ที่ห้องประชุมโรงเรียนวัดคลองยอ บ้านคลองยอ ตำบลวังใหญ่ อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา นายบุญสม ทองศรีพราย ประธานสมาพันธ์ครูจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นประธานในที่ประชุม ร่วมคณะกรรมการสมาพันธ์ครูฯ เพื่อติดตามความคืบหน้าในการดำเนินงานของทางสมาพันธ์ฯ ในตลอดระยะเวลา 17 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะในเรื่องของการเยียวยาครูผู้ได้รับผลกระทบ จากสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมถึงข้อเรียกร้องต่างๆ ในเรื่อง ของสวัสดิภาพและสวัสดิการครูในพื้นที่เสี่ยง ซึ่งได้มีการติดตามความคืบหน้าในการช่วยเหลือเยียวยาทายาทครู ผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ในความไม่สงบรายละ 4 ล้านบาท การขอให้กระทรวงศึกษาธิการ และสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พิจารณาชะลอการยกเลิกเกณฑ์การขอมีและเลื่อนวิทยฐานะ ว.10 จังหวัดชายแดนภาคใต้ในปี 2565 การจัดสรรโควต้าบำเหน็จความชอบเป็นกรณีพิเศษ (ศอ.บต.) ให้แก่ครูและบุคลากรทางการศึกษา ตามสายบังคับบัญชาของกระทรวงศึกษาธิการในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ นอกจากนี้ยังได้ร่วมกัน ประชุมเตรียมจัดงานรำลึกคุรุวีรชนครั้งที่ 12 ภายใต้สถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 เบาบางลง ซึ่งคาดว่าจะจัดได้ในเดือนตุลาคม 2564 ซึ่งถือเป็นหน้าที่ที่สำคัญที่ทางสมาพันธ์ครูจังหวัดชายแดน ภาคใต้ได้ทุ่มเททั้งแรงกายแรงใจในการต่อสู้และผลักดัน ประสานความร่วมมือกับทุกหน่วยทุกองค์กร เพื่อช่วยเหลือครูที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบ ตลอดระยะเวลา 17 ปี ที่ผ่านมาอย่าง ความภาคภูมิใจ ด้านนายบุญสม ทองศรีพราย ประธานสมาพันธ์ครูจังหวัดชายแดนภาคใต้ กล่าวว่า ในนามของสมาพันธ์ครูจังหวัดชายแดนภาคใต้ ขอขอบคุณหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่ได้ดูแลครูและบุคลากรทางการศึกษามาโดยตลอดนับตั้งแต่ปี 2547 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เกิดสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ จังหวัดชายแดนภาคใต้ขึ้นมา กลุ่มวิชาชีพครูได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ดังกล่าวโดยตรง ซึ่ง พวกเราก็ไม่คิดว่าสถานการณ์จะยืดเยื้อจนถึงปัจจุบัน โดยมีครู เสียชีวิตรวมแล้ว 183 ราย ทุพพลภาพ 11 ราย และมีผู้บาดเจ็บอีกจำนวนมาก และที่สำคัญก็มี ผลกระทบด้านขวัญและกำลังใจ ความสูญเสียที่เกิดขึ้นในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ทายาทบางรายใช้ชีวิตอย่างยากล าบากโดยเฉพาะกลุ่มที่ทุพพลภาพ ในวันนี้ทางสมาพันธ์ครูจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้ติดตามผลการช่วยเหลือครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ตลอดระยะเวลา 17 ปี ที่ผ่านมา เพื่อเรียกร้องไปยัง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อช่วยเหลือครูเท่าที่จะทำได้ เท่าที่จะเสนอได้ ซึ่ง โดยประเด็นแรก ต้องขอขอบคุณกระทรวงศึกษาธิการภายใต้การนามของ นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ขอขอบคุณสำนักปลัดกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครู และบุคลากรทางการศึกษา ที่เข้ามาช่วยเหลือครูและบุคลากรทางการศึกษาที่เสียชีวิต จากสถานการณ์ตามมติ ครม. ปี 2556 เงินช่วยเหลือเยียวยารายละ 4 ล้านบาท ซึ่งทราบว่าขณะนี้ รัฐมนตรีว่ากา กระทรวงศึกษาธิการ สำนักปลัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ออกเป็นประกาศ จัดทำข้อมูลเพื่อช่วยเหลือ สร้างความรู้สึกที่ดี สร้างความมั่นใจในชีวิตของครูและบุคลากรทางการ ศึกษาที่ได้รับผลกระทบ จากที่เคยรู้สึกว่าเหมือนตายทั้งเป็น จะได้กลับมาใช้ชีวิตอย่างปกติสุขอีกครั้ง โดยเฉพาะในส่วนของผู้เสียชีวิตตามมติ ครม. รวมทั้งสิ้น 162 ราย ได้เร่งดำเนินการในเรื่องนี้ให้เร็วสุด อีกกลุ่มหนึ่งที่อยากจะฝากถึงกระทรวงศึกษาธิการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็คือ ครูและบุคลากร ทางการศึกษาที่ทุกพลภาพจากสถานการณ์ความไม่สงบ จำนวน 11 ราย โดยได้นำเสนอข้อมูลสภาพ ที่ครูต้องใช้ชีวิตอย่างยากลำบาก ผ่าน ทาง ศอ.บต. ซึ่งทางท่านเลขา ศอ.บต. จะนำข้อมูลดังกล่าว เข้าวาระเพื่อผลักดันให้มีการน าข้อมูลเข้า ครม. เพื่อช่วยเหลือบุคคลเหล่านี้ต่อไป ประเด็นที่ 2 ก็คือ ในเรื่องของการเยียวยาช่วยเหลือครอบครัวครูชายแดนใต้ มีหน่วยงานหนึ่งที่ดูแลครูมาโดยตลอดตั้งแต่ปี พ.ศ.2552 จนถึงปัจจุบัน ก็คือสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริม สวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) โดยภายใต้การนำของท่านธนพร สมศรี เลขาธิการคณะกรรมการ สกสค. ได้เข้าช่วยเหลือและมีความผูกพันกับครูใต้มาโดยตลอด นับตั้งแต่ตั้งกองทุนช่วยเหลือครูตั้งแต่ปี 2552 – ปี 2555 สกสค. ได้ช่วยเหลือครูที่เสียชีวิตจาก สถานการณ์ความไม่สงบใช้งบประมาณถึง 23,500,000 บาท และ ปี 2556 ได้ตั้งศูนย์ช่วยเหลือครอบครัวครูชายแดนใต้ขึ้นมา เพื่อช่วยเหลือครูที่เสียชีวิตจากสถานการณ์ความไม่สงบ ภายใต้ ข้อกำหนดตามระเบียบว่าด้วยการการจ่ายเงินกองทุนสวัสดิการผู้เสียชีวิตในการปฏิบัติหน้าที่กรณีพิเศษ 2552 โดยมีเงินกองทุนจำนวน 10 ล้านบาท และได้เข้าช่วยเหลือครูชายแดนใต้แล้วทั้งหมด 7 ราย เป็นเงินทั้งสิ้น 3,500,000 บาท ซึ่งศูนย์ช่วยเหลือครูชายแดนใต้ ถือเป็นหน่วยงานที่ดูแลครู ด้านสวัสดิการและสวัสดิภาพครูโดยตรง ก็ขอให้มีศูนย์นี้ตลอดไป เพราะเป็นความต้องการของครูในพื้นที่จังหวัดชายภาคใต้โดยตรง และมีความเชื่อมั่นว่าเป็นหน่วยงานหลักที่เข้ามาดูแลครูอย่างจริงจัง ประเด็นที่ 3 ก็คือ การขอรับบำเหน็จความชอบเป็นกรณีพิเศษ นอกเหนือจากโควต้าปกติ ซึ่งก็ขอขอบคุณท่าน พล.ร.ต.สมเกียรติ ผลประยูร เลขา ศอ.บต. ที่รับฟังเสียงครูใต้มาโดยตลอด ที่เข้ามาดูแลโควต้าในกลุ่มข้าราชการให้สอดคล้องกับประกาศตามหลักเกณฑ์การช่วยเหลือเลื่อนขั้นในกรณีพิเศษ มองที่กลุ่มคน มองที่ความยากลำบาก มองที่คุณภาพของคนที่ทำงาน ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างทั่วถึง เป็นธรรม และเท่าเทียม ก็ต้องขอบคุณเป็นอย่างสูง ประเด็นที่ 4 ก็คือ เรื่อง การจัดงานคุรุวีรชนครูชายแดนใต้ ซึ่งจัดมาแล้ว 11 ครั้ง ในปีนี้ ก็จะมีการจัดงานเช่นเดียวกัน แต่จะจัดรูปแบบให้เข้ากับสถานการณ์โควิด 19 ซึ่งเรายังรำลึกถึงครูและบุคลากรทางการศึกษาที่เสียชีวิตจากสถานการณ์ความไม่สงบ ซึ่งรายละเอียดของการจัดงานจะมีการแถลงข่าวให้ทราบอีกครั้ง ประเด็นที่ 5 อยากจะกราบเรียนไปยังสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา(ก.ค.ศ.) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ดูแลครูในทุกๆด้าน ตั้งแต่การบรรจุทายาท ให้มีงานท า การเลื่อนวิทยฐานะ เป็นชำนาญการพิเศษ โดยหลักเกณฑ์ตาม ว10 ซึ่งทราบมาว่ามติ ก.ค.ศ. จะถูกยกเลิก ในปี 2565 ประเด็นนี้ขอเรียนว่า ครูในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ต้องการความมั่นคงในวิชาชีพ ในท่ามกลางความไม่มั่นคงของสถานการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทำให้ครูในพื้นที่ไม่ย้ายออกจากพื้นที่ มีความรักต่อแผ่นดินเกิด ในฐานะสมาพันธ์ครูจังหวัดชายแดนภาคใต้ ขอให้คงสภาพเกณฑ์ ว 10 ให้สอดรับกับการประกาศของกระทรวงการคลังว่า พื้นที่เสี่ยงภัยในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เรายังได้รับเงินเสี่ยงภัย 2,500 บาท เงินเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา 1,000 บาท และขณะนี้กระทรวงศึกษาธิการเองยังเยียวยาให้กับครูผู้ที่ได้รับผลกระทบ จำนวน 183 ราย อยากให้ทางสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ได้ทบทวน ได้โปรดอย่ายกเลิก ว10 แต่ถ้าจะปรับเกณฑ์ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ เน้นการประเมินเชิงประจักษ์ ซึ่งครูในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ยอมรับได้ ท้ายที่สุด ก็ขอขอบคุณตลอดระยะเวลา 17 ปี ที่ทำงานมา ด้วยความเหนื่อย ความยากลำบาก และเสี่ยงภัย แต่เราจะเป็นองค์กรที่จะพาการศึกษาของคนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เกิดผลสัมฤทธิ์ เป็นคนดี มีคุณธรรม นำพาประเทศชาติสู่อนาคตต่อไป สถานการณ์ที่เกิดขึ้น ครูในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ไม่เคยท้อถอยต่อการปฏิบัติงาน แม้ว่าต้องเดินทางไปทำงานเช้า แต่เย็นอาจจะไม่ได้กลับ แต่ก็ยังคงทำหน้าที่อย่างปกติ ถ้ามาใช้ชีวิตอย่างครูในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ จะได้รู้ว่าความสุข ทุกข์ ที่แท้จริงเราอยู่กันอย่างไร แต่พวกเราทั้งหมดก็ไม่เคยทิ้งแผ่นดินนี้ไป อยากให้รัฐบาลภายใต้การนำของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ให้กำลังใจผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นครู ซึ่งเป็นวิชาชีพที่ไม่ว่าที่ไหนของโลก ที่เสียชีวิตและทุพพลภาพมากเท่ากับครูในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ขอยืนยันครับว่า โดยศักดิ์ศรีของครูใต้ พวกเราต้องปฏิบัติหน้าที่ต่อไปแม้ว่าสถานการณ์จะดีขึ้น ก็ใช่ว่าวันนี้จะยุติ ขอให้ดูแลครูในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อ พร้อมที่จะทำงานอุทิศกาย และใจ ด้วยอุดมการณ์เพื่อการศึกษา ให้สมฐานะที่ว่า ครูใต้สู้ เพื่อการศึกษา เพื่อกุลบุตร กุลธิดาท่ามกลางภาวะบาดเจ็บและสูญเสีย ให้บรรลุวัตถุประสงค์ บนความหลากหลายทางวัฒนธรรมสืบไป