ไทย - จีน ร่วมจัดการประชุมนานาชาติอาเซียนรีไซเคิล ประจำปี 2024
เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน ณ โรงแรมแชงกรีล่า กรุงเทพฯ การประชุมนานาชาติอาเซียนรีไซเคิล 2024 ASEAN Recycling Metal International Conference จัดโดยสมาคมอุตสาหกรรมโลหะแห่งชาติจีน (CNIA) ดำเนินการโดยสมาคมอุตสาหกรรมโลหะแห่งชาติจีน กลุ่มโลหะรีไซเคิล (CMRA) มีผู้แทนจากภาครัฐ สมาคมการค้า บริษัทเอกชน และผู้เชี่ยวชาญในกลุ่มธุรกิจรีไซเคิลโลหะ non-ferrous จากอเมริกา เยอรมัน ยุโรป อินเดีย ตะวันออกกลาง และอาเซียนเป็นต้น โดยมีผู้เข้าร่วมงานประมาณ 600 คน จาก 24 ประเทศทั่วโลก ภายใต้แนวคิด “ร่วมพัฒนานวัตกรรมแห่งอนาคต เพื่ออุตสาหกรรมสีเขียว Circular Economy” ซึ่งการประชุมมีเนื้อหาที่คลอบคลุมเกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบัน และอนาคตของอุตสาหกรรมรีไซเคิลโดยมีผู้เชี่ยวชาญในกลุ่มธุรกิจรีไซเคิล กลุ่ม non-ferrous จากประเทศต่างๆมาบรรยาย เพื่อให้นักลงทุนเข้าใจนโยบายสภาพแวดล้อมของตลาด เพื่อต่อยอดขยายช่องทางการค้าการลงทุน
ประธานจัดงานฝ่ายจีน นาย Wang Jiwei รองเลขาธิการสมาคมอุตสาหกรรมโลหะแห่งชาติจีน กล่าวว่า ปัจจุบันอุตสาหกรรมโลหะรีไซเคิลทั่วโลกมีรูปแบบที่หลากหลายและมีการแข่งขันสูง ผู้ประกอบการจำเป็นต้องเข้าใจสถานการณ์ที่อัปเดทของห่วงโซ่อุปทานโลหะรีไซเคิลทั่วโลก และหาโอกาสใหม่ สำหรับความร่วมมือระดับภูมิภาคที่เกิดจากการยกระดับมาตรฐานของอุตสาหกรรมและการโยกย้ายของห่วงโซ่อุปทาน การปรับเปลี่ยนเพื่อคงความได้เปรียบในอุตสาหกรรมรีไซเคิล กลุ่มโลหะ non-ferrous มี 4 ประการ
1. ผลักดันความร่วมมือในห่วงโซ่อุตสาหกรรม ให้มีส่วนร่วมอย่างเข้มแข็งในด้านแรงงานและปัจจัย
2. ผลักดันให้อุตสาหกรรมรีไซเคิลโลหะ nonferrous เป็นพลังสะอาดที่สนับสนุนการเติบโตของอุตสาหกรรมสีเขียวในท้องถิ่น เสริมสร้างวินัยในตนเองของอุตสาหกรรม และใช้พลังงานเชิงบวก
3. เสริมสร้างความเป็นผู้นำด้านนวัตกรรม เทคโนโลยี และปรับปรุงคุณภาพการจัดหาผลิตภัณฑ์รีไซเคิล โลหะnon-ferrous
4. เสริมสร้างการทำงานร่วมกันทั้งห่วงโซ่อุปทาน ส่งเสริมเกื้อกูล และเชื่อมโยงความร่วมมือระดับภูมิภาคอย่างเต็มที่ และหาตลาดใหม่สำหรับความร่วมมือระหว่างประเทศอย่างต่อเนื่อง
ด้านนาย Li Xiaobo ประธานหอการค้าวิสาหกิจจีนประจำประเทศไทย ชี้ให้เห็นว่าความร่วมมือระหว่างไทยและจีนเป็นประโยชน์ต่อทั้งสองฝ่าย ด้วยการพัฒนาอย่างแข็งแกร่งของอุตสาหกรรมยานยนต์พลังงานใหม่ของประเทศไทย คาดยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยจะมีเกิน 100,000 คันในปี 2567 สิ่งนี้จะนำความต้องการของตลาดจำนวนมากมาสู่อุตสาหกรรมรีไซเคิล กลุ่มโลหะ non-ferrous อีกทั้งยังเพิ่มโอกาสความร่วมมือระหว่างจีนและไทยในสาขาที่เกี่ยวข้องอีกด้วย
พลเอกวิชิต ยาทิพย์ ประธานที่ปรึกษาสมาคมการค้าผู้ประกอบการรีไซเคิลไทย กล่าวแสดงความยินดีกับความสำเร็จของงานวันนี้ และเชื่อว่าเป็นเวทีที่มีคุณค่าสำหรับการแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มอุตสาหกรรมรีไซเคิล กลุ่มโลหะ non-ferrous จากประเทศต่างๆ และจะช่วยส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและการพัฒนาอุตสาหกรรม
ในระหว่างการประชุม ได้มีการจัดการเจรจาตัวแทนการลงทุนในอุตสาหกรรมโลหะรีไซเคิลระหว่างไทยและจีน โดยเน้นไปที่กลยุทธ์การเข้าถึงตลาด นโยบายการสนับสนุนทางอุตสาหกรรม การให้ความรู้จากผู้มีความเชี่ยวชาญจากองค์กรต่างๆ และความต้องการที่เป็นข้อกังวลมากที่สุดในการดำเนินธุรกิจจริงขององค์กร วิสาหกิจที่ได้รับทุนสนับสนุนจากจีนได้แบ่งปันประสบการณ์การลงทุนในต่างประเทศ ตลอดจนความเข้าใจและความไว้วางใจร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐของไทยที่เกี่ยวข้องและองค์กรที่ได้รับทุนสนับสนุนจากจีนได้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น
โดยฝ่ายไทยมีผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐเข้าร่วมอาทิ ดร.ธีรวุธ ตันนุกิจ ผอ.กองนวัตกรรมวัตถุดิบฯกรมเหมืองแร่พื้นฐาน นายภัทรพล ลิ้มภักดี ผอ.กองบริการอนุญาตโรงงาน กรมโรงงานอุตสาหกรรม นางปนัดดา เย็นตระกูล ผช.ผู้ว่าการสายยุทธศาสตร์ การนิคมอุตสาหกรรรม และนายวรกาญจน์ โกศลพิศิษฐ์กุล กองส่งเสริมการลงทุน 3 สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ได้มาบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับ “การพัฒนาอุตสาหกรรมและสภาพแวดล้อมการลงทุนไทย” เพื่อให้นักลงทุนชาวต่างชาติได้รับรู้และเข้าใจสถานการณ์อุตสาหกรรมรีไซเคิลในไทย อีกทั้งนโยบาย ทิศทางและการสนับสนุนของภาครัฐที่มีต่อเกี่ยวกับการพัฒนาอุตสาหกรรม BCG Circular Economy “โดยเฉพาะการศึกษาความเป็นไปได้ในการตั้งนิคมฯ 3,900 ไร่ในเขตพื้นที่ชลบุรี เพื่อรองรับนักลงทุนที่เพิ่มมากขึ้นเป็นต้น”