัน จากความกังวลเหล่านี้ ทำให้ผู้ประกอบการไม่มีแผนชัดเจน ในการรับลูกค้ากลุ่มนี้ หรือ พัฒนาตาม GMTI คุณ เยาฮารี แหละตี ผู้อำนวยการกลุ่มผู้ประกอบการ พัฒนาการแต่งงานอิสลาม ในบรรยากาศพหุวัฒนธรรม Multicultural Islamic Wedding Entrepreneurs Group (MIWEG) เผยอีกว่า "แม้การแบ่งโฟกัสตลาด อาจทำให้เราโฟกัสที่ตลาดเดียวมากเกินไป แต่การแบ่ง segment นั้นเป็นเรื่องสำคัญที่จะทำให้เราเข้าใจลูกค้าเฉพาะกลุ่มมากขึ้น ผู้ประกอบการยังต้องทุ่มเทเวลาให้กับ ความเข้าใจลูกค้ามุสลิมที่อาจมาเป็นลูกค้าของคุณว่ามีความต้องการอะไร ในขณะเดียวกัน ถ้ามีความกังวลถึงการปรับตัว และมีต้นทุนการปรับเปลี่ยนที่สูงและไม่แน่นอน ก็สามารถหยิบบางส่วนที่สามารถพัฒนาร่วมกันและทำให้เกิดประโยชน์กับลูกค้ากลุ่มอื่น ๆ ได้ เช่น ใน GMTI ปี 2024 ให้ความสำคัญกับลูกค้ามุสลิมผู้หญิงว่าเพิ่มจำนวนมากขึ้นและมีส่วนในการตัดสินใจมากขึ้น นักท่องเที่ยวมุสลิมหญิง มีความต้องการเหมือนนักท่องเที่ยวหญิงทั่วไปคือความปลอดภัย และความเป็นส่วนตัว ซึ่งเป็นสัดส่วนคะแนนที่สูงมาก ถ้าผู้ประกอบการ หรือ ประเทศไทย ทุ่มเทกับเรื่องเหล่านี้ก่อน ก็จะตอบโจทย์ลูกค้ากลุ่มนี้และกลุ่มอื่น ๆ ไปพร้อม ๆ กัน โดยไม่ต้องไปเปลี่ยนแปลงองค์กรแต่อย่างใด" ด้วยแนวคิด Multicultural Travel Destination ของ คุณ เยาฮารี แหละตี และ องค์กรเอกชน ร่วมกันพัฒนาให้เกิดขึ้นในประเทศไทย โดยผ่านการสร้างบรรยากาศที่ดี ไม่ตัดสินกันและกัน ให้เกียรติซึ่งกันและกัน และเรียนรู้วิถีชีวิตซึ่งกันและกัน เสมือนเป็นพื้นที่ปลอดภัย และการเรียนรู้ของผู้ประกอบการต่อวัฒนธรรมอื่น ๆ รวมทั้งวิถีชีวิตและศาสนาอิสลาม ซึ่งการดูแลลูกค้ามุสลิมเป็นเพียงบันไดขั้นแรก ที่จะไปสู่ Multicultural Travel Destination เพราะการท่องเที่ยวเป็นหนึ่งในรายได้หลักของประเทศไทย และแนวคิดเหล่านี้ จะเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยพัฒนาศักยภาพให้กับประเทศไทยก้าวหน้าไปพร้อม ๆ กัน สนใจติดตามรายละเอียดได้ทางFacebook : Araya Nikah PlannerInstagram : arayanikah_studioLine : yaoharee.lahteeWebsite : https://www.arayaweddingplanner.comTel : 089-1109419