พลเอกฉัตรชัย นำคณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ วุฒิสภา ลงพื้นที่ จ.ปราจีนบุรี ศึกษาดูงานและติดตามการพัฒนาแหล่งน้ำ และการ ชลประทานเพื่อการเกษตร พลเอกฉัตร ชัยสาลิกัลยะ ประธานคณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ วุฒิสภา พร้อมคณะเดินทางลงพื้นที่ จังหวัดปราจีนบุรี ระหว่างวันที่ 26-27 พฤศจิกายน 2563 เพื่อศึกษาดูงานและติดตามการพัฒนาแหล่งน้ำ และการ ชลประทานเพื่อการเกษตร ภายใต้แผนการปฏิรูปประเทศด้านเศรษฐกิจ ที่ โครงการอ่างนฤบดินทรจินดา อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลแก่งดินสอ อำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี โดยมี นายวรพันธุ์ สุวัณณุสส์ ผู้ว่าราชการการจังหวัดปราจีนบุรี และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องบรรยายสรุป ทั้งนี้อ่างเก็บน้ำนฤบดินทรจินดา มีความจุ 295 ล้าน ลบ.เมตร มีพื้นที่ได้รับประโยชน์ จำนวน 111,300 ไร่ ซึ่ง พลเอกฉัตรชัย ระบุว่า นับเป็นเรื่องที่น่ายินดีที่อ่างเก็บน้ำแห่งนี้ พี่น้องประชาชานได้รับประโยชน์โดยตรงอย่างแท้จริง ซึ่งนอกจากจะมีส่วนช่วยในการด้านการเกษตรแล้ว ยังเป็นพื้นที่รับน้ำในยามที่ประสบปัญหาอุทกภัยด้วย และที่สำคัญยังถือเป็นพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระบรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ที่พระองค์ได้มีพระราชดำริให้พัฒนาต้นน้ำลำธารปราจีนบุรีแห่งนี้ เพื่อจัดหาน้ำให้กับเกษตรกรใช้ทำการเพาะปลูกได้ทั้งในฤดูฝนและฤดูแล้ง ทั้งนี้ในเรื่องการการบริหารจัดการน้ำ พลเอกฉัตรชัย ยังเน้นย้ำให้ส่วนราชการ โดยเฉพาะจังหวัดจะต้องมีการถอดแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ให้เป็นแผนของจังหวัด เพื่อระดมสมอง โดยเฉพาะเรื่องน้ำจะทำอย่างไร ให้นำแผนงานตรงนี้ไปสู่การขับเคลื่อนการปฏิบัติ ซึ่งจะทำให้ทราบถึงปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้น จากนั้น พลเอกฉัตรชัย ได้นำคณะไปศึกษาดูงานที่สวนนายมนัส ฮวดจึง ประธานแปลงใหญ่ทุเรียน ตำบลบ้านดงขี้เหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งชาวสวนทุเรียนส่วนใหญ่ เป็นเกษตรกรที่ย้ายถิ่นฐานมาจาก อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ที่ถูกเวรคืนที่ดินจากการสร้างสนามบินสุวรรณภูมิ และย้ายมาตั้งรกรากที่นี่ โดยปัจจุบันเกษตรกรได้นำวิธีการบริหารจัดการ ทุเรียนปราจีนมาใช้ พร้อมสร้าง Story ในการนำเสนอจุดเด่น มุ่งเน้นผลผลิตทุเรียน ให้ได้คุณภาพสูง และได้รับรองมาตรฐาน GAP เกษตรอินทรีย์ ซึ่งพลเอกฉัตรชัยระบุว่าจากที่ได้รับฟังเกษตรกรกลุ่มนี้ถือเป็นตัวอย่างที่ดี ที่ได้มีการรวมกลุ่มกัน เป็นศูนย์และสร้างเครือข่าย เป็นเกษตรแปลงใหญ่ และสหกรณ์ โดยมีการนำเทคโนโลยีมาใช้ เพราะการทำการเกษตรจะใช้วิธีแบบดั้งเดิมไม่ได้ ต้องมีการพัฒนาเป็นเกษตรรูปแบบใหม่ เพื่อให้สามารถสร้างรายได้ให้สูงขึ้น โดยตนจะนำรูปแบบนี้ไปถ่ายทอดต่อเกษตรกรทั่วประเทศต่อไป