ปัจจุบันผู้สูบบุหรี่ไฟฟ้าในประเทศไทยและในพื้นที่กรุงเทพมหานครกำลังเพิ่มขึ้น และกำลังเป็นภัยคุกคามเด็กและเยาวชนส่งผลให้เกิดนักสูบหน้าใหม่ที่อายุน้อยและน้อยลงเรื่อยๆจนส่งผลเสียต่อสุขภาพ กระทบต่อการเรียนและพฤติกรรมการเสพติด ส่งผลเสียหายต่อครอบครัวและสังคมในวงกว้าง ในวันงดสูบบุหรี่โลก 31 พ.ค. กทม.ประกาศเดินหน้าต้านบุหรี่ไฟฟ้าปกป้องเด็กและเยาวชน สร้างพลังพัฒนาเมืองอย่างต่อเนื่องนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า วันนี้บุหรี่ไฟฟ้ากำลังขายภาพลวงตาให้สังคมเข้าใจว่า นี่คือทางเลือกที่ปลอดภัยกว่าบุหรี่มวน ทั้งๆที่บุหรี่ไฟฟ้า มีนิโคตินสูงกว่าบุหรี่มวน 10-50 เท่า ผสมยาเสพติด ทั้งเคตามีน กัญชา แอมเฟตามีน และอีกมากมาย การสร้างความเข้าใจที่ผิดให้กับเด็กและเยาวชน ด้วยทอยพอด หรือบุหรี่ไฟฟ้าลวดลายการ์ตูนน่ารัก ทำให้เด็กๆอยากลองและตั้งใจให้หลบเลี่ยงสายตาของพ่อแม่และครู โดยใช้ความอยากรู้อยากทดลองของเด็กเป็นสิ่งดึงดูดให้เด็กทดลองโดยคิดว่าไม่มีอันตรายวัยรุ่นคิดว่าสูบบุหรี่ไฟฟ้าเท่ อันตรายน้อยกว่าบุหรี่ธรรมดา วันนี้เด็กเล็กชั้นประถมแค่ 10 ขวบ ปอดพังอาการวิกฤติ เพราะสูบบุหรี่ไฟฟ้า ผลกระทบของบุหรี่ไฟฟ้ามีทั้งแบบเฉียบพลันทำให้ปอดอักเสบรุนแรง จนเป็นโรคที่เรียกว่า “EVALI” หรือส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจระยะยาว และบุหรี่ไฟฟ้ายังประกอบด้วยสารก่อมะเร็งได้ และก่อให้เกิดโรคเรื้อรัง (NCDs) อีกด้วยนางวันทนีย์ วัฒนะ ปลัดกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า วันนี้ บุหรี่ไฟฟ้ายังโฆษณาหลอกลวงเด็กและเยาวชนขยายวงกว้างขึ้น เราพบว่าเด็กและเยาวชนในกรุงเทพมหานคร เสียเงินซื้อบุหรี่ไฟฟ้าเกือบ 30,000 บาทต่อปี จึงขอเชิญชวนผู้ปกครองและเยาวชนในกรุงเทพมหานคร สร้างสุขวิถีใหม่ Happy New Lifeเปลี่ยนเงินที่ซื้อบุหรี่ไฟฟ้ มาเป็นเงินออมสร้างอนาคต กรุงเทพมหานครยังขอเน้นย้ำว่า บุหรี่ไฟฟ้าเป็นสินค้าผิดกฎหมาย ห้ามผลิต ห้ามนำเข้ามาในราชอาณาจักร และห้ามจำหน่าย เราจะดำเนินการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง ในทุกกลุ่ม ตั้งแต่ กลุ่มผู้นำเข้า มีความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร และประกาศกระทรวงพาณิชย์ โทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี ปรับ 5 เท่าของมูลค่าสินค้า หรือทั้งจำทั้งปรับ กลุ่มผู้ขาย–ผู้ให้บริการ มีความผิดตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค โทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ส่วนผู้ครอบครอง มีความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร โทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับ 4 เท่าของมูลค่าสินค้า หรือทั้งจำทั้งปรับ นอกจากนี้ ผู้ที่เสพบุหรี่ไฟฟ้าอาจมีความผิดในข้อหาช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาไปซื้อ รับจำนำหรือรับไว้โดยประการใด ซึ่งตนรู้ว่าเป็นของที่เข้ามาในราชอาณาจักร โดยยังไม่ได้ผ่านพิธีศุลกากรอย่างถูกต้อง ตาม พ.ร.บ.ศุลกากร มาตรา 246 วรรคหนึ่ง กรุงเทพมหานคร โดย สำนักงานป้องกันและบำบัดยาเสพติด ได้จัดมหกรรมรณรงค์ป้องกันการสูบบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้าเนื่องในวันงดสูบบุหรี่โลกประจำปี 2568 ขึ้นในวันพุธที่ 28 พฤษภาคม 2568 ที่อาคารไอราวัตพัฒนา ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ดินแดงโดยรวมพลังของสถานศึกษาที่มุ่งมั่นตั้งใจและดำเนินการตาม 7 มาตรการโรงเรียนปลอดบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า ซึ่งเป็นโรงเรียนต้นแบบปลอดบุหรี่-บุหรี่ไฟฟ้า จำนวน 19 แห่ง และศูนย์การเรียนรู้โรงเรียนปลอดบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า จำนวน 1 แห่ง รวมทั้งสิ้น 20 แห่ง ผู้ร่วมกิจกรรม ประกอบด้วย ผู้บริหารกรุงเทพมหานคร ผู้บริหารสำนักอนามัย ผู้แทนสำนักงานเขต ผู้บริหารศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เรื่องยาสูบ (ศจย.) หน่วยวิชาการเครือข่าย นักสาธารณสุขจัดการปัจจัยเสี่ยงสุขภาพ (สปสส.) ผู้แทนจากหน่วยงานต่าง ๆ อาทิ สมาพันธ์ เครือข่ายแห่งชาติเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ สถาบันยุวทัศน์แห่งประเทศไทย มูลนิธิรณรงค์เพื่อการ ไม่สูบบุหรี่ ศูนย์บริการเลิกบุหรี่ทางโทรศัพท์แห่งชาติ (สายด่วนเลิกบุหรี่ 1600) ผู้บริหารสถานศึกษา และนักเรียน Gen Z จากสถานศึกษา ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร รวมจำนวน 500 คนโดยวันงดสูบบุหรี่โลก 31 พฤษภาคม 2568 นี้ กระทรวงสาธารณสุข ได้กำหนดประเด็นรณรงค์ คือ “กระชากหน้ากากธุรกิจบุหรี่ บุหรี่ไฟฟ้า : นิโคตินเสพติด...จน...ตาย” Unmasking the Appeal: Exposing Industry Tactics on Tobacco and Nicotine Products