สมาพันธ์ครูจังหวัดชายแดนภาคใต้ สรุปผลงานในรอบ 16 ปี และแถลงข่าวในการนำเสนอข้อมูลต่อรัฐบาลเนื่องในโอกาสวันครูประจำปี 2563
สมาพันธ์ครูจังหวัดชายแดนภาคใต้ สรุปผลงานในรอบ 16 ปี และแถลงข่าวในการนำเสนอข้อมูลต่อรัฐบาลเนื่องในโอกาสวันครูประจำปี 2563
นายบุญสม ทองศรีพราย ประธานสมาพันธ์ครูจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นประธานที่ประชุมคณะกรรมการสมาพันธ์ครูฯ เพื่อสรุปผลการดำเนินงานในรอบ 16 ปี และแถลงข่าว ในการนำเสนอข้อมูลต่อรัฐบาลเนื่องในโอกาสวันครูประจำปี 2563 ที่ ห้องประชุมสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา จ.ปัตตานี โดยในรอบ 16 ปีที่ผ่านมา ทางสมาพันธ์ครูจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้เรียกร้องเพื่อสิทธิ์ให้กับครู และ บุคลากรทางการศึกษาที่ต้องสูญเสียชีวิต รวมทั้งสิ้น 182 ราย
ด้านนายบุญสม ทองศรีพราย ประธานสมาพันธ์ครูจังหวัดชายแดนภาคใต้ เปิดเผยว่าในรอบ 16 ปี ที่ผ่านมาต้องยอมรับว่านับตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมา กรณีปล้นฆ่าที่ค่ายปิเหล็ง มาจนถึงวันนี้ครูในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ พึ่งได้ชื่อว่าปูชนียบุคคลของแผ่นดินได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นค่อนข้างมาก ชนิดที่ไม่มีใครคาดคิดว่า ผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นครูจะได้รับผลกระทบมากมายเช่นนี้ ในรอบ 16 ปีที่ผ่านมา ครูและบุคลากรทางการศึกษาเสียชีวิต มากถึงจำนวน 182 ราย ยังไม่รวมผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ สาหัส และที่สำคัญคือ ครูที่ได้รับบาดเจ็บจนถึงขั้น ทุพพลภาพ อย่างสิ้นเชิง ความสูญเสีย ความพลัดพราก คนที่รักไปจาก อ้อมอก ไปจากความอบอุ่นจากครอบครัว ซึ่งบุคคลเหล่านั้นไม่ได้เป็นผู้ก่อเหตุที่เกิดขึ้น แต่เกิดจากความไม่ปลอดภัยที่เกิดขึ้น ที่เกิดจากวิกฤตที่เกิดขึ้นวันนี้ ทางสมาพันธ์ครู จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นองค์กรหนึ่ง ที่เข้ามามีบทบาทเพื่อดูแลครูในเรื่องของสวัสดิภาพสวัสดิการและการศึกษา ขอสรุปว่า การเยียวยาชดเชยให้ได้มาซึ่ง ผลตอบแทนที่ครูสูญเสีย คงใช้คำว่าไม่คุ้ม แต่อย่างไรก็ตาม ครูจังหวัดชายแดนภาคใต้ ก็ยังเป็นวีรชนคนกล้า ที่จะทำงานเพื่อการศึกษา สมาพันธ์ครูจังหวัดชายแดนภาคใต้ เริ่มเข้ามาทำงานและเรียกร้องสิทธิ ที่ควรจะได้รับ เพื่อครูที่ได้รับผลกระทบ ก็ต้องขอบคุณหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกหน่วยงาน สิ่งที่เราได้รับในวันนี้เริ่มจากเงินเสี่ยงภัยและเงินเพื่อพัฒนาคุณภาพทางการศึกษา ซึ่งได้รับคนละ 3,500 บาท เราได้รับสิทธิ การเลื่อนขั้นกรณีพิเศษ ในโควตา จำนวน 25% จากศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ เราได้รับ การพิจารณา ให้มีวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ โดยใช้เกณฑ์ ว10 เป็นเกณฑ์เชิงประจักษ์ ให้ครูในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมทั้งใน 4 อำเภอของสงขลา ซึ่งเป็นอานิสงส์จากกระทรวงศึกษาธิการ โดยรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการในยุคนั้นอนุมัติมา ทำให้ครูได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นครูอายุแค่ 33 ปี ในพื้นที่ยังได้ชำนาญการพิเศษ อันนี้เป็นความสุดยอด ครูได้รับการบรรจุให้เป็นทายาท จากการสูญเสียของบิดา มารดา ของญาติพี่น้อง ทายาทเหล่านี้ที่มีสิทธิ์และคุณสมบัติครบ ก็จะได้รับการบรรจุเป็นครูตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดขึ้น หรือสุดท้ายสิ่งที่เราได้รับในวันนี้คือการ ได้รับเงิน พ.ส.ร. ในบางส่วน แต่สิ่งที่อยากเห็นภาพก็คือ สิทธิเหล่านี้เราพูดอยู่เสมอว่า มันแลกด้วยชีวิต ไม่ใช่ ได้มาง่ายๆ เพราะฉะนั้นความสูญเสีย แม้ว่าเราจะได้รับอะไรก็ตาม ความสูญเสียก็ยังอยู่ในใจของครูในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้อยู่เสมอตลอด 16 ปี
สำหรับในวาระวันครู แห่งชาติประจำปี 2563 ก็อยากจะวิงวอน ท่านพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และผู้เกี่ยวข้องกับการศึกษา ได้โปรดรับรู้ และดูแลครูในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างต่อเนื่อง และสม่ำเสมอ เพราะถึงแม้ว่าเหตุการณ์จะดีขึ้นก็ตามวันนี้ต้องยอมรับว่าต้องขอบคุณ หน่วยงานทางด้านความมั่นคงเป็นกรณีพิเศษ ที่ทำให้ความสูญเสียตั้งแต่ปี 59 นางสาวสุนิสา บุญเย็น ครู กศน. เป็นครูรายสุดท้ายที่สูญเสีย และเราก็ไม่ได้พบความสูญเสีย นั่นหมายถึงว่าฝ่ายความมั่นคง ชุมชน ครู และทุกฝ่ายทำงานด้วยกันด้วยความรอบคอบสิ่งที่อยากจะฝากด้านความมั่นคงคือ เรื่องแรกก็คือ การทำงานแบบบูรณาการ ให้นึกถึงชีวิตความสูญเสียของครูและบุคลากรทางการศึกษา 2 กาทำ MOU จะต้องเป็น MOU ที่ชัดเจน ที่จะนำไปสู่การปฏิบัติ 3 จะต้องสร้างความเข้าใจให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง ผมเชื่ออย่างเดียวว่า ถ้าชุมชนเข้มแข็ง ทุกสิ่งทุกอย่างกับครูก็จะไม่เกิด แล้วสุดท้ายก็คือให้มุ่งเน้นการทำงานที่มีประสิทธิภาพมีคุณภาพมุ่งประโยชน์ของครูเป็นหลัก นั่นคือเรื่องของสวัสดิภาพ ที่ทางสมาพันธ์ครูฯ เรียกร้องเป็นประเด็นสำคัญ ทางสมาพันธ์ครูฯพร้อมที่จะให้ความร่วมมือการทำงานเพื่อประโยชน์ของครู มีความปลอดภัยต่อไป
ประการที่ 2 ที่อยากเรียกร้องก็คือ เรื่องการบรรจุทายาทซึ่งขณะนี้แม้ว่า ทายาทของครูที่ พบกับความสูญเสียจะได้รับการบรรจุเป็นครูมาแล้วก็ตามก็ยังมีกระทรวงหลายกระทรวงไม่ยอมรับที่จะนำระเบียบ สำนักนายกปี 50 มาสู่การปฏิบัติ ครูก็อยากมีอาชีพอื่นนอกจากความเป็นครู ขอเรียกร้องว่าถ้าทายาทของครูมีคุณสมบัติครบตามประกาศของกระทรวงนั้นให้ยึดระเบียบสำนักนายกคือบรรจุทายาทให้เข้ารับราชการตามที่ทายาทต้องการ นี้คือสิ่งที่เรียกร้องใบยาวนาน
ประการที่ 3 การรักษาพยาบาล คนที่เป็นทายาท ที่มีชีวิตอยู่ ไม่ว่าจะเป็นบิดา มารดา หรือบุตร ที่ยังมีชีวิตอยู่ เสาหลักที่เขาเคยใช้สิทธิ์ในการเบิกค่ารักษาพยาบาล กลับมาเสียชีวิตจากสถานการณ์ คนเหล่านี้ก็จะหมดสิทธิ์ ซึ่งบุคคลเหล่านั้นไม่ได้มีความผิดเลย แต่ทำไมต้องมาเสียสิทธิ์จากการ ที่มีลูกเป็นครูเป็นข้าราชการครูวันนี้อย่าให้กระทรวงศึกษาธิการขับเคลื่อนให้ทายาทที่มีชีวิตอยู่ได้มีสิทธิ์เบิกเป็นกรณีพิเศษให้สมกับคำว่าเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้
ประการที่ 4 ในการเลื่อนขั้นกรณีพิเศษ หรือที่เรียกว่าขั้นศอบต. สมาพันธ์ครูจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีมุมมองว่าอยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น ศอบต จังหวัดและอำเภอ ให้ความเป็นธรรมกับครูหมายถึงว่าการเลื่อนขั้นเหล่านี้ให้ยึดกลุ่มจำนวนกลุ่ม โควตา จำนวนปริมาณของครูเป็นหลักครูมีเยอะก็ควรจะได้เยอะ 25% ควร จะกระจายไปทุกกลุ่ม ตามสัดส่วนของ ข้าราชการนั้นๆ ให้ได้สิทธิ์ เสมอภาคเพราะทุกคนถือว่าเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีการทำงานที่เสี่ยงเหมือนกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามองในเชิงลึก ครู เสียชีวิตมากกว่าหน่วยงานอื่น เสียด้วยซ้ำไปยกเว้น เจ้าหน้าที่ทหารตำรวจ
ประการที่ 5 เรียกร้องการบรรจุครูธุรการ และครูพี่เลี้ยง โดยเฉพาะครูธุรการ วันนี้คนเหล่านั้นเป็นเด็กๆเป็นน้องๆเป็นลูกหลาน ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เขาควรจะได้รับการบรรจุ ให้เป็นพนักงานราชการ และที่สำคัญคือมีเงินเสี่ยงภัยตอบแทนเพราะเขาก็ปฏิบัติหน้าที่ในโรงเรียนที่เสี่ยงภัย อยู่ทุกวันอย่าไปตัดส่วนนี้เลย งบประมาณ ยังคงมีอยู่ ดูแลคนเหล่านั้นให้ความก้าวหน้า รวมทั้งหมดเป็นเรื่องของความมั่นคง ที่เชื่อมโยงไปสู่การปฏิบัติ เชื่อมโยงไปสู่มิติของการศึกษา ที่มีความก้าวหน้าต่อไป
และก็เรียกร้อง ประการที่ 6 เรียกร้องให้ การบรรจุนักการภารโรง ในพื้นที่อื่น เราไม่รู้แต่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้มีความจำเป็น เพราะนักการภารโรงเป็นคนในพื้นที่สามารถทำหน้าที่ได้ทั้งเป็นนักการและรักษาความปลอดภัยให้กับโรงเรียน ได้เพราะฉะนั้นในวันนี้กระทรวงศึกษาธิการควรจัดงบประมาณลงมา ในพื้นที่จ้างนักการภารโรงให้ครบทุกโรงเรียนให้ได้
ประการที่ 7 ยกระดับคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ให้มี ประสิทธิภาพให้มีคุณภาพแล้วให้มีการดูแลเรื่องงบประมาณในการจัดการให้ มีบทบาท ด้านความมั่นคง เชื่อว่า ให้คนในพื้นที่ดูแลโรงเรียน โรงเรียนจะไม่ถูกเผา ครูจะไม่ถูกยิง เพราะว่าคนเหล่านั้นเป็นศิษย์เก่า เป็นผู้นำศาสนา เป็นครูและเป็นบุคคลที่อยู่ในพื้นที่ทั้งสิ้น แต่วันนี้กระทรวงศึกษาธิการไม่ค่อยยกระดับคุณภาพ ของกรรมการสถานศึกษาเท่าที่ควร
และประการสุดท้ายเรื่องที่อยากจะฝากเป็นข้อสุดท้ายก็คือ การบริหารการศึกษา วันนี้จะพบว่าทั้งในระดับประเทศและระดับ จังหวัดชายแดนภาคใต้ จะพบว่าการศึกษาซับซ้อน โดยเฉพาะด้านโครงสร้าง พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เกิดหน่วยงานใหม่ขึ้นมา ลองทบทวนดูว่า วันนี้หน่วยงานงานที่เกิดขึ้นมันซับซ้อน กับหน่วยงานที่มีอยู่หรือเปล่า ถ้าซ้ำซ้อนจะทำยังไงถ้าไม่ยุบ ไม่เลิก ก็ควรจะกำหนดให้เป็น หน่วยงาน แค่กำหนดยุทธศาสตร์ควบคุม กำกับ การกระจายอำนาจ กระจายงบประมาณ กระจายคนกระจายการจัดการ ให้ไปอยู่หน่วยงานด้านการศึกษาที่มีอยู่แล้ว อย่าไปซ้ำซ้อนกัน เพราะบางโครงการต้องประเมินว่าผลผลิตที่เกิดขึ้นมันคุ้มค่ากับการลงทุนหรือเปล่า อันนี้รวมถึงทั้งประเทศที่มันซ้ำซ้อนอยู่ ในมุมมองของสมาพันธ์ครูจังหวัดชายแดนภาคใต้มองว่าหน้าที่ที่เป็นอำนาจของหน่วยงานนั้น ก็คืนกลับเข้าไป สวนองค์กรใหม่ที่เกิดขึ้นตามอำนาจ คสช.ถ้ายังคงไว้ก็ขอให้มีหน้าที่ในการกำหนดยุทธศาสตร์ในการ กำกับ ควบคุม ติดตาม ทุกอย่างจะได้ไม่มีปัญหา การศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้จะได้เดินไปสู่มิติที่เจริญก้าวหน้า ลบความสบประมาทว่าจังหวัดชายแดนภาคใต้อยู่รั้งท้าย ของการจัดลำดับทางการศึกษา ตนเชื่อมั่นว่าการจัดการศึกษาเท่านั้น ไฮเทคมีความรู้ให้เด็กรักชาติศาสนาพระมหากษัตริย์ให้เด็กเป็นคนดี นำไปสู่การแก้ปัญหาที่ถาวรและยั่งยืน ให้กับจังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อไป ในโอกาสวันครูปีนี้ ขออวยพรให้ครู ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และครูทั่วประเทศ ขอให้มีความสุข และสุขภาพที่สมบูรณ์ มีความมุ่งมั่นในการทำงาน เพื่อวิชาชีพ เพื่อเด็กเพื่อการศึกษา ด้วยความเสียสละ ครูจังหวัดชายแดนภาคใต้ขอยืนยันต่อหน้าพี่น้องต่างประเทศว่าจะยังคงยืนหยัดทำงานเพื่อเด็กเพื่อการศึกษาต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง ทำงานให้สมกับคำว่า ครูวีรชนชายแดนใต้