ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ศวฮ.) สำนักงานเชียงใหม่ จัดทำโครงการ “การพัฒนาระบบควบคุมฟาร์มอัจฉริยะในโรงเรีอน โดยใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีสมัยใหม่แบบยั่งยืน ภาคเหนือตอนบน 1” เพื่อพัฒนาเกษตกรไทยให้เข้าสู่มาตรฐานฮาลาลเพื่อการเกษตร และเพื่อพัฒนาผู้ประกอบการสมุนไพรไทยให้ยกระดับมีมูลค่าสูงขึ้น และการโปรโมทสินค้าสมุนไพรที่มีมูลค่าสูง ให้แก่ผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศให้เป็นที่รู้จัก โดยในการจัดทำโครงการฯ ในครั้งนี้ มีการอบรมเชิงปฏิบัติการจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายด้านให้กับเกษตรกร เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่กลุ่มเกษตรกรภาคเหนือตอนบน 1 ได้แก่ เชียงใหม่, ลำพูน, ลำปาง, แม่ฮ่องสอน และยังได้ความร่วมมือจากภาคการศึกษา อาทิ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, มหาวิทยาลัยแม่โจ้, มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง และมหาวิทยาลัยพะเยา ที่ช่วยในการฝึกอบรม และถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม ทั้งนี้เมื่อวันที่ 19 กรกฏาคม 2566 ที่ผ่านมา คณะผู้จัดงานได้จัดกิจกรรมพาสื่อมวลชนเข้าเยี่ยมชมศูนย์เรียนรู้ฟาร์มอัจฉริยะ ณ ศูนย์การเรียนรู้ฟาร์มอัจฉริยะ ซันสเปซ ฟาร์ม ซึ่งได้รับเกียรติจาก รศ.ดรวินัย ดะห์ลัน ผู้อำนวยการและผู้ก่อตั้งศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ผศ.ดรภราดร สุรีย์พงษ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมพูดคุยให้ความรู้ และพาชมโรงเรือน Sun Space ที่เป็น 1 ใน 5 โรงเรือนที่ติดตั้งอุปกรณ์ SMART FARM จากโครงการฯ เพื่อพัฒนาระบบควบคุมฟาร์มอัจฉริยะในโรงเรือน ใช้นวัตกรรมเทคโลโลยีสมัยใหม่ภายในพื้นที่ และเพื่อแก้ไขปัญหา และลดความเสี่ยงด้านการจัดการปลูกพืชสมุนไพรในโรงเรือนอัจฉริยะ และเพื่อพัฒนาระบบการบริหารจัดการการปลูกพืชสมุนไพรในโรงเรือนอัจฉริยะด้านนวัตกรรมเทคโนโลยีสมัยใหม่ ให้เป็นโรงเรือนต้นแบบ เพื่อใช้และส่งต่อไปยังกลุ่มเกษตรกร รวมถึงกลุ่มที่สนใจ เพื่อนำผลิตผลทางการเกษตรในฟาร์มให้เป็นพืชปลอดภัยตามมาตรฐาน HAL-GAP ที่บูรณาการมาตรฐานเกษตรปลอดภัย และมาตรฐาน Halal ตามหลักศาสนบัญญัติอิสลาม ซึ่ง “ฟาร์มอัจฉริยะ” จะเป็นการประยุกต์เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อการปลูกพืชสมุนไพรในรูปแบบเกษตรอัจฉริยะ เป็นการนำเอาระบบเฝ้าระวัง (monitoring) และระบบควบคุม (control) ปัจจัยต่างๆ ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช เช่น การใช้น้ำ, อุณหภูมิ และความชื้น เป็นการนำเอาเทคโนโลยีใหม่ loT (Internet of Things) โดยการติดตั้งอุปกรณ์เซ็นเซอร์ (Sensor) และอุปกรณ์ควบคุม (Controller) ภายในโรงเรือน และส่งข้อมูลไปยังเซิร์ฟเวอร์ โดยเกษตรกรหรือผู้ใช้งานสามารถสั่งการ และเรียกดูการรายงานผลในรูปแบบข้อมูล และกราฟผ่านหน้าเว็ปไซต์ ทำให้สามารถลดต้นทุนการผลิต ในกระบวนการเพาะปลูก และเพิ่มผลผลิตให้สามารถส่งออกไปสู่ตลาดได้เพียงพอต่อตลาดที่มีอยู่ตามชุมชนได้มากขึ้น และยังลดการใช้เวลาและการพึ่งพาแรงงานได้อีกทางหนึ่ง ทั้งนี้ ที่โรงเรือน Sun Space ได้จัดให้ผู้ที่เข้าร่วมโครงการฯ ในครั้งนี้ได้เข้าชมฟาร์มอัจฉริยะ ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 หัวข้อหลักๆ อาทิ Training Unit (Hydroponic & Controller) โรงเรือนอัจฉริยะ และระบบควบคุมการปลูกพืชแบบไฮโดรโพนิกส์ เป็นการผสมผสานการทำ hydroponic แบบน้ำนิ่ง และแบบน้ำไหล ทำให้ใช้ประโยชน์ในด้านพื้นที่ได้โดยการเพิ่มจำนวนชั้นในการปลูกในแนวตั้ง และยังเป็นการใช้พลังงานจาก Solar Cell ในการปลูก โดยได้รวมระบบควบคุมการปลูกพืช hydroponic ด้วยระบบ Smart Farm พร้อมจัดทำเป็นศูนย์ศึกษาเรียนรู้การทำการเกษตรด้วยระบบ Smart Farm โดยใช้ระบบควบคุม network, ไฟฟ้า, เซ็นเซอร์ IoT และระบบควบคุมอุปกรณ์ IoT ไว้ด้วยกัน Software Control ระบบควบคุมการปลูกพืชอัจฉริยะสำหรับเกษตรกร - ประกอบด้วย 2 Platform อาทิ MetaFarm Platform เป็น IoT platform ที่มี function ของการทำ Smart Farming เช่น Dashboard การจัดการอุปกรณ์ การควบคุมอุปกรณ์ H Farm Bot เป็น Line bot ที่สามารถเชื่อมต่อกับ Metafarm Platform โดยเป็นช่องทางลัดสำหรับรับการแจ้งเตือน หรือเข้าควบคุมอุปกรณ์ และการตั้งค่าอุปกรณ์ต่างๆ Smart Distillator เครื่องแปรรูปสกัด Hydrosol และ Essential Oil เพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตรด้วยระบบ IoT และพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นการนำเทคโนโลยี IoT มาประยุกต์ใช้กับเครื่องกลั่นระบบไอน้ำ เพื่อควบคุมกระบวนการกลั่นให้ได้มาตรฐาน และสามารถปรับตั้งค่า Parameter ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการกลั่น เพื่อให้ได้ผลผลิตที่คุณภาพดี และมีความสม่ำเสมอ ลดของเสียจากความผิดพลาดจากการควบคุมโดยมนุษย์ Smart Dehydrator เตาอบพาราโบล่าแบบอัตโนมัติด้วยพลังงาน – เป็นการประยุกต์เทคโนโลยี IoT ในการอบแห้ง โดยมีการใช้พลังงานจาก Solar Cell เป็นหลักในการให้พลังงานอุปกรณ์ IoT device โดยที่ตัวระบบสามารถตั้งค่าโปรไฟล์การอบแห้งได้จากค่าอุณหภูมิ หรือความชื้นในอากาศ สามารถแสดงค่าจาก sensor อากาศได้ผ่าน Metafarm Platform ซึ่งส่งผลให้สามารถอบแห้งได้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิภาพ Train The Trainers แลกเปลี่ยนประสบการณ์จาก Smart Farm Trainer โครงการ Halal Smart Farming ได้จัดฝึกอบรมให้ตัวแทนเกษตรกรรุ่นใหม่ จำนวน 50 ราย เพื่อเป็น Trainer ที่ได้รับการอบรมจากโครงการ ซึ่งจะสามารถขยายผลการฝึกอบรมไปยังบุคคล หรือคณะบุคคลอื่นๆ ต่อไปในอนาคต โดยศูนย์เรียนรู้มีทั้งหมด 5 แห่ง อาทิ Sun Space Farm จ.เชียงใหม่ แอลลี่ ออแกนิกส์ ฟาร์ม จ.เชียงใหม่อาร์มฟาร์ม จ.ลำพูนStem Farm จ.ลำปางJJ Farm จ.แม่ฮ่องสอน และยังได้มีการชม Showcase จากผลผลิตทางการเกษตรของฟาร์มที่เข้าร่วมโครงการอีกด้วย อาทิ Flower Snack (ผลิตภัณฑ์ดอกไม้อบกรอบปรุงรส) ผลิตภัณฑ์ดอกไม้อบกรอบปรุงรส มาจากแนวคิดที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิตดอกอัญชัน แปรรูปโดยการอบแห้ง และปรุงรส ให้เป็นอาหารทานเล่นที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง อัญชันอบกรอบปรุงรสมี 3 รสชาติ อาทิ ต้มยำ, บาร์บีคิว และรสธรรมชาติ และในดอกอัญชันมีสารสำคัญ คือ แอนโทไซยานิน (Anthocyanins) ซึ่งเป็นสาราต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) Hydrosol Drinking Water (น้ำกลั่นจากพืชใช้สำหรับบริโภค) น้ำกลั่นจากพืชทั้ง 7 ชนิด ที่สามารถนำไปเป็นวัตถุดิบในการบริโภค ไม่ว่าจะเป็น เครื่องดื่ม หรือ อาหารPlant Cosmetics Color (การสกัดสีจากพีชเพื่อการทำสกินแคร์ และเครื่องสำอาง) - การสกัดสีจากพืช 5 อย่าง ได้แก่ ฝาง, ใบมะม่วง, อัญชัน, หมากแดง, ฮ่อม เพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิตจากการเกษตร และเป็นวัตถุดิบสำคัญในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์สกินแคร์ และเครื่องสำอาง Plant Probiotic (การทำโปรไบโอติกส์จากพืช) การหมักจุลินทรีย์จากธรรมชาติกับผลไม้ และพืชพื้นถิ่น (ข้าว, ลิ้นจี่, สับปะรด) ให้ได้โปรไบโอติกส์ เพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิตจากการเกษตรในท้องถิ่น และส่งเสริมเป็นวัตถุดิบสำคัญในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์สกินแคร์ และเครื่องสำอาง Plant Encapsulation (การเอ็นแคปซูเลชั่นสารสกัดจากพืช) การทำสารสกัดจากขิง และโรสแมรี่ ที่ผ่านการ Encapsulation เพื่อเป็นส่วนประกอบสำคัญในผลิตภัณฑ์กลุ่มดูแลหนังศีรษะ และเส้นผมได้อย่างตรงจุด และมีประสิทธิภาพ Nail Serum (เนลเซรั่ม) ผลิตภัณฑ์บำรุงเล็บ โดยมีข้าวหอมมะลิ น้ำมันงาขี้ม่อน, น้ำมันเมล็ดชา เป็นส่วนประกอบ ที่จะช่วยดูแลสุขภาพเล็บ และผิวให้ดีขึ้น Quranic Energy Bar (ขนมอบกรอบให้พลังงาน ผลไม้ผสมธัญพืช) เป็นผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อกลุ่มคนที่รักสุขภาพ เพื่อชดเชยความต้องการของโปรตีน และสารอาหารที่มีประโยชน์ ซึ่งประกอบด้วยผลไม้ที่มีการกล่าวถึงในอัลกุรอาน คือ อินทผลัม, มะเดื่อ, องุ่น, เทียนดำ (ฮับบะตุเซาดะห์), กล้วย, น้ำผึ้ง, ซีเรียล และพืชตระกูลถั่ว ซึ่งส่วนผสมทั้งหมดมีศักยภาพสูงมากในการทำหน้าที่เป็นอาหารเพื่อสุขภาพ และเป็นผลิตภัณฑ์ที่จะสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับอุตสาหกรรมอาหารว่างฮาลาลได้ Butternut Squash Flour (เส้นพาสต้าจากแป้งบัตเตอร์นัทสคอวช) คือการนำแป้งสควอชเพิ่มมูลค่าโดยการพัฒนาผลิตภัณฑ์เป็นเส้นพาสต้าสควอช ซึ่งแหล่งโภชนาการที่ดี และมีประโยชน์อย่างมากต่อสุขภาพ และเป็นแป้งที่อุดมด้วยแร่ธาติ ช่วยเพิ่มสุขภาพดวงตา ลดความเสี่ยงของโรคมะเร็ง และรักษาระดับความดันโลหิต Seven Day Tea (ชา 7 สี) ผลิตภัณฑ์ชา 7 สี ประกอบด้วย Ginger Tea, Lemongrass Tea, English Breakfast, Jasmine Tea, Peppermint Tea, Oolong Tea, Darjeeling Tea Plant Food Color (การสกัดสีจากพืชเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมอาหารและยา) - การสกัดสีจากพืช 4 ชนิด อาทิ ดอกอัญชัน (สีน้ำเงิน), ฟักทอง (สีเหลือง), บีทรูท (สีแดง), ใบเตย (สีเขียว) โดยใช้เทคนิค Encapsulation ด้วยเครื่อง Spray Dryer เพื่อให้ได้สีที่ใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร และยา ซึ่งสารสีนี้มีคุณค่าทางอาหารที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับพืชท้องถิ่น สำหรับเกษตรกร และประชาชนทั่วไปที่ต้องการข้อมูลโครงการ “การพัฒนาระบบควบคุมฟาร์มอัจฉริยะในโรงเรือน โดยใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีสมัยใหม่แบบยั่งยืน ภาคเหนือตอนบน 1” สามารถดูรายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.facebook.com/HalalSmartFarm?mibextid=LQQJ4d