ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ศาลากลางจังหวัดเลย นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม ผู้ว่าราชการจังหวัดเลย นายสุมิตร อนุนิวัฒน์ ผู้อำนวยการแขวงทางหลวงเลยที่ 1 พร้อมกับเจ้าหน้าที่ และตัวแทนกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ได้ร่วมปรึกษา และหาข้อเสนอแนะแนวทาง ของการศึกษาความเหมาะสม ด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรม และผลกระทบสิ่งแวดล้อม โดยจังหวัดได้ทุมงบประมาณการศึกษา 24.4 ล้านบาทของโครงการ การก่อสร้างทางเลี่ยงเมืองจังหวัดเลย นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม เผยว่า ในปีนี้ทางกระทรวงคมนาคม ได้มอบงบประมาณมา 24.4 ล้าน เพื่อจ้างบริษัทที่ปรึกษา ให้ศึกษาโครงการก่อสร้างทางเลี่ยงเมืองว่า จะไปยังไง ทิศทางไหน และเริ่มก่อสร้างจากจุดไหนหลังจากศึกษาได้ข้อสรุปโดยมีคะแนนเป็นตัวตั้ง ความเป็นไปได้ในแต่ละพื้นที่ ถ้าพื้นไหนกระทบสิ่งแวดล้อมมาก หรือเส้นทางนั้นจะคุ้มค่าทางเศรษฐกิจมากแค่ไหนอย่างไร ทั้งหมดต้องรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ แล้วนำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์ จากก็ทำรายงานทั้งผลกระทบสิ่งแวดล้อม หลังจากนั้นก็จะทำแผนเพื่อให้กรมทางหลวงออกแบบและของบประมาณการก่อสร้างต่อไป ทั้งนี้ขอให้พี่น้องชาวจังหวัดได้ร่วมระดมความคิดเห็นและร่วมกันออกแบบ ข้อเสนอแนะต่อการดำเนินการของโครงการทางเลี่ยงเมืองของจังหวัดเลยต่อไป ซึ่งได้เริ่มงานตั้งแต่วันที่ 5 มิถุนายน 2563 สิ้นสุดวันที่ 28 สิงหาคม 2564 ระยะการศึกษาโครงการ 450 วัน โดยวัตถุประสงค์ของโครงการ ทั้งเพื่อศึกษาคัดเลือกแนวเส้นทางและรูปแบบการพัฒนาที่เหมาะสมในการก่อสร้างทางเลี่ยงเมืองเลย รวมทั้งศึกษาความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจและวิศวกรรม ในการลงทุนของโครงการ และรวบรวมวิเคราะห์สภาพสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน และดำเนินการประมินผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อม ที่จะเกิดขึ้นเนื่องจากการพัฒนาโครงการ พร้อมทั้งเสนอแนะมาตรการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม มาตรการป้องกัน แก้ไข ผลกระทบสิ่งแวดล้อม มาตรการส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม มาตรการในการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม รวมทั้ง แผนการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้เพื่อเป็นการส่งเสริม สนับสนุน และเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น และข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาโครงการ รวมทั้ง สร้างความสัมพันธ์อันดีกับชุมชนเจ้าหน้าที่ภาครัฐ องค์กรเอกชน และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง เพื่อชาวจังหวัดเลยได้รับผลประโยชน์ รับความสะดวกของโครงการในอนาคตของต่อไป และให้มีผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด