ตัวแทนเเยาวชน อ.จะนะ และประชาชน เดินทาง ยื่นจม.เขียนด้วยลายมือ 13 ฉบับ ถึงนายกฯ ต้องการอนาคต และ 1 ฉบับถึงปธ.สภาผู้แทนราษฎรขอ ส.ส.เป็นกลาง

ตัวแทนเยาวชน อ.จะนะ ประชาชนจะนะ 16 ชีวิต เดินทาง ยื่นจดหมายที่เขียนด้วยลายมือ 13 ฉบับ ถึง นายกรัฐมนตรี ต้องการอนาคต และ 1 ฉบับถึง ปธ.สภาผู้แทนราษฎร ขอให้ ส.ส. ทำตัวเป็นกลางทางการเมือง ฟังเสียงประชาชนทุกฝ่าย
เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2563 เวลา 10.15 น. กลุ่มตัวแทนเยาวชนและประชาชนในพื้นที่อำเภอจะนะ เดินทางมายื่นหนังสือ ที่เขียนด้วยลายมือ จำนวน 13 ฉบับ ถึงนายกรัฐมนตรี ที่ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ทำเนียบรัฐบาล เพื่อแสดงเจตนาขอสนับสนุนให้มีการพัฒนาในพื้นที่อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ภายใต้โครงการเมืองต้นแบบ “นิคมอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคต” เพราะเชื่อว่าจะสามารถสร้างรายได้ และสร้างความเจริญให้แก่ครอบครัวและชุมชนได้ โดยเฉพาะเพื่อนๆในชุมชนจำนวนมากที่ครอบครัวมีฐานะยางจน ไม่สามารถส่งเสียให้ไปเรียนได้ พ่อแม่หลายคนต้องไปทำประมง และไปเป็นลูกจ้างตามร้านอาหารที่ประเทศมาเลเซีย เนื่องจากการออกทะเลอย่างเดียวรายได้ไม่แน่นอนและไม่เพียงพอกับสิ่งที่ต้องมาเลี้ยงดูที่บ้านพร้อมแสดงความรู้สึกเป็นห่วงเพื่อนไคเรียะ ระหมันยะ เพื่อนจากตำบลนาทับที่ขึ้นมายื่นหนังสือคัดค้านโครงการ เพราะกังวลว่าจะไปเป็นเครื่องมือทางกลุ่ม NGO หรือเครื่องมือทางการเมือง เพราะทุกคนล้วนรักบ้านเกิดของตัวเองไม่น้อยไปกว่าคนอื่น เนื่องจากทุกคนเกิดและเติบโตในพื้นที่ทั้งนี้มี นายสุภรณ์ อัตถาวงศ์ ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับหนังสือ
นางสาว อุบลวรรณ สอโซ๊ะ ผู้แทนเยาวชนตำบลนาทับ ฝากถึงนายกรัฐมนตรีว่า “หนู่ไม่อยากหให้หมู่บ้านของหนูหลาดโอกาสดีๆที่จะเข้ามาทำให้ชุมชนของเราดีขึ้น ทั้งด้านการศึกษา โอกาสและความก้าวหน้าในการทำงาน การเงิน การกิน และการเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ถ้ามีกาสทางการศึกษาที่มากขึ้น มีงานทำ ปัญหาทางสังคมก็จะลดน้อยลง หนูอยากให้ธรรมชาติที่บ้านหนู้เติบโตไปพร้อม ๆ กับอุตสาหกรรมที่มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน”
นอกจากนี้ นายณัฐวุฒิ หนึ่งในเยาวชนคนที่มายื่นหนังสือสนับสนุนให้การมีการพัฒนา ฝากถึงนายกรัฐมนตรีว่า “อยากให้คนที่ไม่ศึกษา ที่ตกงาน มีงานทำที่ดีเป็นหลักเป็นแหล่ง สำหรับคนที่เรียนอยู่ไม่มีทุนการศึกษาอยากให้มีทุนการศึกษา สำหรับคนที่ว่างงาน คนในชุมชนจะได้มีงานอื่นทำ นอกจากทำประมง ครอบครัวที่ทำงานอยู่ไกล เช่นต่างจังหวัด หรือต่างประเทศจะได้กลับมาทำงานที่บ้านหรือใกล้ๆบ้าน เพื่อได้อยู่กับครอบครัว”
จากนั้นเวลา 11.30 น. ได้เดินทางไปยังรัฐสภาแห่งใหม่ เพื่อยื่นหนังสือถึง ประธานสภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้ข้อมูลว่าโครงการดังกล่าวไม่ได้มีการปิดกั้นการมีส่วนร่วมของประชาชนแต่งอย่างใด นางมณี อนันทบริพงศ์ ในฐานะประธานสภาองค์กรชุมชนตำบลสะกอม และเป็นผู้ร่วมขับเคลื่อนการสร้างการรับรู้และการสร้างความเข้าใจให้แก่ชาวบ้าน มาตลอดระยะเวลากว่า 1 ปี ตั้งแต่มีมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2562 นอกจากนี้ ฝากเรียกร้องให้ ประธานสภาผู้แทนราษฎร“พิจารณาให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทุกคน แสดงบทบาทตามอำนาจหน้าที่อย่างเหมาะสมและเป็นกลาง รับฟังความเห็นรอบชุมชนทุกฝ่ายอย่างรอบด้านและไม่ใช้ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในพื้นที่ไปเป็นเครื่องมือทางการเมือง”นางมณีฯ ทิ้งท้ายว่า ขอเรียกร้องให้สื่อทำหน้าที่อิงประโยชน์สูงสุดให้ประชาชนอยู่เคียงข้างประชาชน ชวนลงพื้นที่มารับฟังเสียงสะท้อน ข้อเท็จจริงจากชาวบ้านในพื้นที่ว่าคิดเห็นอย่างไร อยากให้มาช่วยรับฟังและสะท้อนสิ่งที่ชาวบ้านคิดเห็นและความรู้สึก ไม่อยากให้เอาเพราะเรื่องนี้เป็นปัญหา ความขัดแย้งเสนออย่างเดียว