ทีม “No grant SMOG” จ.เชียงใหม่ คว้ารางวัลชนะเลิศ ในงาน “Smogathon Thailand 2020” ต่อยอดนักคิดรุ่นใหม่แก้ปัญหาฝุ่นควัน
องค์กรเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา (USAID) ร่วมกับ องค์การนาซ่า (NASA), โครงการเซอร์เวียร์แม่โขง (SERVIR-Mekong), โครงการ Young Southeast Asian Leaders Initiative (YSEALI) และกรมควบคุมมลพิษแห่งประเทศไทย ร่วมกันจัดงาน “Smogathon Thailand 2020” เพื่อต่อสู้กับปัญหามลพิษทางอากาศที่เกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่องในหลายพื้นที่ทางภาคเหนือของประเทศไทย ณ เชียงใหม่แอนด์โค (Chiangmai&Co) จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 8 - 10 กุมภาพันธ์ 2563 ที่ผ่านมา
กิจกรรม “Hackathon” (เกิดจากคำว่า “Hack” และ “Marathon”) ได้เชิญชวนเหล่าคนวัยทำงานรุ่นใหม่ นักเรียน นักศึกษา และผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาชาวิชาชีพ มาร่วมกันคิดหาหนทางแก้ไขปัญหามลพิษที่เกิดขึ้นในจังหวัดทางภาคเหนือของประเทศไทย โดยใช้เทคโนโลยีและข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมที่พัฒนาขึ้นด้วยความร่วมมือกันของหน่วยงานต่างๆ อันได้แก่ SERVIR-Mekong, องค์การ NASA, สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (GISTDA) และกรมควบคุมมลพิษ ในการสังเกตการณ์ ติดตามตรวจสอบ และพยากรณ์คุณภาพอากาศ
นายฌอน โอนีลล์ กงสุลใหญ่สหรัฐอเมริกา เชียงใหม่ กล่าวว่า “หน่วยงานจากรัฐบาลสหรัฐอเมริกาต่างมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้จัดกิจกรรมดีๆ นี้ขึ้น ด้วยความร่วมมือกับทางรัฐบาลไทย”
“กิจกรรมนี้ ยังเปิดโอกาสให้เหล่าผู้เข้าร่วมได้ใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ อย่าง Geospatial Data หรือข้อมูลเชิงพื้นที่ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เพื่อพัฒนาความแม่นยำในการสังเกตการณ์และตรวจเฝ้าระวังคุณภาพของอากาศ และผมเองก็อยากจะแสดงความยินดีเป็นพิเศษ สำหรับทีมเพื่อช่วยกันหาหนทางแก้ไขปัญหา”
หลังจากการเก็บตัวและร่วมใช้ความคิดสร้างสรรค์อย่างเข้มข้นมาตลอดระยะเวลาสามวัน กิจกรรม Hackathon ก็ได้ทีมผู้ชนะ นั่นก็คือทีม “No grant SMOG” โดยมี สมาชิกในทีมทั้งหมด 6 คน รวมตัวกันจาก 4 สถาบันได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, มหาวิทยาลัยราชมงคลล้านนา และ มหาวิทยาลัยพายัพ. สมาชิกทั้ง 6 คน ประกอบด้วย 1.นายปิยะพงษ์ ตานะกุล 2.นายเผด็จ สุขพัฒนาเจริญ 3.นส.จุรีรัตน์ สมบูรณ์ 4.นายเปนไท อ่องไพบูลย์ 5.นายวรเดช ชัยยะ และ 6.นายโชติธเนศน์ สุนทรนิธินันท์ โดยนำเสนอผลงาน การออกแบบสื่อให้กลุ่มเด็กนักเรียนชั้นประถม โดนการนำเสนอสื่อในรูปแบบของนิทาน โดยแทรกเนื้อหาเกี่ยวกับฝุ่นควัน การเกิดฝุ่นควัน การป้องกันตัวจากฝุ่นควัน เพื่อปลุกจิตสำนึก โดยผ่าน Active learning ผ่าน Board game เพื่อได้สร้างความรู้ความเข้าใจ และใส่ใจปัญหาฝุานควันมากขึ้น เพราะเด็กนักเรียนเป็นกลุ่มทีายะปลุกจิตสำนึกเกี่ยวกับปัญหาฝุ่นควันได้ง่าย เมื่อนักเรียนเข้าใจ นักเรียนจะเป็นตัวกลางในการเผยแพร่ข้อมูลช่าวสารสู่ครอบครัว และยกระดับเป็นหมู่บ้าน เป็นตำบล อำเภอ จึงคิดค้นการทำหนังสือการ์ตูน และทำ Board game ขึ้นมา
ทีมผู้ชนะ จะได้มีโอกาสพัฒนา Prototype หรือผลงานต้นแบบที่นำเสนอต่อคณะกรรมการจนสำเร็จลุล่วงต่อไป ด้วยการให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิดจาก SERVIR-Mekong และ NASA ที่ศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย (Asian Disaster Prepaedness Center - ADPC) เพื่ประยุกต์ใช้ข้อมูลเชิงพื้นที่ในการพัฒนาความแม่นยำของการตรวจเฝ้าระวังคุณภาพของอากาศ
นางจูนิเปอร์ นีลล์ รองผู้อำนวยการแห่งองค์กรเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา (USAID) สำนักงานผู้แทนภูมิภาคเอเชีย กล่าวว่า “การรับมือกับมลพิษทางอากาศที่เกิดขึ้นอยู่นี้อาศัยความร่วมมือจากหลายๆ ภาคส่วน”
“เราหวังว่ากิจกรรมนี้จะเป็นกิจกรรมต้นแบบที่จุดประกายความร่วมมือทางนวัตกรรมใหม่ๆ ระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และเยาวชนชาวไทยจากทุกๆ ภูมิภาค”
งาน Smogathon ในครั้งนี้ถือเป็นการต่อยอดความสำเร็จจากงานครั้งแรก ซึ่งจัดขึ้นด้วยความร่วมมือกันของสถานกงสุลใหญ่สหรัฐอเมริกาและโครงการ YSEALI เมือเดือนพฤษภาคม ปี พ.ศ. 2562 โดยงาน Smogathon ในครั้งแรกนั้นก็เป็นแหล่งกำเนิดของแนวคิดอันก้าวล้ำมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการใช้เตาเผาแบบไร้ควัน หรือการจัดทำเว็บไซต์สำหรับแจ้งเตือนแก่ประชาชนเมื่อเกิดการเผาไหม้ในที่โล่ง
โครงการเซอร์เวียร์แม่โขงดำเนินการโดยความร่วมมือจากองค์กรเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศแห่งสหรัฐอเมริกา (USAID) และองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (NASA) ดำเนินการโดยสำนักพัฒนาเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศภายใต้ศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย (Asian Disaster Preparedness Center - ADPC) เพื่อเชี่อมโยงองค์ความรู้ด้านเทคโนโนยีสารสนเทศและภาพถ่ายดาวเทียม นำมาใช้เพื่อการสังเกตการณ์และรับมือกับความท้าทายด้านต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการน้ำ ภัยพิบัติ การเปลี่ยนแปลงสถาพทางภูมิอากาศ การเกษตร และระบบนิเวศในเขตภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง ซึ่งประกอบด้วย กัมพูชา, สปป.ลาว, เมียนมาร์ (พม่า), ไทย และเวียดนาม
องค์กรเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา (United States Agency for International Development - USAID) เป็นหน่วยงานของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาที่ดำเนินการให้ความช่วยเหลือประเทศต่างๆ ทั่วโลกในด้านภัยพิบัติ ปัญหาความยากจน และการส่งเสริมการปฏิรูปประชาธิปไตย โดยมีสำนักงานภาคพื้นเอเชียตั้งอยู่ที่กรุงเทพมหานคร เพื่อดูแลโครงการต่างๆในระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศ รวมถึงให้การสนับสนุนสำนักงาน USAID ในภูมิภาคเอเชียที่เป็นความร่วมมือในระดับทวิภาคี และบริหารจัดการโครงการในประเทศที่ไม่มีสำนักงานของ USAID ตั้งอยู่ ในระดับภูมิภาค USAID ดำเนินงานเพื่อจัดการปัญหาข้ามชาติด้านต่างๆ เช่น การค้ามนุษย์และการค้าสัตว์ป่า โรคติดต่ออุบัติใหม่ โรคไข้มาลาเรีย และ เอชไอวีหรือเอดส์ สามารถเยี่ยมชมข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.usaid.gov/asia-regional หรือ @USAIDAsia สำหรับเฟชบุ๊คและทวิตเตอร์