เมื่อเวลา 13.00 น.ของวันที่ 22 ธันวาคม 2563 นายพูนทรัพย์ สมบูรณ์ปัญญา รองผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา พร้อมด้วย พลเรือเอกพิเชษฐ ตานะเศรษฐ ประธานอนุกรรมการบริหารจัดการน้ำในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(EEC) ให้เกียรติเป็นประธานพิธีเปิดสถานีเพิ่มแรงดันน้ำเพื่ออุตสาหกรรมบางปะกง IWRM และมีแขกผู้มีเกียรติเข้าร่วมงานจำนวนมาก อาทิเช่น นายณพล (สัมภาษณ์) บริบูรณ์ ที่ปรึกษาประธานกรรมาธิการคุ้มครองผู้บริโภคสภาผู้แทนราษฎร นายกสมาคมสื่อมวลชนและนักประชาสัมพันธ์ภาคตะวันออก นายจักรรัฐ เลิศโอภาส รองผู้ว่าการ (สายงานปฏิบัติการ 2) การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) นางสาว ทัศนีย์ เกียรติภัทราภรณ์ รองเลขาธิการสายงานเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ สายงานพื้นที่และชุมชน สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) นายธนวัฒน์ สันตินรนนท์กรรมการ บริษัท อินดัสเตรียล วอเตอร์ รีซอร์ส แมนเนจเม้นท์ ดร.วิวัฒน์ กรมดิษฐ์ นิคมฯอมตะซิตี้ ด้านนายพูนทรัพย์ สมบูรณ์ปัญญา รองผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา เปิดเผยว่า ในปี 2563 ที่ผ่านมา ได้เกิดปัญหาวิกฤตการณ์ภัยแล้งโดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ได้แก่ พื้นที่จังหวัดระยอง ชลบุรี และฉะเชิงเทรา จากปัญหาวิกฤตการณ์ภัยแล้งนั้นส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมเป็นอย่างมาก เนื่องจากน้ำต้นทุนมีไม่เพียงพอสำหรับภาคอุตสาหกรรม ทั้งนี้ การนิคมอุตสาหกรรมประเทศไทย ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ และบริษัทอินดัสเทรียล วอเตอร์ รีซอร์ส แมนเนจเม้นท์ จำกัด ได้ร่วมกันวางแผน หารือ และสร้างท่อส่งน้ำเพื่ออุตสาหกรรมจากจังหวัดชลบุรี มายังจังหวัดฉะเชิงเทรา ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 800 มม. ระยะทางรวมกว่า 36 กิโลเมตร โดยนำน้ำจากเอกชนมาแก้ปัญหาวิกฤตการณ์ภัยแล้งภาคอุตสาหกรรมในครั้งนี้ พลเรือเอกพิเชษฐ ตานะเศรษฐ ประธานอนุกรรมการบริหาจัดการน้ำในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เปิดเผยว่า เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจด้านน้ำแก่นักลงทุนในพื้นที่ EEC นอกจากการวางแผน หารือ และสร้างท่อส่งน้ำเพื่ออุตสาหกรรม แล้ว ทางบริษัทอินดัสเทรียล วอเตอร์ รีซอร์ส แมนเนจเม้นท์ จำกัด ยังได้ดำเนินการก่อสร้างสถานีแรงดันน้ำเพื่ออุตสาหกรรม บริเวณถนนเลียบมอเตอร์เวย์ ชลบุรี-กรุงเทพ อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา บนเนื้อที่กว่า 12 ไร่ ภายในสถานีเพื่อมแรงดันน้ำประกอบด้วย อาคารเพิ่มแรงดันน้ำสามารถสูบน้ำได้มากกว่าวันละ 40,000 ลบ.ม. และระบบเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรองสำหรับใช้ในกรณีเกิดเหตุไฟฟ้าดับ พร้อมถังเก็บน้ำแบบถอดประกอบจำนวน 5 ใบ ซึ่งโครงการดังกล่าวเป็นการช่วยลดปัญหาน้ำแล้ง น้ำไม่เพียงพอต่อการลงทุนในภาคอุตสาหกรรม และในปี 2567 มีแผนการพัฒนาเปลี่ยนน้ำเค็มให้เป็นน้ำจืด เพื่อการแก้ปัญหาน้ำที่ยั่งยืนตามนโยบายของรัฐบาล